รีวิวหนัง อันธพาล
เข็มกลัด รับบทเป็น แดง ชายหนุ่มที่เป็นสุภาพบุรุษ จากเคยเป็นนักเรียนปัจจุบันกลายเป็นนักเลง และก้าวขึ้นมาเป็นอันธพาลของแก๊งเฮียหลอ รีวิวหนัง อันธพาล คนต่อมาคือกฤษฎา สุภาพพร้อม มารับบท เปี๊ยก เด็กหนุ่ม ที่มีนิสัยซื่อ ๆ เติบโตในโรงหนังเป็นเด็กระบายสีโปสเตอร์ แต่แล้วชีวิตก็ต้องจับปืนแทนแทนจับพู่กัน โดยเขาเป็นอันธพาลรุ่นมีความเป็นสุภาพบุรุษและไม่ชอบรังแกคนไม่มีทางสู้เช่นกัน คนต่อมาคือภคชนก์ โวอ่อนศรี มารับบทเป็น โอวตี่ ชายหนุ่มนักเลง ที่รักการฆ่าฟันเป็นชีวิตจิตใจ เขาไม่สนว่าจะเป็นใครหน้าไหน ดูหนังออนไลน์
ดูหนังออนไลน์ เรื่องราวของ “อันธพาล” บอกเล่าเกี่ยวกับนักเลงดังแห่งพระนครในยุคร็อคแอนด์โรลล์ สมัยที่เจมส์ ดีน และ เอลวิส เพรสลี่ เป็นแรงบันดาลใจให้วัยรุ่นยุคนั้น มีตัวละครอันเป็นที่คุ้นเคยเพราะเคยถูกบอกเล่าเป็นหนังมาก่อนอย่างแดง ไบเล่, ปุ๊ ระเบิดขวด และดำ เอสโซ่ ใน “2499 อันธพาลครองเมือง” ของผู้กำกับนนทรีย์ นิมิบุตร แต่อย่างที่ชื่อหนังที่ดูจะกินความกว้างกว่า ไม่ได้จำเพาะเจาะจงว่าเป็นเหตุการณ์ในพ.ศ.ไหน “อันธพาล”ของก้องเกียรติมีขอบเขตของเรื่องราวที่กว้างกว่า มีตัวละครเด่นเยอะกว่า และขณะที่ “2499 อันธพาลครองเมือง” เน้นไปที่แดง ไบเล่ หนัง “อันธพาล” จะเน้นไปที่ตัวละครจ๊อด เฮาดี้ มือขวาและมิตรแท้ข้างกายของแดง ไบเล่ แทน รีวิวหนังไทย
ดูหนังออนไลน์ฟรี 2022 ดูเหมือนว่าจุดมุ่งหมายในการสร้างหนัง “อันธพาล” ของก้องเกียรติ ก็คือต้องการสร้างหนังแนวแก๊งสเตอร์ว่าด้วยวงการมาเฟียในประเทศไทย และอยากบอกเล่าเรื่องราวของผู้คนเหล่านี้ในแง่ของความเป็นมนุษย์ปุถุชนธรรมดา แต่ก็ยังขยายขอบเขตของเรื่องราวไปถึงแง่มุมทางประวัติศาสตร์ วิถีและเส้นทางชีวิตของคนที่เข้ามาในวงการนี้ว่าต้องเจอกับอะไรและจะมีจุดจบอย่างไร มุมมองของผู้คนที่ร่วมสมัยกับตัวละครต่อวงการนี้เป็นอย่างไร ซึ่งก้องเกียรติมีวิธีการในการเล่าเรื่องที่น่าสนใจด้วยการเอาการเล่าเรื่องแบบหนังปกติทั่วไปมาผสมกับรูปแบบของสารคดี โดยให้จ๊อด เฮาดี้ (กฤษดา สุโกศล แคลปป์) เป็นจุดศูนย์กลางและจุดเชื่อมต่อของทั้งหมดที่กล่าวมา
ผู้กำกับก้องเกียรติให้เรารู้จักกับจ๊อด เฮาดี้ ก่อน ด้วยภาพของคนหนุ่มขี้เกรงใจ สุภาพ เป็นที่รักของทั้งแม่และน้องสาว ก่อนที่จะได้เห็นภาพที่ตรงกันข้ามในฐานะนักเลงใจเด็ดที่ฆ่าคนได้โดยไม่ยั้งมือ และโหดเหี้ยม ผู้เป็นมือขวาและมิตรคู่กายของแดง ไบเล่ (สมชาย เข็มกลัด)
จ๊อดเป็นเด็กช่างกลมาก่อน และเข้าสู่วงการนักเลงโดยการชักชวนของแดง ซึ่งจ๊อดรู้สึกเป็นหนี้บุญคุณตอนที่มาช่วยเขาระหว่างมีเรื่องวิวาทกับโรงเรียนช่างกลคู่อริ แดงพาจ๊อดไปเป็นนักเลงลูกน้องของเฮียหลอ มาเฟียกระหายอำนาจและปลิ้นปล้อน ขณะที่แนะนำให้เรารู้จักและบอกเล่าเรื่องราวของจ๊อด ผู้กำกับก้องเกียรติก็ใช้เทคนิคของหนังสารคดีด้วยการให้ผู้คนที่รู้เรื่องราวของยุคโน้นมาช่วยเล่าในลักษณะการให้สัมภาษณ์ พร้อมทั้งแทรกภาพข่าวเก่าๆ มาประกอบ เพื่อช่วยบอกเล่าส่วนที่เป็นภาคผนวกและเกร็ดทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับตัวละคร และวงการนี้ เช่นฉากที่จ๊อดดวลกับเฮียเซ้ง (พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง) ผู้กำกับก็ให้คนที่รู้เรื่องราวทางประวัติศาสตร์มาเล่าเสริมถึงวิธีการดวลที่เรียกว่า “มัดมือดวลมีด” ที่จ๊อดกับเฮียเซ้งใช้นั้นเป็นยังไง หรือขณะที่พูดถึงตัวละครบางตัวเช่นแดง ไบเล่ หรือ ปุ๊ ระเบิดขวด ก็ให้ผู้คนมาเล่าเสริมว่ามุมมองที่คนสมัยนั้นที่มีต่อทั้งคู่เป็นยังไง เป็นวิธีการเล่าเรื่องที่ผู้กำกับก้องเกียรติให้สัมภาษณ์ว่าได้แรงบันดาลใจจาก District 9 ส่วนตอนที่ผมดูนั้นนึกถึงหนังฉายทีวีเรื่อง Execution of Justice ว่าด้วยการคดีฆาตกรรมฮาร์วี่ มิลค์ ที่ใช้การสัมภาษณ์ของผู้ที่เกี่ยวข้องกับคดีมาเล่าคู่ไปกับส่วนที่เป็นภาพยนตร์
นอกจากนี้แล้ว ยังมีการเล่าเรื่องวงในของมาเฟียผ่านมุมมองของเปี๊ยก (กฤษฎา สุภาพพร้อม) เด็กวัยรุ่นที่อาศัยและทำงานอยู่ในโรงหนังที่แดงกับจ๊อดชอบไปดูหนังบ่อยๆ
เปี๊ยกมีเพื่อนรักชื่อธง (สาครินทร์ สุธรรมสมัย) และทั้งคู่ก็มีแดงกับจ๊อดเป็นต้นแบบในการดำเนินชีวิต มองภาพของนักเลงรุ่นใหญ่ยุคนั้นว่าเป็นอะไรที่เท่ ใครไปไหนก็เกรงกลัวและนบนอบ จึงอยากที่จะเข้าแก๊งและเจริญรอยตาม ทำให้หนังมีส่วนคล้ายคลึงกับ The Godfather: Part II เพิ่มเข้ามา และหนึ่งชั่วโมงแรกของหนังก็ใช้วิธีการเล่าเรื่องทั้งสามขนานกันไป มีการตัดต่อสลับไปมา มีการเล่าเรื่องทั้งไปข้างหน้าและย้อนหลังแบบโดดไปโดดมาคล้าย The Social Network
ถือว่าเป็นสิ่งที่น่าชื่นชมในการใช้ความคิดสร้างสรรค์เพื่อสร้างลูกเล่นของการเล่าเรื่องที่แปลกใหม่ และน่ายกย่องในความกล้าหาญที่จะฉีกขนบการเล่าเรื่องหนังให้แตกต่างจากหนังไทยด้วยกัน แต่อย่างไรก็ดี ผู้กำกับก้องเกียรติยังใช้การเล่าเรื่องที่แปลกใหม่เหล่านี้ได้ยังไม่ลงตัวดีพอ โดยเฉพาะช่วงหนึ่งชั่วโมงแรกของหนัง ทั้งนี้เพราะทั้งสามวิธีการเล่าเรื่องเหมือนจะมีเรื่องราวของมันเอง และหนังเล่าเรื่องโดยให้ความสัมพันธ์ของทั้งสามส่วนเกือบเท่าๆกัน มีการให้รายละเอียดที่ยิบย่อยเกินไป ทำให้มาชิงความเด่นของกันและกัน และฉุดรั้งไม่ให้อารมณ์ดราม่าของหนังในช่วงนี้ไปได้สุดทาง แม้ว่ามันจะดูเก๋ไก๋ก็ตาม
เมื่อเข้าสู่ครึ่งหลังของหนังที่หลังจากจ๊อด เฮาดี้พ้นโทษออกจากคุกหลังจากการปราบปรามอันธพาลด้วยกฎหมายอันเฉียบขาดของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ หนังมีวิธีการเล่าเรื่องที่ลงตัวมากขึ้น และทำให้ความเข้มข้นตามแบบหนังแก๊งสเตอร์กลับมาน่าติดตามมากขึ้น หนังลดทอนส่วนที่เป็นสารคดีให้มาเป็นเพียงส่วนเสริมจริงๆ มากขึ้น ขณะที่ส่วนที่เป็นมุมมองของเปี๊ยกก็ค่อยๆ ลดหน้าที่ลงกลายเป็นการทำหน้าที่ของโครงเรื่องรองแทน
เรื่องราวครึ่งหลังเน้นไปที่การแย่งชิงความเป็นใหญ่ของมาเฟีย โดยแต่ละเจ้าพ่อก็มีนักเลงเด่นๆเป็นลูกน้องของตัวเอง จ๊อดยังคงเป็นหมากในเกมชิงอำนาจของเฮียหลอ โดยมีเปี๊ยก, ธง, และน้าหำ (บุญส่ง นาคภู่) เป็นลูกน้อง แล้วกลายเป็นม้าศึกที่จะถูกฆ่าหลังเลิกใช้เมื่อเฮียหลอหันไปเลือกใช้โอวตี่ (ภคชนก์ โวอ่อนศรี) นักเลงนักฆ่าที่ทั้งบ้า ทั้งเหี้ยมโหด เป็นหมากตัวใหม่ ทำให้แก๊งของจ๊อดต้องแตกคอกัน ขณะเดียวกัน จ๊อดก็ต้องหนีการตามล่าของผู้การคำนึง (วสุ แสงสิงแก้ว) ผู้ที่ไม่เคยคำนึงถึงวิธีในการปราบมาเฟีย และสะท้อนด้านมืดของผู้มีอำนาจทางกฎหมาย ทำพาไปสู่ฉากตามล่าล้างแค้นในตอนจบที่ทั้งตื่นเต้น ลุ้น และสะเทือนใจ
องค์ประกอบที่ควรได้รับการยกย่องอีกอย่างของหนังก็คือองค์ประกอบด้านศิลป์ ทั้งการสร้างฉาก การกำกับศิลป์ การออกแบบเครื่องแต่งกายและทรงผม งานเทคนิคภาพ และดนตรีประกอบ ที่ช่วยเนรมิตรพระนครยุค 60-70 ได้อย่างเนียบจนเหมือนพาเราหลุดเข้าสู่ยุคนั้นไปด้วยได้เลย ทั้งยังเสริมโทนดิบเถื่อนและรุนแรงอันเป็นลายเซ็นเฉพาะตัวของผู้กำกับก้องเกียรติให้เด่นชัดยิ่งขึ้น รีวิวหนัง อันธพาล
นักแสดงทุกคนทำหน้าที่ได้อยู่ในเกณฑ์พอใช้และดีมาก แต่ที่โดดเด่นเป็นพิเศษคือบุญส่ง นาคภู่ เป็นบทน้าหำ นักเลงเก่าขี้คุยผู้ที่อยากหลุดพ้นจากเส้นทางนักเลงไปใช้ชีวิตเหมือนผู้คนทั่วไป เป็นบทที่ทั้งดูเป็นธรรมชาติเหมือนคนที่เราเคยเห็นว่ามีอยู่จริง และบางขณะก็ทรงพลัง ส่วนกฤษดา สุโกศล แคลมป์ ก็ยอดเยี่ยมในการสร้างบุคลิกของจ๊อดให้ดูเป็นปุถุชนทั่วไป และมีเสน่ห์ขึ้นจอ พาให้ชวนติดตามหนัง
“อันธพาล” อาจไม่ใช่หนังที่ดีพร้อมหรือสมบูรณ์แบบเต็มร้อย แต่เป็นหนังที่มีองค์ประกอบทุกส่วนของงานสร้างดีเลิศ และมีความพยายามอันน่าชื่นชมของผู้กำกับก้องเกียรติในการสร้างหนังเรื่องนี้ให้มีลูกเล่นที่แปลกแตกต่าง มีความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งเพียงแค่นี้ก็เป็นเหตุผลพอให้นักดูหนังควรให้การสนับสนุนหนังเรื่องนี้ครับ
มาพบกันเป็นประจำในทุกๆ เช้ากับการแนะนำหนังน่าดูประจำวันที่ TrueID และ TrueID+ หลากหลายอรรถรสความบันเทิงไร้ขีดจำกัดกับ “Movie of the Day” กับหนังที่เพิ่งจะครบ 10 ปีบริบูรณ์ไปหมาด ๆ นี่คือหนังแอคชั่นดราม่าย้อนยุคที่ได้รับเสียงวิจารณ์ที่ดีงามใน “อันธพาล” ที่เป็นการหยิบเอาความดิบเถื่อนในอดีตมาร้อยเรียงเรื่องราวเป็นความเข้มข้นที่ประชันบทบาทกับทีมนักแสดงมากฝีมือ รีวิวหนัง อันธพาล
ในยุคที่อันธพาลโด่งดังไปทั่วราชอาณาจักรของเมืองไทย เหล่าอันธพาลต่างถูกยกย่องว่าเป็นฮีโร่ ผู้คนมากมายต่างนับหน้าถือตาในยุคนั้น ก่อนเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันขึ้น เมื่อ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ประกาศออกกฎหมายซ่องโจร กวาดล้างและปราบปรามอันธพาลครั้งใหญ่ จากฮีโร่กลับกลายเป็นผู้ร้ายหนีคุกทันที บ้างก็ถูกยิงตายข้างถนนอย่างไม่เหลือเกียรติใด ๆ รวมถึงอันธพาลดาวดังที่ชื่อ แดง กับ จ๊อด ก็ยังถูกจับติดคุกอยู่นานถึง 4 ปี มันคือสิ่งที่ถูกกล่าวขานกันมานาน
จากยุคร็อกแอนด์โรล เข้าสู่ยุคฮิปปี้ การกลับมาของอันธพาลรุ่นเก๋า จ๊อด และ แดง เมื่อเส้นทางแห่งการเป็นนักเลงอันธพาลถูกกำหนดเอาไว้เรียบร้อย แดง ชวน จ๊อด ร่วมงานกับแก๊งเจ้าพ่อใหญ่ โดยทำหน้าที่เป็นผู้คุมบาร์และตามเก็บทวงหนี้ จนทำให้ได้รู้จักกับอันธพาลรุ่นน้องสุดห้าว ธง และ เปี๊ยก ที่ยกให้ทั้งคู่เป็นฮีโร่รุ่นพี่นักเลงในดวงใจ และฝันไว้สักวันจะต้องเป็นอันธพาลที่มีชื่อเสียงเหมือน แดง กับ จ๊อด ให้ได้
แต่ในขณะเดียวกัน เมื่อ จ๊อด เริ่มเข้าใจและรู้ซึ้งถึงความหมายของวงการนักเลงอันธพาลอย่างถ่องแท้ การใช้กำลังไม่ใช่หนทางที่ทำให้ผู้คนนับถือ ทัศนคติและมุมมองที่ต่างกันของคน 2 วัย กลับเป็นกระจกสะท้อนของกันและกันให้ได้เรียนรู้ถึง “ชีวิตที่ผ่านพ้น” กับ “ชีวิตที่กำลังจะเติบโต” ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงและขัดแย้งที่เกิดขึ้น ชะตากรรมของพวกเขาจะเป็นอย่างไร เมื่อพวกเขาเลือกเดินบนเส้นทางที่เรียกว่า อันธพาล
หนังเป็นผลงานการกำกับและเขียนบทของ “โขม-ก้องเกียรติ โขมศิริ” เจ้าพ่อหนังแอคชั่นหลากสไตล์แห่งวงการหนังยุคปัจจุบัน ที่มาสานต่อเสมือนกับหนังภาคต่อของ “2499 อันธพาลครองเมือง” ที่มาพร้อมกับทีมนักแสดงชายแถวหน้าของวงการทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็น “น้อย วงพรู”, “บิ๊ก กฤษฎา”, “เต๋า สมชาย” หรือ “เจี๊ยบ วสุ”
อันธพาล อาจจะไม่ได้ประสบความสำเร็จในแง่รายได้มากสักเท่าไหร่ แม้ว่าคำวิจารณ์ของหนังจะออกมาค่อนข้างดีก็ตาม โดยหนังเก็บเงินตลอดโปรแกรมฉายไปได้ราว ๆ 25 ล้านบาท แต่หนังก็ยังมีชื่อติดโผเข้าชิงบนเวทีรางวัลต่าง ๆ ในปีนั้นอยู่บ้าง แม้ว่าจะไม่ได้โกยรางวัลกลับบ้านไปได้สักเท่าไหร่ก็ตาม