รีวิวหนัง The Lake บึงกาฬ

ดูหนังออนไลน์ สัตว์ประหลาดยักษ์ในทะเลสาบออกตามหาไข่ของมัน จนคนทั้งเมืองต้องอพยพหนีตาย แนวหนังสัตว์ประหลาดดูน่าจะเป็นแนวน่าขยาดของวงการหนังไทย ยิ่งถ้าว่าเป็นแนวหนังสัตว์ประหลาดยักษ์ด้วยแล้วยิ่งไปกันใหญ่เพราะการสร้างภาพนั้นก็ยากตามไปด้วย จะหลบมุมกล้องเอาตลอดก็เป็นไปไม่ได้ ครั้นจะให้เห็นตัวก็ออกแบบฉากยากเพราะขนาดตัวของมันบังคับให้ไม่ทำหุ่นขนาดใหญ่ก็ต้องพึ่งพาซีจี ไม่ว่าจะแบบไหนก็ใช้เงินทุนมหาศาลและเสี่ยงกับการโดนหาว่าภาพหลอกตาถ้าทำไม่ถึงทั้งนั้น รีวิวหนัง The Lake บึงกาฬ รีวิวหนังไทย

แต่ก็ต้องยอมรับในความกล้าของผู้กำกับ วิษณุพงษ์ ลีทองคํา ที่เคยมีผลงานแนวระทึกขวัญเรื่อง ‘The Maid สาวลับใช้’ และมาขอยกระดับความหวาดผวาในหนังแนวไคจู หรือสัตว์ประหลาดขนาดใหญ่ในเรื่องนี้ ถือว่าเป็นก้าวที่ทะเยอทะยานไม่น้อย

ดูหนังออนไลน์ฟรี 2022 ทั้งการไปดึง จอร์ดู เชลล์ (Jordu Schell) นักออกแบบสัตว์ประหลาดในหนัง ‘Cloverfield’ (2008) และ ‘Avatar’ (2009) มาช่วยสร้างสัตว์ประหลาดในบึงใหญ่ที่ผสมระหว่างปลาดุก จระเข้ และงู โดยใช้วิสัยทัศน์การนำเสนอที่ได้แรงบันดาลใจจากหนังอย่าง ‘Jurassic Park’ (1993) หรือ ‘Godzilla’ (1998) ที่คุ้นตากับฉากสัตว์ร้ายกลางสายฝนและความมืดดำของค่ำคืนสลับแสงฟ้าผ่าและไฟฉุกเฉินในบรรยากาศเมืองต่างจังหวัดของไทยได้อย่างลงตัว และตอกย้ำว่าผู้สร้างเองก็แม่นยำในการคุมมู้ดและโทนของหนังพอสมควร ดูหนังฟรี

รีวิวหนัง The Lake บึงกาฬ

 

รวมถึงการเลือกนักแสดงที่สามารถแบกฉากของตนเองได้ทั้ง ออม-สุชาร์ มานะยิ่ง ในบทพี่สาวคนโตของบ้านริมทะเลสาบที่พบไข่สัตว์ประหลาด, อาร์ตี้-ธนฉัตร ตุลยฉัตร ในบทน้องชายของออมที่ล้มเหลวจากเมืองกรุงกลับมาบ้านเกิด, ปู-วิทยา ปานศรีงาม ในบทหัวหน้าตำรวจประจำจังหวัดที่รับผิดชอบตัดสินใจสั่งการทุกอย่าง, ตุ้ย-ธีรภัทร์ สัจจกุล ในบทสารวัตรที่ตามคดีนี้มาแต่แรก และสุพรรณษา เวชกามา หรือรู้จักกันในนาม ลำไย ไหทองคำ ที่มารับบทลูกสาววัยขบถของตุ้ย แม้รูปลักษณ์ของเธอกับตุ้ยไม่ได้ดูห่างขนาดจะเป็นพ่อกับลูกแต่เอาจริงแล้ว เธอก็ดูไม่ขัดเขินเกินไปที่จะเป็นเด็กมัธยมปลาย น่าจะเป็นว่าตุ้ยดูยังหนุ่มเกินวัยเสียมากกว่า

ด้วยข้อดีที่ว่ามาที่ผู้สร้างพยายามอย่างยิ่งให้ปรากฏออกมา ประกอบกับเงื่อนไขกรอบจำกัดการทำงานที่พอเข้าใจได้จากผลงานที่สำเร็จแล้ว ทั้งปัญหาเรื่องทุน เวลา การประสานหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เช่น ทุนจีน และความยากโดยพื้นฐานของหนังสัตว์ยักษ์เป็นทุนเดิม ล้วนเป็นสิ่งที่น่าเห็นใจอยู่แล้ว มันจึงทำให้หนังเรื่องนี้เป็นอะไรที่เราเกลียดไม่ลง แต่ขณะเดียวกันก็ต้องยอมรับว่ามันคือการฝืนทนดูไปพร้อมความหงุดหงิดใจหลายประการตลอดเรื่องเช่นกัน

รีวิวหนัง The Lake บึงกาฬ

อาจพูดได้ว่าหนังมี 3 เรื่องสั้นที่น่าสนใจในตัวเองอยู่ในนั้นและคงจะดีถ้าต่างคนต่างอยู่กันไปมากกว่าที่จะเอามารวมกันแล้วดูไม่ส่งเสริมกันอย่างที่เป็น หนังสั้นทั้งสามเรื่องคือ

เรื่องแรก เป็นเรื่องของครอบครัวชาวบ้านชนบทที่มีชีวิตพึ่งพาเกษตรกรรม วันหนึ่งลูกสาวคนเล็กเกิดพบไข่ลึกลับและทำให้เธอรู้สึกพิเศษกว่าใครเธอหวงแหนมันมาก ทว่าไข่ใบนี้ทำให้ชาวบ้านคนอื่นต่างต้องเจอกับการรุกรานของปีศาจร้าย ไม่เว้นแม้แต่พี่สาวกับพี่ชายของเธอที่สุดท้ายแม้รอดชีวิตได้แต่ก็ต้องติดเชื้อจากเลือดพิษทำให้เชื่อมจิตกลายเป็นส่วนหนึ่งของปีศาจโดยไม่รู้ตัว ครั้งใดที่ชาวบ้านพยายามจะแทงใส่สัตว์ประหลาดมันก็เหมือนแทงใส่ตัวพวกเขาไปด้วยราวคำสาปร้าย เรื่องสั้นนี้มีทั้งการเปรียบเปรยซ่อนสัญญะและนำเสนอประเด็นถกเถียงเชิงปรัชญาและจริยธรรมที่น่าสนใจ โดยอ้างอิงของเรื่องนี้อาจเป็น ‘The Host’ (2006) และ ‘Stranger Things’ (2022)

รีวิวหนัง The Lake บึงกาฬ

เรื่องที่สอง เรื่องของสารวัตรที่เป็นคุณพ่อเลี้ยงเดี่ยวหลังภรรยาเสียไปแล้วทิ้งลูกสาวที่กำลังอยู่ในวัยต่อต้านเอาไว้ โดยที่เขาก็อยากดูแลเธอให้ดีที่สุดแต่ด้วยความเป็นผู้ชายแข็งกระด้างและภาระงานตำรวจเขาจึงไม่มีโอกาสเปิดใจคุยกับลูกสาว เลยกลายเป็นความห่างเหินไป จนกระทั่งบังเอิญที่สองพ่อลูกต้องตกอยู่ท่ามกลางการจู่โจมของปีศาจร้ายอย่างไม่ทันตั้งตัว ทำให้พวกเขาได้รู้ว่าต่างฝ่ายต่างรักกันมากเพียงใด หนังมีโอกาสเปรียบเปรยความรักของพ่อแม่ระหว่างคนกับสัตว์ประหลาดได้อีกชั้นหนึ่งด้วย โดยอ้างอิงของเรื่องนี้อาจเป็น ‘A Quiet Place’ (2018)

และเรื่องที่สาม ว่าด้วยเรื่องของวิทยาศาสตร์และความเชื่อ นายตำรวจใหญ่ที่ดูแลทั้งจังหวัดพบเจอกับสถานการณ์ที่เกินมือ เขาต้องตัดสินใจโดยมีความปลอดภัยของประชาชนที่หวังพึ่งเขาเป็นเดิมพัน เมื่อสิ้นไร้หนทางเขาบอกให้ประชาชนหันหน้าเข้าหาศาสนาเป็นที่ยึดถือสุดท้าย ในขณะที่อีกทางนักวิทยาศาสตร์ชาวจีนที่มาศึกษาพฤติกรรมสัตว์ร้ายพยายามทำความเข้าใจสังเกตจนหาทางรอดได้และพยายามหาทางบอกกับนายตำรวจ เรื่องสั้นนี้ยังอาจนำเสนอในแง่ของการวิพากษ์อำนาจรัฐกับการแก้ปัญหาได้อีกด้วย โดยอ้างอิงของเรื่องนี้อาจเป็น ‘Shin Godzilla’ (2016)

ซึ่งเอาจริงก็ไม่รู้หรอกว่าผู้สร้างคิดอะไรแบบนี้ไว้ไหม แต่สังเกตจากร่องรอยของตัวหนังนั้นพอจะคาดคะเนได้ จึงเห็นทั้งโอกาสที่มันอาจเป็นได้ รวมถึงพอเดาได้ว่าผู้สร้างอยากจะทำอะไรคิดภาพแบบไหนในหัวกับฉากที่หยอดมาแบบนี้แต่ไม่ได้สานต่อ คือดูแล้วทั้งสามเรื่องมีประเด็นและเส้นเรื่องที่แข็งแรงมากพอ บางอย่างอาจไม่ใหม่มีเดินไปตามสูตรบ้างแต่ก็เห็นร่องรอยแห่งการต่อยอดอย่างมีชั้นเชิงได้ ทว่าพอเอาสามเรื่องนี้มาทำเป็นหนังยาวเรื่องเดียว มันเต็มไปด้วยแผลตัดแต่งตัดต่อเหมือนซากศพของแฟรงเกนสไตน์ที่ขาด ๆ เกิน ๆ ไม่สมประกอบก็ไม่ปาน

หนำซ้ำผู้สร้างยังประเมินขนาดของหนังผิดอย่างร้ายแรง เราพออนุมานได้ว่านี่เป็นเหตุการณที่สั่นสะเทือนทั้งจังหวัดอย่างรวดเร็วโดยภัยร้ายนั้นมาจากภูเขาและทะเลสาบขนาดใหญ่ที่ดูลึกลับ แต่ถ่ายภาพมาเหมือนบึงหรือสระในสวนสาธารณะมากกว่า การเล่าด้วยภาพก็มีภาพกว้างน้อยมากจนเล่าเรื่องแทบไม่ได้ พวกต้องหลบมุมกล้องพวกฉากสัตว์ประหลาดนั้นพอเข้าใจได้บ้างแต่เวลาไปจับภาพพวกคนก็เล่นแต่ภาพแคบหมดจนไม่ได้พักสายตา จะว่าวางแผนการสร้างผิดพลาดจนไม่มีพวกฉากเปิดสถานที่หรือให้คนดูเข้าใจพื้นที่ภาพรวม (Establishing Shot) มากพอ หรือเป็นความจงใจให้ดูอึดอัดก็ตอบยาก แต่บกพร่องเรื่องการเล่าเรื่องนั่นเป็นผลลัพธ์ที่ตามมาแน่นอน

ในปี 2560 ตามท้องเรื่องที่เป็นยุคของไอโฟน 7 เข้า 8 ทำไมจังหวัดนี้ผู้คนเหมือนไม่รู้จักว่าโทรศัพท์มือถือหรือการถ่ายคลิปลงโซเชียลมีเดียคืออะไร แทบจะใช้วิทยุไร้สายคุยกันเอาด้วยซ้ำ จะบอกเป็นโลกแฟนตาซีก็ใส่อ้างอิงความสมจริงมาหนักแน่นเกินไป พลอยทำให้ข้อสรุปตอนท้ายดูเบาปัญญาไปด้วยและการคุมมู้ดหนังที่ทำได้ดีก็ยังมีรอยแหว่งประหลาด ๆ เช่น ฉากฝนตกกับฟ้าแจ้งแทบจะตัดสลับกันเลยราวกับอยู่คนละโลกทั้งที่จังหวัดเดียวกัน ถ้ามองถึงอารมณ์หนังทำเป็นฉากฝนตกทั้งเรื่องน่าจะเข้ากันกว่าเสียอีกตอกย้ำซ้ำร้ายไปอีกว่าโครงเรื่องจากการผสมร่างไม่แข็งแรงแล้ว การตัดต่อเล่าเรื่องยิ่งดูแย่ไปอีก หลายฉากขาดความต่อเนื่องทางอารมณ์ เช่น ภาพแรกตัวละครอาจสั่นกลัวราวสติจะหลุดแต่พอตัดภาพที่สองตัวละครยืนนิ่งไร้อารมณ์ไปเสียแล้ว คนดูก็จะไบโพลาร์ตาม

ฉากก่อนหน้าที่สองตำรวจมาดื่มกินคลายทุกข์ราวไม่มีอะไรเกิดขึ้น ฉากก่อนหน้าคือคนตายกลางถนนเป็นสิบแล้ว

ที่หนักกว่านั้นหนังขาดความต่อเนื่องทางลำดับเหตุผล คือหลายฉากโดดไปมา เหมือนมันขาดสักหนึ่งหรือสองฉากที่ต้องมีเชื่อมอยู่เสมอเลย สมมติว่า ปกติต้องเล่า A B C แต่หนังมักจะตัดแบบ A C แล้วปล่อยให้ B เป็นหน้าที่คนดูใส่เข้าไปเอง คือถ้ามันจงใจทำเพื่อสร้างชั้นเชิงมันก็ดูเก๋ดี แต่พอมันก็เดินไปตามสูตรหนังมาตรฐาน เราจึงรู้สึกเหมือนคนสร้างโยนความรับผิดชอบให้คนดูมากไปว่า เราเจอข้อจำกัดเยอะถ่าย B มาใส่ไม่ได้ แต่พวกคุณก็น่าจะเติมกันเองได้เนอะ ซึ่งพอมันเยอะ ๆ เข้าแทบทั้งเรื่องมันเลยเหมือนเราไปดูคอนเสิร์ตที่นักร้องร้องประโยคหนึ่งแล้วก็ชอบหันไมค์มาให้เราร้องแล้วก็ดึงกลับไปร้องประโยคหนึ่งสลับไปแบบนี้ และดันทำอย่างนี้ทั้งคอนเสิร์ต แน่นอนเพลงนี้เรารู้เนื้อเราร้องได้ เพลงก็เพราะดี แต่เจอแบบนี้มันชวนน่าหงุดหงิดใจมากเสียกว่า

และบางจุดของหนังเองก็เว้นข้ามไปจนเราไม่เข้าใจเจตนาของหนังเลยก็มี โดยเฉพาะพวกปมที่เป็นจุดสำคัญทั้งหลาย อย่างสัตว์ประหลาดคืออะไร? มันล่าเหยื่อจากอะไรมองเห็นได้กลิ่นหรือได้ยิน มีพฤติกรรมยังไง? การติดเชื้อแล้วจิตใจเชื่อมกันคืออะไรแล้วจะส่งผลอย่างไรต่อไป? รัฐใช้อำนาจตามท้ายเรื่องได้อย่างไร? การเดินทางของตัวละครของตุ้ยคืออะไรเพราะเขาเห็นอะไรรู้อะไร? สรุปแล้วสัตว์ประหลาดต้องการอะไรแน่? เป็นสัญญะของอะไรไหมเพราะดูยังไม่ชัดเจน

เต็มไปด้วยปริศนา ที่ว่าไปตามจริงก็เหนื่อยจะหาคำตอบหลังจากต้องนั่งจินตนาการฉากมาเชื่อมช่วยหนังตลอดทั้งเรื่อง และสุดท้ายก็ไม่ได้อยากจะรู้ขนาดนั้นแล้วด้วย ลืมตัวหนังไปแล้วเหลือทิ้งไว้แค่ว่าครั้งหนึ่งหนังไทยเราลองทำอะไรใหม่ ๆ ให้ชื่นใจพอแล้วและหนังเรื่องนั้นชื่อ ‘บึงกาฬ’

ถ้าใครยังไม่เข็ดกับความพยายามผลักดันและกลับมาเปิดตลาดหนังสัตว์ประหลาดแบบไทย ๆ ก็ขอเรียนเชิญมากองรวมกันเอาไว้ตรงนี้ เพราะนี่คืออีกหนึ่งความหวังของวงการไทจู กับหนังที่ใคร ๆ ก็เฝ้ารอคอย เพราะใช้เวลาสร้างมายาวนานถึง 5 ปี กับ “The Lake บึงกาฬ” ที่โฆษณาเอาไว้ว่าใช้ทุนสร้างถึง 88 ล้านบาท นับว่าเป็นอีกโปรเจกต์ใหญ่อีกเรื่องของวงการหนังไทย เพียงแต่ว่า..ผลลัพธ์โดยรวมที่ออกมานั้น หนังเรื่องนี้จะปังหรือพังกันแน่…ไปพิสูจน์กันสิ

The Lake บึงกาฬ เป็นเรื่องราวของเด็กหญิงชาวบ้านที่ชื่อ เมย์ พบไข่ยักษ์ปริศนาและได้เก็บกลับมา จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่เปลี่ยนเมืองทั้งเมืองให้กลายเป็น “หายนะ” ตัดขาดผู้คนจากโลกภายนอก เจ้าหน้าที่และประชาชนในพื้นที่ รวมถึงนักวิทยาศาสตร์ชาวจีนที่บังเอิญเข้ามาทำการวิจัยในไทย จึงต้องระดมกำลังทุกอย่างที่มี เพื่อจับสัตว์ประหลาด “ไทจู” คลั่งตัวนี้ ก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป

ผลงานหนังเรื่องล่าสุดของนักสร้างหนังรุ่นใหม่ที่กำลังคร่ำหวอดอยู่ในวงการหนังไทยตอนนี้ อย่าง “ลี ทองคำ” ที่มาในเรื่องนี้เขาทุ่มเทให้กับแทบจะทุกองค์ประกอบของหนัง นับตั้งแต่การจุดประกายหาไอเดียสร้างสรรค์ปลุกปั้นเรื่องนี้ขึ้นมากับมือ นั่งเก้าอี้ผู้กำกับดูแลงานสร้าง เขียนบทเอง ซ้ำยังรับหน้าที่ตัดต่อหนังเองทั้งหมดด้วย บนพื้นฐานความแพสชั่นส่วนตัวของเขา มีอยากจะแต่งเติมจินตนาการวัยเด็กกับฉากหลังเป็นพื้นที่บ้านเกิดของเขา

แม้ว่าเราจะสัมผัสได้ถึงเจตนารมณ์และความตั้งใจที่แน่วแน่มาก ๆ ในความพยายามที่ตัวสร้าง “ไทจู” หรือ หนังสัตว์ประหลาดแบบไทย ๆ ออกมาสักเรื่อง ที่ยอมรับเลยว่าแพสชั่นตรงนี้ในหนังมีอยู่ล้นเปี่ยม เพียงแต่ว่าเมื่อได้ลองนำเอาองค์ประกอบต่าง ๆ มาประกอบรวมร่างเข้าด้วยกันทั้งหมดดูแล้วนั้น มันกลายเป็นปัง…ที่ไม่ให้ปังเพราะประทับใจ แต่เป็นปังที่เกือบจะพังครืน เพราะแทบจะทุกส่วนในหนังเรื่องนี้นั้น ยังไม่สามารถสื่อสารถึงคนดูได้ และสารของหนังยังค่อนข้างอ่อน..ถึงอ่อนมาก รีวิวหนัง The Lake บึงกาฬ

เริ่มต้นที่บทหนังของ The Lake บึงกาฬ ที่แทบจะหาแก่นสารใด ๆ ไม่ได้เลย หนังไม่ได้มีการเกริ่นกล่าวนำเรื่องราวใด ๆ มาก่อนทั้งสิ้น แบบว่ามาถึงก็จับโยนสัตว์ประหลาดและฟาดฟันบุกเมืองแบบไม่มีปี่มีขลุ่ยทั้งนั้น แม้ว่าในฐานะคนดูก็พยายามที่จะทำความเข้าใจกับสิ่งที่ผู้สร้างอยากจะสื่อสารแล้วก็ตาม แต่ก็ดูเหมือนว่า..เอ๊ะ สรุปก็ไม่ได้ไปทางนั้น แล้วก็ไม่ได้ไปทางนี้ กลายเป็นบทหนังที่แกว่งเคว้งไปมา เหมือนไม่รู้จะไปทางไหน แม้กระทั่งช่วงท้ายในตอนบทสรุปก็เกือบจะหาทิศทางไม่เจอว่าจะไปจบลงตรงไหนดี

 

ในเมื่อบทหนังออกมาแบบนี้ ก็ย่อมส่งผลกระทบต่อเนื่องไปเป็นลูกโซ่เกือบจะทั้งหมด บทที่ดีไม่ดีก็ไม่สามารถส่งตัวละครให้โดดเด่นขึ้นได้ ซึ่งเป็นที่น่าเสียดายมาก ๆ เพราะว่า The Lake บึงกาฬ แทบจะไม่ได้เห็นบทบาทการแสดงที่น่าจดจำใด ๆ เลยสักซีนเดียว ทั้งที่ได้นักแสดงระดับยอดฝีมือมาเรียงแถวกันอยู่ ไม่ว่าจะเป็น “ตุ้ย ธีรภัทร์”, “ออม สุชาร์” หรือ “ปู วิทยา” ที่ทั้งหมดถูกนำมาวางแบบไร้ตำแหน่ง แทบจะหาความเป็นตัวละครยืนนำ (Protagonist) ไม่ได้ ทั้งที่ทุกคนมอบการแสดงมาอย่างเต็มที่ก็ตาม

และอีกส่วนที่กลายเป็นจุดที่ฉุดรั้งให้ภาพรวมของ The Lake บึงกาฬ สะพรึงพรั่งพรูดิ่งหนักยิ่งเข้าไปอีก ก็คืองานตัดต่อ (Editing) และการลำดับการเล่าเรื่องราว (Segment) ที่ผู้สร้างรับหน้าที่นี้อีกเช่นเดียวกัน กลายเป็นการว่าหนังมีแค่เพียงประมาณ 15 นาทีแรก ที่เปิดฉากขึ้นมาและพอจะสร้างอรรถรสน่าสนใจขึ้นได้ แต่เมื่อมาถึงฉากสั่งน้ำที่ใคร ๆ ต้องจดจำเมื่อได้ดูนั่้งเรื่องนี้ นั่นคือสัญญาณของความสะพรึงเริ่มต้นขึ้นแล้ว

การตัดต่อหนังเรื่องนี้แทบจะยังไม่ราบเรียบและไม่คล้องจ้องกับเนื้อเท่าที่ควร หรือหากจะให้พูดแบบตรงไปตรงมาจริง ๆ จุดนี้คือหายนะของหนังหายนะเรื่องนี้จริง ๆ หนังต้องพังพินาศลงเพราะการลำดับเรื่องที่โดดไปมาบ่อยครั้ง ซ้ำรายกับมุมกล้องที่พยายามเร้าอารมณ์แต่กลับทำให้ปวดหัว อีกทั้งยังมีฉากซีนที่ไม่ต่อเนื่อง ตัดฉับไปมาขัดอารมณ์ผู้ชมบ่อยครั้ง แทนที่หนังจะดึงอารมณ์ขึงขังให้อยู่กับคนดู กลายเป็นความขบขันมาแทนที่ เพราะงานตัดต่อที่บางจุดไม่น่าจะปล่อยผ่านมาแบบนี้ได้

 

โดยเฉพาะในหนัง The Lake บึงกาฬ ที่บรรยากาศแวดล้อม (Environment) ส่วนใหญ่ในเรื่องนั้น จะต้องมีฉากฝนตกอยู่เกือบจะครึ่งเรื่อง เพราะสถานการณ์พายุเข้าในพื้นที่ แต่น่าขันที่เล่าเรื่องเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชั่วเวลาเดียวกัน แต่สลับกันไปมาแต่ละพื้นที่ ภาพตรงนั้นฝนกำลังตกหนัก แต่ตัดภาพมาตรงนี้กลับไม่มีฝน ทั้งที่โลเคชั่นตามท้องเรื่องนั้น ท้องที่ที่เกิดเหตุก็ไม่ได้กว้างขวางอะไรถึงขนาดนี้สภาพอากาศจะแตกต่างกันได้เช่นนี้ ถึงจะเป็นเพียงจุดเล็กน้อยในหนัง แต่กลายเป็นสิ่งที่ขัดอารมรณ์ไปอย่างน่าเสียดายไม่น้อย

แต่กระนั้นก็ใช่ว่า The Lake บึงกาฬ จะเป็นหนังที่ย่ำแย่สาหัสขนาดนั้น เพราะอย่างน้อย ๆ ตัวหนังก็ยังมีข้อดีอยู่เหมือนกัน และน่าจะเป็นจุดเด่นและจุดดีอย่างเดียวที่เห็นในหนังเรื่องนี้ นั่นก็คือเทคนิคงานสร้างที่ทำออกมาได้ดี และเป็นงานสร้างที่ช่วยยกระดับงานโปรดักชั่นวงการหนังไทยเลยก็ว่าได้ ต้องปรบมือให้ดัง ๆ กับงานสร้างในรูปแบบ Animatronic ผสมผสานกับซีจีเทคนิคพิเศษที่ช่วยค้ำจุนกันได้ดี องค์ประกอบนี้ช่วยเชิดหน้าชูหน้าให้กับหนังเรื่องนี้ได้ดีเด่น

งานสร้างตัวสัตว์ประหลาดเรื่องนี้ค่อนข้างออกมาดี และแปลกใหม่ในวงการหนังไม่นาน เพราะส่วนใหญ่ในสมัยนี้ใคร ๆ ก็จะดีไซน์งานในรูปแบบแอนิเมชั่นกราฟิกกันเป็นหลัก แต่เรื่องนี้ใชหุ่นจำลองเข้ามาผสมผสานด้วย ที่เห็นได้ชัดว่าผู้สร้างมีแรงบันดาลใจและเป็นแฟนหนังสัตว์ประหลาดดัง ๆ ของฮอลลิวูด อย่างน้อย ๆ ก็จะต้องเป็นแฟรนไชส์ Jurassic อย่างแน่นอน เพราะนี่คือเทคนิคแบบเดียวกับที่หนังฮอลลิวูดเรื่องดังกล่าวก็หยิบมาใช้ และเรื่องนี้ก็ถือว่าประสบความสำเร็จกับการดีไซน์ไทจูในครั้งนี้อย่างน่าพอใจ

เอาเป็นว่าโดยภาพรวมนั้น The Lake บึงกาฬ ถือว่าเป็นหนังที่เข้ามาช่วยยกระดับวงการหนังไทยในแง่เทคนิคงานสร้างที่แปลกตาและแปลกใหม่แบบที่ไม่ค่อยเห็นใครเคยทำเช่นนี้มาก่อน แต่หนังก็ยังสอบตกในพาร์ทอื่น ๆ ทั้งบทหนัง การเล่าเรื่อง และการลำดับตัดต่อที่ทำให้หนังเข้าขั้นเกือบจะหายนะเลยทีเดียว ถึงจะน่าเสียดายที่ผลลัพธ์ที่ออกมานั้น คงจะต้องบอกว่า…ยังไม่ได้บรรทัดฐานในแบบที่คาดหวังเอาไว้ แต่เราก็เป็นอีกหนึ่งกำลังใจให้กับผู้สร้าง เพราะอย่างน้อย ๆ เห็นถึงเจตนาและความพยายาม และยอมรับเลยว่าเทคนิคงานสร้างของพวกเขาในเรื่องนี้…ก็เจ๋งอยู่