รีวิวหนัง Home ความรัก ความสุข ความทรงจำ
ดูหนังออนไลน์ฟรี 2022 หนังยังไม่เข้าโรงอย่างเป็นทางการดี แต่ใช้วิธีฉายรอบ(เกือบๆ)ดึกเพื่อให้ผู้ชมบางส่วนเข้าไปดูก่อนหนังจะเข้าฉายจริง ซึ่งก็คิดว่าน่าจะได้ผลนะถ้าหนังเรื่องนั้นเป็นหนังดี ‘Home ความรัก ความสุข ความทรงจำ’ สำหรับผมแล้ว แม้จะมีจุดไม่ชอบบ้างแต่ก็ยังนับว่าเป็นหนังดีได้อีกเรื่องหนึ่ง Home โฮม ความรัก ความสุข ความทรงจำ นี่คือหนังเรื่องใหม่ของ ผู้กำกับฯ ดูหนังออนไลน์ มะเดี่ยว ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล ผู้ที่เคยฝากผลงานอันเป็นที่จดจำไว้อย่าง ‘รักแห่งสยาม’ หนังที่เล่าเป็น 3 เรื่อง ดูหนังฟรี และแต่ละเรื่องมีความหมายถึง ‘Home’ ร่วมกันแถมยังมีบางส่วนที่เกี่ยวพันกันด้วย รีวิวหนัง Home ความรัก ความสุข ความทรงจำ รีวิวหนังไทย
การจะเขียนบล็อกนี้คงเป็นไปได้ยากที่จะไม่กล่าวถึงเนื้อเรื่องบางส่วน แต่ก็คงจะไม่เล่ามากเกินไปจนทุกคนไม่สามารถมีความสุขกับการติดตามหนังได้หรอกนะครับ
เริ่มกันที่ “บ้านหลังที่สอง” เรื่องที่ในครั้งแรกที่ได้ดู ผมรู้สึกถึงความเกี่ยวพันกับชื่อหนังได้น้อยที่สุด (จวบจนได้เห็นชื่อเรื่อง) เรื่องราวของ เน (จุฑาวุฒิ ภัทรกำพล) นักเรียนที่กำลังจะจบผู้เลือกใช้วันสุดท้ายด้วยการมาถ่ายภาพโรงเรียนในตอนกลางคืน ก่อนจะได้พบกับ บีม (กิตติศักดิ์ ปฐมบูรณา) รุ่นน้อง ม.3 นักบาสของโรงเรียน แล้วบทสนทนาของเขาทั้งสองก็ดำเนินไป
บทสนทนาที่ค่อนข้างใส่อะไรไว้ในนั้นอยู่เยอะพอสมควร แม้เรื่องจะดำเนินด้วยคนสองคนมากไปหน่อย และดำเนินไปด้วยความราบเรียบเป็นส่วนใหญ่ แต่โดยเหตุการณ์แล้วมันก็เป็นไปได้เท่านั้นจริงๆ สิ่งที่สำคัญคือ ความสัมพันธ์ที่ซ่อนอยู่มากกว่า พร้อมทั้งความสัมพันธ์กับอีก 2 เรื่องที่เหลือด้วย น้องนักแสดงรุ่นใหม่สองคนใน “บ้านหลังที่สอง” ก็นับว่าแสดงได้ดีทีเดียว
“จดหมายก้อม” เรื่องราวของการสูญเสียคนที่รักไปและยอมรับการสูญเสียไม่ได้ของ บัวจัน (เพ็ญพักตร์ ศิริกุล) มันไม่ใช่แค่การยอมรับการสูญเสียไม่ได้เท่านั้น แต่มันคือการต้องรับปัญหาทุกอย่างที่คนรักกระทำไว้มาแบกไว้ในวันที่ปัญหาที่มีก็ประเดประดังเข้ามาเป็นปกติอยู่แล้ว กระดาษแผ่นเล็กๆ ของคนรัก เป็นเหมือน “สัญญา” ที่ทำให้เธอยังผูกติดอยู่กับเขา และมีสองหนุ่มสาวอย่าง เหว่า (ณัฐพงษ์ อรุณเนตร์) และ ชมพู่ (ทิพปภา แซ่โง้ว) คนในอีกรุ่นมาเสริมเรื่องราวให้ดำเนินไปถึงจุดที่ต้องการ
ต่าย เพ็ญพักตร์ ทำได้ดีในบทบาทของผู้หญิงที่ไม่อาจก้าวพ้นวันเก่าๆ ไปได้ แม้ผมจะไม่ได้อินมากนักกับบทนี้ ผมเพิ่งน้ำตาคลอหน่วยเอาช่วงท้ายๆ ของเรื่องนี่เอง เรื่องนี้ยังมีตัวละครตัวเล็กตัวน้อยที่เข้ามาสมทบและพอจะสร้างอารมณ์ขันให้ได้บ้างประปราย การดำเนินเรื่องแสนที่เนิบช้า แต่ก็พยายามจะแสดงถึงบางสิ่งที่อยากสื่อสาร คนบางคน เดินอยู่ระหว่างทางสองทาง การติดอยู่กับความหลังและการก้าวเดินต่อ
บางทีก็รู้สึกว่า ฉากบางฉากไม่ต้องเน้นให้เยอะมากก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นหนัง น18+ อย่างที่เป็นอยู่นี้
“งานแต่ง” คือเรื่องราวของ ปรียา (ศิรพันธ์ วัฒนจินดา) สาวเหนือที่กำลังเตรียมงานวิวาห์กับเสี่ยเล้ง (เรืองศักดิ์ ลอยชูศักดิ์) หนุ่มเจ้านายคนใต้ งานแต่งงานที่ดูจะเป็นสิ่งที่ผู้หญิงทุกคนใฝ่ฝันจะมีงานที่สุดอลังการโดยมีน้องชายอย่าง มอส/เลี่ยม (วิชญ์วิสิฐ หิรัญวงษ์กุล) คอยจัดการบันดาลให้ แต่แล้วคนเก่าอย่าง เป๊ก (สุพจน์ จันทร์เรือง) ก็เข้ามาทำให้ไขว้เขว พิธีแต่งงานจะล่มหรือไม่และมันจบเช่นไร คงต้องไปพิสูจน์เอาเอง
นี่ก็อีกเรื่องที่มีตัวละครเสริมทัพมากมายมาทำให้เรื่องมันเกิดขึ้น ด้วยบทของมันนำเสนอความเป็นจริงในโลกของเราอย่างที่เราดูแล้วก็พบเห็นว่าเป็นเช่นนั้น การแต่งงานเป็นได้ทั้งสองอย่าง จุดสิ้นสุดของบางสิ่ง และจุดเริ่มต้นของบางสิ่ง ตัวแปรต่างๆ ที่ทำให้เราเลือกจะแต่งกับใครก็มีอยู่ แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนจะเลือกเหมือนๆ กัน ไม่มีใครรู้หรอก ว่าเลือกอย่างที่ตัวละครในหนังเลือก ผลหลังจากนั้นจะออกมาเป็นอย่างที่หวังมั้ย
ไม่มีอะไรสำเร็จรูป…
แต่ยอมรับว่า “งานแต่ง” ทำให้ผมอินกับมันมากที่สุด คงเป็นเพราะอยู่ในวัยที่ต้องผ่านอะไรตรงนี้มาหมาดๆ ไม่ใช่วัยที่ผ่านเลยไปนานแล้ว หรือวัยที่ยังไม่เคยมาถึง
ผมรู้สึกได้ว่าทรงผมของ นุ่น ศิรพันธ์ ในเรื่องนี้รับกับหน้าเธอดี เธอดูสวยมาก และร้องไห้ได้จริงจังมากจนเริ่มอินตาม อีกคนคือ เจมส์ เรืองศักดิ์ ที่กลับมาอีกครั้งและแสดงได้ดีพอสมควร จุดที่น่าสนใจของหนังคงเป็นการที่ทั้งสามเรื่องมีจังหวัดเกิดเหตุที่เดียวกัน คือ เชียงใหม่ บ้านที่ผู้กำกับฯ คุ้นเคย และทั้งสามเรื่องมีความเกี่ยวพันกัน นั่นก็คงเป็นความตั้งใจของผู้กำกับฯ อย่างคุณมะเดี่ยวอีกเช่นกัน
แม้ว่าหนังเรื่องนี้ จะเล่นกับเรื่องใกล้ตัวมากขึ้น แต่การแบ่งเรื่องเป็นสามก็ทำให้มีปัญหาในการเข้าถึงเรื่องอยู่บ้าง ซึ่งต่างกับรักแห่งสยามที่อาจไม่พูดอะไรออกมาตรงๆ แต่ก็มีเรื่องที่หลอมรวมเป็นหนึ่งเดียว มีหลายเสียงบอกว่า หนังเรื่องนี้มีนัยทางการเมืองแทรกซึมอยู่ด้วย รีวิวหนัง Home ความรัก ความสุข ความทรงจำ
Home เป็นภาพยนตร์กำกับเดี่ยวเรื่องที่ 4 ต่อจาก คน ผี ปีศาจ (๒๕๔๗), 13 เกมสยอง(๒๕๔๙) และ รักแห่งสยาม(๒๕๕๐) ของ ‘มะเดี่ยว’ ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล โดยลายเซ็นของภาพยนตร์เรื่องนี้ยังมีความละม้ายคล้ายคลึงไม่ต่างจาก ‘รักแห่งสยาม’ ในแง่ของการจัดสร้างความสัมพันธ์และการกำกับการแสดงที่นำเสนอภาพอารมณ์ความรู้สึกในแง่มุมต่างๆ ของความรัก ที่ลึกซึ้ง กินใจ สุข เศร้าเคล้าน้ำตา โดยผ่านเรื่องสั้นทั้งสามเรื่อง คือ ‘บ้านหลังที่สอง’ ‘จดหมายก้อม’ และ ‘งานแต่ง’
ในแง่ของการลำดับวางเส้นเรื่องนั้น ทั้งสามเรื่องดำเนินแบบจบในตัวของมันเอง แม้ผู้กำกับที่เขียนบทเองจะพยายามหาจุดร้อยคล้อยต่อเพื่อให้เป็นเนื้อเดียวกันในตอนท้ายทั้งที่ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรในแง่ของการพลิกผันโครงสร้างการดำเนินเรื่องเลยก็ตาม แต่นั้นไม่ใช่ปัญหาสำคัญอะไร เพราะสิ่งที่มันเชื่อมโยงกัน คือ แก่นหมายสำคัญในตัวละครแต่ละคน ที่มีการส่งผ่านหล่อเลี้ยงแนบสนิทกันทางความรู้สึกจนเสมือนเป็นภาพยนตร์ยาว เรื่องเดียวกันเลยทีเดียว
ก่อนอื่นต้องซักไซ้ไล่เลียง ไปถึงผู้กำกับเสียก่อน โดยภาพยนตร์เรื่องนี้นั้นเป็นการทำงานเรื่องแรกของสตูดิโอคำม่วน ที่‘มะเดี่ยว’ ได้ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อรับทำงานโปรดักชั่นที่เชียงใหม่บ้านเกิด จิ๊กซอว์ชิ้นสำคัญแสดงให้เห็นว่าผลงานชื้นนี้นอกจากการได้กลับบ้านแล้ว มันยังเป็นการเริ่มต้นสู่ความใหม่ในที่ทางแห่งความเก่าอีกด้วย ซึ่งถ้าจับเอาแก่นตรงนี้ไว้จะพบว่า ภาพยนตร์ทั้งสามตอนให้ความสำคัญกับการย้อนกลับไปที่เก่าเพื่อเริ่มต้นสิ่งใหม่อย่างมีนัยสำคัญ
เห็นได้ว่าตัวละครหลักทั้ง 3 เรื่อง ทั้ง เน (จุฑาวุฒิ ภัทรกำพล) ที่ใช้ชีวิตวันสุดท้ายของการจบ ม.6 โดยการเลือกเก็บภาพความทรงจำของตึกอาคารเรียนและบรรยากาศรอบโรงเรียน จนได้พบ บีม (กิตติศักดิ์ ปฐมบูรณา) นักบาสโรงเรียนที่จบ ม. 3 และกำลังจะย้ายไปเรียนต่อที่กรุงเทพฯ หรือจะเป็น บัวจัน (เพ็ญพักตร์ ศิริกุล) หญิงม่ายที่ติดอยู่กับความทรงจำเก่าๆกับคนรักผ่านทางข้อความของสามี และ ปรียา (ศิรพันธ์ วัฒนจินดา) หญิงสาววัยทำงานที่กลับมาแต่งงานในบ้านเกิดจนความรู้สึกซาบซ่านครั้งวัยเรียนย้อนกลับคืนมาอีกครั้งเฉกเช่นเดียวกับความรักครั้งเก่าของเธอ
ทั้งหมดดำรงอยู่กับความทรงจำครั้งอดีต ‘เน’ ต้องการบันทึกความทรงจำเพื่อเรียกร้องหามันอีกครั้งเมื่อเวลาผ่านไป ‘บีม’ พยายามทำตัวเป็นที่จดจำเพื่อฝังในความทรงจำของใครสักคนที่ผ่านพ้นเข้ามา ‘บัวจัน’ โน้ตที่คนรักได้เขียนทิ้งไว้ครั้งมีชีวิต ได้กลับมาหลอกหลอนเธอทางความทรงจำ ส่วน ‘ปรียา’ เริ่มไม่แน่ใจกับการแต่งงาน ผสมปนเปกับความอิสระครั้งวัยเรียนหวนกลับมา ทั้งเพื่อนและคนรัก(เก่า) เธอจึงไม่กล้าเดินหน้าต่อไป
ตัวละครทุกตัวไม่กล้าทิ้งและลืมความทรงจำในอดีตของตัวเอง ทุกคนต่างพิรี้พิไร ที่จะจดจำการชีวิตตัวเองโดยยึดติดกับภาพต่างๆ ที่ถูกเปรียบเป็นดังบ้าน(Home) บ้านในที่นี้มิใช่ในลักษณะเคหสถานที่กินพื้นที่ แต่เป็นแง่มุมทางด้านจิตใจ เป็นที่ยึดเหนี่ยว และอบอุ่น ที่มีความหลังครั้งงดงาม ภาพยนตร์เลือกเล่นกับความสัมพันธ์ของคน 3 วัย คือ วัยรุ่น ‘เน’ ซึ่งมีสถานที่ของโรงเรียนเป็นดังบ้าน และใช้มหาวิทยาลัยเป็นตัวก้าวเดินต่อไป และวัยผู้ใหญ่ ‘ปรียา’ ที่ต้องเดินต่อไปในการใช้ชีวิตคู่ แต่เมื่อไม่แน่ใจ ความหลังครั้งเรียนมหาวิทยาลัยจึงเป็นเสมือนบ้านของเธอ และวัย(เกือบ)ชรา ‘บัวจัน’ ซึ่งไม่มีเวลาข้างหน้าให้เดินมากนัก บ้านของเธอจึงเหลือแต่เพียงความทรงจำครั้งเก่าก่อน ที่จะอยู่คู่ดูแลไปกับคนรักของเธอตราบจนวันตาย
‘มะเดี่ยว’ ขับเน้นความรู้สึกของตัวละครในแต่ละตอนออกมาได้อย่างดี ผ่านการใช้รูปแบบทางภาพและเสียงประกอบที่ไม่ธรรมดา รวมทั้งความละเอียดรายทางเช่น การใช้สีของภาพ ที่ผ่านกระบวนการคิดได้อย่างน่าสนใจ การใช้บทสนทนาที่เสมือนคนธรรมดาพูดกัน ซึ่งทำให้เชื่อว่า ตัวละครแต่ละตัวนั้นมีเลือดเนื้อเชื้อไขสุขทุกข์ได้ไม่ต่างจากผู้ชมเลย เป็นการกล่าวได้ว่า ผู้กำกับมีความละเมียดละไมในการผลิตภาพยนตร์เรื่องนี้ขึ้นมาจริงๆ โดยเฉพาะการใช้ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นการฝากคำอุทิศแด่คุณพ่อของตนเองด้วยแล้ว ทำให้เล็งเห็นได้ว่า แม้งานชิ้นนี้จะเป็นงานที่เข้าถึงคนในวงกว้าง แต่ก็ไม่วายที่จะสร้างความเป็นส่วนตัวและตัวตนขึ้นมาได้อย่างพอดิบพอดี ไม่มากและน้อยจนเกินไป
ถึงแม้ภาพยนตร์ต้องการชี้ชัดความเป็นบ้านในแต่ละช่วงวัย แต่สุดท้ายภาพยนตร์ก็ไม่ได้แช่แข็งตัวเองโดยการให้ตัวละครติดอยู่กับความทรงจำเหล่านั้น โดยไม่กล้าเดินก้าวออกไป เหมือนเด็กน้อยที่กลัวโลกอันแสนโหดร้าย แต่กลับแฝงข้อคิดว่า “การเรียนรู้ความเปลี่ยนแปลงของช่วงวัยคือความสำคัญที่ต้องยอมรับและมุ่งหน้าต่อไป” – ‘เน’ เก็บความทรงจำใส่อุปกรณ์บันทึกเพื่อเก็บมันเป็นแรงบันดาลใจเพื่อก้าวต่อไป โดยให้สิ่งที่ผ่านเข้ามารวมทั้ง บีม คือ ความทรงจำที่แสนงดงามที่จะทำให้ย้อนระลึกกลับมาได้อีกครั้งในวันข้างหน้า
‘บัวจัน’ สร้างตัวตนของคนรักขึ้นมาเองผ่านทางโน๊ตจนไม่สามารถก้าวข้ามมันไป ซึ่งตอนนี้เองนอกจากจะเล่นกับความทรงจำแล้ว ยังเล่นกับ ‘ภาษา’ อีกด้วย เพราะแท้จริงแล้วภาษาที่คนเคยสร้างไว้เมื่อตอนมีชีวิตอยู่ แต่เมื่อนำมาอ่านซ้ำอีกครั้ง ความมีชีวิตของคนนั้นกลับยังมีอยู่ผ่านทางภาษา หรือแท้จริงแล้วคนอ่านผู้นั้นเป็นคนสร้างตัวตน(คนตาย)ขึ้นมาในระบบความทรงจำของตัวบุคคลเอง เหมือนกรณีบัวจัน และ ชมภู่
กรณีชมภู่ หลังที่ตัวเองได้อ่านโน๊ตที่คนตายเขียนว่าตัวเองเมื่อนานมาแล้ว ก็ดุด่าคนตาย ว่าตายไม่อยู่ส่วนตาย เสมือนคนตายเพิ่งออกปากด่าในขณะนั้น นี่จึงเป็นคำถามน่าคิดว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่ผ่านไปแล้วก็คงผ่านไปด้วยเวลา แต่ด้วยเครื่องบันทึกทางภาษาทำให้สิ่งเหล่านั้นเสมือนยังอยู่ เพราะทุกครั้งที่เราได้อ่านหรือสัมผัสซ้ำอีกครั้ง เรากลับสร้างความทรงจำ ณ ปัจจุบันขึ้นมา โดยผู้รับไม่แคร์ว่าช่วงเวลานั้นหรือช่วงเวลานี้จะเป็นคนละเวลาแล้วก็ตาม จึงอาจกล่าวได้ว่าภาษาและความทรงจำนั้นไร้ซึ่งกาลเวลา เช่นเดียวกันบุคคลในอดีตที่ยังย้อนคืนมา เพราะเรายังคงติดตรึงกับผลงานของเขาอยู่ร่ำไป
และที่สำคัญในตอนนี้ถือเป็นการเล่นท่ายากของผู้กำกับที่สุดในบรรดา 3 ตอน เพราะมันพูดถึงความตาย และความเชื่อว่าวิญญาณจะกลับชาติมาเกิดผ่านคนรู้จัก และการนำเสนอว่า ‘บัวจัน’ จะผ่านพ้นสถานการณ์เช่นนี้ไปอย่างไรซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายเลบ โดยผู้กำกับเลือกใช้บทสรุปด้วยวิธี Flashback ย้อนไปโรง’บาลในวันที่คนรักอยู่ได้เพียงเครื่องช่วยหายใจแต่ไม่ยอมทิ้งร่างจากไป ทำให้บัวจัน กลับไปพร่ำเพ้อพรรณนากับคนรักในห้องของเธอ ว่าขอให้เขาจากไปได้แล้ว เธอทำใจและอยู่ได้ ซึ่งนี่ถือเป็นฉากที่มีการแสดงที่ดีที่สุดของเรื่องนี้เลยทีเดียว
ก่อนที่ภาพจะตัดกลับมาที่โรงพยาบาล บ่งบอกว่าคนรักเธอได้จากไปแล้ว ผ่านการใช้สีน้ำเงินหม่นที่แสดงถึงความเศร้าสร้อย ซึ่งเมื่อตัดกลับมากับช็อตปัจจุบัน กลับเลือกใช้ช็อตภาพที่ขัดแย้งในด้านสีกันอย่างรุนแรง ภาพพระอาทิตย์กำลังขึ้นแสดงถึงเช้าวันใหม่ ผ่านแสงสีส้มที่แสดงถึงความสดใส ภาพเจิดจ้าก่อนที่กล้องจะจับที่ใบหน้าของ ‘บัวจัน’ ด้วยการใช้กลธีนี้ทำให้มั่นใจได้ว่า บัวจัน ได้เรียนรู้แล้วอีกระดับในการใช้ชีวิตอยู่ต่อไป แม้จะยังฝังใจกับความทรงจำที่ติดตรึงอยู่ก็ตาม
เรื่องที่ 3 นั้น ทำให้เห็นว่า การติดตรึงอยู่ในความทรงจำที่เรียกว่า Home ของตัวเองนั้น มันทำให้เราไม่กล้าเดินหน้าเท่าที่ควร เหมือนที่ปรียาเริ่มไม่มั่นใจในตัวว่าที่สามี เสี่ยเล้ง (เรืองศักดิ์ ลอยชูศักดิ์) นักธุรกิจพูดน้อย ที่จะรักเธออย่างจริงจังหรือเปล่า ผสมกับการได้ปาร์ตี้สละโสดในค่ำคืนหอมหวานของอดีตจากทั้งเพื่อนและคนรัก(เก่า) จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่เธอจะต้องการความมั่นคงเพื่อหาที่ยึดเหนี่ยวในจิตใจ แต่สุดท้ายเธอก็ได้เรียนรู้ว่า ความไม่มั่นอกมั่นใจเกิดจากเธอเพียงคนเดียว เธอจึงเลือกแก้ไขความผิดพลาดทั้งหมดด้วยการ รอคอยคำว่า ‘อภัย’ จากคนรักของเธอ
นี่จึงยิ่งทำให้เห็นว่า Home ในแง่มุมที่ถูกเลือกนำมาเสนอนั้นอยู่ในอดีตความทรงจำ แม้มันจะปนสุขเศร้าเคล้าน้ำตาก็ตาม แต่ทั้งหมดดำรงด้วยความงดงามของชีวิต ความงดงามในที่นี้ไม่ได้ขึ้นอยู่แค่ความสุข –ความทุกข์ก็จัดว่าเป็นความงดงามได้เหมือนกัน ภาพยนตร์เรื่องนี้จึงให้ความสำคัญกับความรู้สึกถึงอดีตอันติดตรึงหอมหวาน ที่คอยประคบประหงมจิตใจ ให้ดำเนินก้าวต่อไป ไม่ว่าอดีตเหล่านั้น จะสุขทุกข์หรือทำให้จิตใจเจ็บและบอบช้ำสักเท่าไหร่
เช่นกันการกลับสู่ถิ่นฐานบ้านเกิดของผู้กำกับ ‘มะเดี่ยว’ ในครานี้นอกจากมันทำให้เขาได้หวนรำลึกถึงความทรงจำ ที่เขามีตั้งแต่วัยเด็ก ผ่านเรื่องเล่าที่คัดกรองออกมา 3 เรื่อง 3 รส แต่สุดท้ายทั้งสามเรื่องแม้จะยังวนเวียนอยู่ในความทรงจำดั่งเขาวงกตที่งดงามจนไม่อยากจากไป แต่สุดท้ายบทสรุปก็ต้องลืมตา เพื่อเผชิญหน้ายอมรับกับความจริง เรียนรู้มัน และใช้มันเป็นเช่นบ้านที่พักพิงและให้ความอบอุ่น บ้านที่มีให้เราคิดถึง เมื่อยามเหนื่อยล้าจากการทำงาน และดำเนินชีวิต
และแม้เราจะเห็นลายเซ็นของผู้กำกับลอยโขมงออกมาจากภาพยนตร์เรื่องนี้อย่างเด่นชัด แต่สำหรับบ้านของแต่ละคน มันคงเป็นความทรงจำที่ไม่ค่อยชัดนักสำหรับผู้อื่นที่รายล้อมเรา แต่สำหรับเรา บ้านเล็กๆหลังนี้นั้นกำลังมันบรรเลงเพลงอย่างเด่นชัดอยู่ในส่วนลึกๆของจิตใจ “ต่อให้มันเศร้าหรือสุข แต่มันคือความงดงามที่ก่อเกิดเป็นเราเช่นทุกวันนี้”