รีวิวหนัง SLR กล้องติดตาย

ไม่แน่ใจว่าจะเป็นการสปอยหรือไม่ หากจะพูดในทำนองว่าหนังเรื่องนี้ไม่ใช่หนังผีถ่ายติดวิญญาณที่เน้นบรรยากาศชวนขนหัวลุกและหลอกหลอนคนดูอย่าง “ชัตเตอร์ กดติดวิญญาณ” รีวิวหนัง SLR กล้องติดตาย แต่เป็นหนังที่ใช้เรื่องราวของศาสตร์ลัทธิลึกลับ และอำนาจเหนือธรรมชาติ ในการสร้างความหวาดกลัวในเรื่อง ซึ่งจะว่าไปก็เห็นไม่บ่อยนักที่หนังไทยจะหยิบยกเรื่องพวกนี้ที่ดูจะไกลตัวคนดูในบ้านเรา

รีวิวหนังไทย SLR กล้องติดตาย เป็นเรื่องราวของ แดน (กรภัทร์ เกิดพันธุ์) นักศึกษาหนุ่มสาขาภาพถ่ายที่มุ่งมั่นจะเรียนจบและขอทุนไปต่างประเทศให้ได้เหมือนกับแฟนสาว น้ำ (เฌอปราง อารีย์กุล) และเพื่อนสนิท เกรท (ศดานนท์ ดุรงคเวโรจน์) แต่ก็มีปัญหาด่านสุดท้ายเป็นเรื่องการทำธีสิสจบมหาลัย
รีวิวหนัง SLR กล้องติดตาย
วันหนึ่งอาจารย์เอ็ม (อ้น นพพันธ์ บุญใหญ่) อาจารย์ที่ปรึกษาของแดน ก็ได้มอบกล้อง SLR ตัวหนึ่งให้เขาไปถ่ายภาพใช้ทำธีสิส โดยโจทย์คือ ถ่ายภาพบุคคลมาให้ได้ 7 คน ภายใน 14 วัน
แต่เมื่อเวลาผ่านไปแดนก็เริ่มรู้สึกว่า คนที่ถูกแดนถ่ายด้วนกล้องตัวนี้ ค่อยๆ ทยอยเสียชีวิตไปทีละคนอย่างเป็นปริศนา นั่นทำให้แดนและน้ำแฟนสาว รวมถึงเกรทเพื่อนของเขา ต้องเริ่มสืบหาต้นตอของเรื่องนี้ก่อนที่ความชั่วร้ายที่สิงสถิตอยู่ในกล้องตัวนี้จะทำให้พวกเขาต้องพบกับจุดจบที่น่าสะพรึงกลัว
แม้จะเป็นผลงานใหม่ถอดด้ามของสองผู้กำกับ มาร์ค เลิศศิริ และ เอ็ด วุฒิชัย ดูหนังฟรี แต่ก็ถือว่าทำออกมาได้ดีและน่าสนใจไม่น้อย และสัมผัสได้ถึงความเป็นสากลของตัวหนังทั้งด้านงานภาพที่ตัวฉากเปิดเรื่องก็มีการทำกราฟฟิกแบบที่ภาพยนตร์ต่างประเทศนิยมใช้กัน หรือแม้แต่ฉากต่างๆในเรื่องก็มีการจัดวางองค์ประกอบภาพและใช้สีที่ไปในทางที่สวยงาม จัดจ้านและสื่อความหมายไปพร้อมๆกัน
รวมถึงตัวเนื้อหาที่พยายามหลุดออกจากกรอบเดิมๆ ว่าถ้าเป็นหนังผีแล้วก็หนีไม่พ้นต้องพูดเรื่องศาสนา เรื่องกฏแห่งกรรม ความดีความชั่ว การเวียนว่ายตายเกิด ทำนองนี้ ซึ่งตัวหนังได้ข้ามสิ่งเหล่านี้และไปพูดถึงประเด็นทางสังคมอย่างฐานะทางสังคมกับการประสบความสำเร็จ การแสวงหาโอกาสการทำงาน ที่แม้จะใส่มาบางเบาและบางอย่างก็บอกกันโต้งๆ แต่ก็พอรู้สึกได้ว่าเป็นสิ่งที่ผู้กำกับต้องการสื่อออกมาเหมือนกัน
รีวิวหนัง งานด้านโปรดักชั่นก็ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดี(ในแวดวงหนังไทย) ทั้งเรื่องศพก็ค่อนข้างสมจริงน่ากลัว หรือสิ่งที่ปรากฏตอนท้ายเรื่อง ที่แม้ว่าจะเป็นCGIที่เราเห็นได้ตามภาพยนตร์ทุนต่ำสำหรับต่างประเทศ แต่ก็ต้องยอมรับว่าเป็นความกล้าหาญ(ตั้งแต่ตัวเนื้อเรื่องแล้ว)ที่นำเสนองานทำนองนี้ออกมามากกว่าจะอยู่ในกรอบเดิมๆเพื่อเพลย์เซฟ กลายเป็นการสร้างทิศทางใหม่ๆ ให้กับวงการภาพยนตร์ของบ้านเรา
กระนั้นจุดที่คิดว่าหนังยังไปได้ไม่สุดทางก็ยังมีอยู่ ที่เห็นได้ชัดเลย คือ การที่ตัวหนังไม่รู้ว่าจะ “เล่นงาน” คนดูอย่างไรในช่วงแรกของหนัง เหมือนไม่รู้ว่าตัวเองอยากจะหลอกคนดูในฐานะหนังผีหรือหนังเขย่าขวัญ(อารมณ์หนังจากนิยายสตีเฟ่น คิง) กลายเป็นว่าทำได้แค่ใช้จังหวะ “จั้มป์สแคร์” หลอกคนดูไปตามทาง(จนนึกว่าเป็นหนังผี) และแล้วเมื่อความจริงเปิดเผยหนังที่มัวแต่หลอกคนดูก็ไม่ได้ปูความเชื่อหรือเหตุผลที่ดีพอจะรองรับสิ่งที่เกิดขึ้น ทำให้เมื่อเรื่องเปลี่ยนไปอีกขั้วหนึ่งในช่วงหลัง หนังจึงไม่มีพลังพอที่จะพาคนดูรู้สึกร่วมไปกับสิ่งเหล่านั้นได้เท่าที่ควร หนำซ้ำยังเป็นผลให้ฉากที่ควรจะพีคที่สุดกลายเป็นไร้ซึ่งความน่ากลัว และดูน่าสงสัยแทนที่ซะอย่างนั้น (ทั้งตรรกะและการกระทำหลายๆ อย่างของตัวละคร ที่ชวนให้รู้สึก เอ๊ะ!! ในใจอยู่หลายๆ ครั้ง)
อีกจุดที่ดูจะขาดหายไปโดยที่เป็นการตอบคำถามว่า บางช่วงทำไมเราถึงรู้สึกว่าหนังมันไม่สนุก? นั่นคือ หนังเรื่องนี้ไม่มีเนื้อเรื่องรองที่จะมาช่วยเนื้อเรื่องหลักเอาไว้ ยกตัวอย่างง่ายๆ ในช่วงที่แดนกำลังใช้กล้องถ่ายภาพคนเพื่อทำโปรเจคจบของเขา แล้วค่อยๆสัมผัสกับสิ่งประหลาดที่เกิดขึ้น ในช่วงนี้นอกจากความสงสัยของแดนแล้ว หนังไม่ได้ขับเคลื่อนคนดูไปในทิศทางไหนเลย เหมือนก็ปล่อยให้เราสงสัยเช่นเดียวกับแดนอยู่อย่างนั้น ซึ่งมันทำให้คนดูเกิดคำถามว่า แล้วยังไงต่อ? ไม่ทำอะไรสักหน่อยหรอ? ทำนองนี้ กลายเป็นหนังดูว่างเปล่าไปเลยในช่วงนี้ แน่นอนถ้ามีหนังเนื้อเรื่องรองที่แข็งแรงมาช่วยพยุงไว้ก็น่าจะดีขึ้นกว่าปล่อยให้คนดูลุ้นแต่เพียงว่า เมื่อไหร่ผีจะทะลุกล้องมาสักที ฮ่าๆๆ
สิ่งที่ควรจะมีเพิ่มอย่างความสัมพันธ์ของตัวละครหลักทั้งสามคน ก็กลับหายวับไป เมื่อเรื่องเข้าสู่จังหวะสำคัญ ทั้งๆ ที่มีการพูดถึงสถานะของทั้งสามคนอยู่บ้าง แต่ก็ไม่ได้เอามาใช้เป็นประโยชน์ เหมือนกลัวว่าเรื่องจะเสียสมดุลก็เลยตัดมันทิ้งดื้อๆ เลยซะอย่างนั้น เลยมีผลต่อให้ทุกตัวละครในเรื่องดูแบนแล้วก็ไม่ค่อยมีมิติสักเท่าไหร่นัก
.
ทางด้านนักแสดงที่เน้นไปในคนรุ่นใหม่เริ่มจาก นนน กรภัทร์ ที่สอบผ่านในการเล่นภาพยนตร์ครั้งแรก อาจจะไม่ถึงกับดีเลิศแต่พลังในการแสดงของเขาก็ทำให้คนดูลุ้นเอาใจช่วยได้เหมือนกัน ทางด้านเฌอปราง อารีย์กุล ที่เคยผ่านงานก่อนหน้าอย่าง ‘โฮมสเตย์’ มา อาจจะรู้สึกว่าไม่ได้โชว์ทักษะทางการแสดงมากไปกว่าเดิมเท่าไหร่ แม้จะเปลี่ยนมาเป็นคาแรคเตอร์ที่ดูจะเป็นผู้ใหญ่ขึ้นก็ตามที ส่วน นนท์ ศดานนท์ ที่ครั้งนี้เป็นงานเรื่องที่สามแล้ว แม้จะเป็นตัวละครสมทบ แต่ก็สามารถแสดงความโดดเด่นออกมาได้เป็นอย่างดี และคนที่สร้างความไม่น่าไว้ใจให้กับเรื่องมากที่สุดคงหนีไม่พ้น นักแสดงประสบการณ์สูงอย่าง อ้น นพพันธ์ ที่แฝงความอันตรายและน่าสะพรึงกลัวเอาไว้ผ่านใต้ใบหน้าที่เรียบเฉย เข้ากับคำพูดที่ว่า “หวังดีประสงค์ร้าย” จริงๆ
สรุป SLR กล้องติดตาย เป็นหนังที่อาจจะใช้คำว่า เว็บดูหนังฟรี ไม่ดีไม่แย่ เพราะหลายๆอย่างดูขัดกันและไม่ค่อยจะไปสุดทางเท่าไหร่ รวมถึงขาดพลังของการสร้างความน่าเชื่อถือในสิ่งที่หนังต้องการจะสื่อ และขาดเนื้อเรื่องรองที่ช่วยเพิ่มมิติให้กับตัวหนังด้วย และส่งผลให้นักแสดงไม่ได้แสดงศักยภาพได้อย่างเต็มที่ แต่อย่างน้อยก็น่าชื่นชมที่หนังพยายามนำเสนอแนวทางใหม่ๆ ให้กับวงการภาพยนตร์บ้านเรา ที่ตอนนี้ดูจะมีความหลากหลายมากขึ้นเป็นสัญญาณที่ดีไม่น้อยเลย

รีวิวหนัง SLR กล้องติดตาย

รีวิวหนัง SLR กล้องติดตาย

ดูหนัง “SLR กล้อง ติด ตาย” อาจดูเหมือนหนังผี แต่กลับไม่ใช่… จริงอยู่ที่รากเหง้าของเรื่องมาจากความเชื่อของคนไทยโบราณที่เชื่อว่า “อย่าถ่ายรูปเพราะจะดูดวิญญาณไป” แต่ในขณะเดียวกัน มันก็มีความสอดคล้องกับแนวคิดทางศาสตร์การถ่ายภาพที่ว่า “ดึงจิตวิญญาณออกมา ทั้งจากคนที่เป็นแบบ และจากคนที่กดชัตเตอร์”
ดังนั้น “SLR กล้อง ติด ตาย” จึงเป็นหนังแนว Psychological Thriller ที่พยายามเล่าถึงจิตวิญญาณและความขัดแย้งภายในจิตใจของมนุษย์ มากกว่าที่จะ Horror แถมยังมีความทะเยอทะยานที่จะอินเตอร์ และแหวกแนวจากหนังไทยทั่วไป กล่าวคือ แทนที่จะเป็นหนังผี แต่กลับเป็นหนังแนวปิศาจ ซาตาน และมอนสเตอร์เสียมากกว่า
ตัวเอกของเรื่องคือ “แดน” (นนน-กรภัทร์ จาก The Gifted) นักศึกษาหนุ่มด้านภาพถ่าย ที่สอบธีสิสกับอาจารย์เอม (อ้น–นพพันธ์) แต่ไม่ผ่านเสียที ในขณะที่เพื่อนสนิทของเขา “น้ำ” (เฌอปราง BNK48 จาก Homestay) และ “เกรท” (นนท์-ศดานนท์ จาก ดิวไปด้วยกันนะ) เรียนจบแล้ว และกำลังจะได้ไปเรียนต่อด้วยกันที่นิวยอร์ก ในที่สุด อาจารย์เอมได้ให้กล้อง SLR ตัวหนึ่งกับแดน และบอกให้เอากล้องตัวนี้ไปถ่ายงานมาใหม่ ต่อมาแดนได้ค้นพบว่า มันเป็นกล้องปีศาจ ถ่ายใคร คนนั้นก็ตาย เขาต้องเลือกว่าจะยอมถ่ายต่อให้จบเพื่อรักษาชีวิตและอนาคตทางการศึกษาของตนเองไว้ หรือจะล้มเลิกเพื่อรักษาชีวิตคนบริสุทธิ์เอาไว้
จะเห็นได้ว่า ผู้กำกับพยายามทำให้เป็นหนังกฎแห่งกรรมที่โมเดิร์น แน่นอนว่าคนเราเลือกเกิดไม่ได้ว่าจะยากดีมีจน ต้นทุนชีวิตคนเราไม่เท่ากัน แต่ทุกการกระทำของคนเรามีความหมาย ทุกเส้นทางที่เราเลือกล้วนมีผลกระทบ ไม่ใช่แค่กับตนเอง แต่ยังกระทบยังผู้อื่นด้วย ไม่ว่าจะรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ตาม “SLR กล้อง ติด ตาย” จึงเป็นหนังสยองขวัญที่ตั้งคำถามกับทิศทางสังคมเชิงหนุ่มสาวว่าพวกเขาจะเติบโตไปทางไหน เส้นทางที่พวกเขาเลือกคือคำตอบว่าคน ๆ นั้นให้ค่ากับอะไรมากกว่ากัน โดย pain points หลักของเรื่อง คือสิ่งที่หนุ่มสาวหลายคนต้องประสบ นั่นคือเรื่องโอกาส ความก้าวหน้า และความสำเร็จทางการศึกษาหรืออาชีพการงาน
น่าเสียดายที่ “SLR กล้อง ติด ตาย” มีความพยายามที่จะเป็นทุกอย่างและมีทุกรสมากเกินไป ทำให้หนังยังไปไม่สุดทาง เว็บดูหนัง ทั้งสยองขวัญ สัตว์ประหลาด จิตวิทยา ดราม่าต้นทุนชีวิต มิตรภาพและรักสามเส้า ฯลฯ จริง ๆ ถ้าหนังอยากจะโกอินเตอร์แบบหนังเกาหลี เขาเล่นเรื่องต้นทุนชีวิต ทุนนิยม หรือการสำรวจจิตใจให้หนัก ๆ ไปเลยจะดีกว่า แล้วให้มอนสเตอร์เป็นตัวเสริมนิดหน่อย เหมือนหนังมอนสเตอร์แจ้งเกิดของบงจุนโฮ
ส่วนที่เราไม่ชอบคือ “SLR กล้อง ติด ตาย” เป็นหนังที่ยังมีบาดแผล มี subplot ที่ไม่จำเป็น มิติกับปมของตัวละครที่ไม่ได้รับการพัฒนาขัดเกลา บทและการตัดต่อมีบ้ง ๆ เบียว ๆ บ้าง และเคมีของนักแสดงนำยังไม่ค่อยเข้ากัน มีหนึ่งในสามคนที่เป็นตัวฉุดเกรดลงอย่างชัดเจน ในขณะที่ศดานนท์พยายามพยุงเกรดขึ้นแทบตาย (เสียดายฝีมือที่เขาไม่ได้เล่นเป็นตัวเอกสุด) และอีกอย่างที่ดึงเกรดลงคือ “ฉากตุ้งแช่ (jump scare)” กับ sound ที่พยายามยัดเยอะเกินไปจนดูไร้รสนิยม
รีวิวหนัง SLR กล้องติดตาย
ดูหนังออนไลน์ อย่างไรก็ตาม โดยรวม “SLR กล้อง ติด ตาย” ก็ออกมาดีเกินค่าเฉลี่ยหนังไทยมากอยู่ ไม่ได้ชอบแต่เชียร์ เพราะถือว่าแปลกใหม่ กล้าเล่นกล้าลอง โปรดักชั่นและซีจีถือว่าผ่าน ภาพสวย แต่ภาพสยองก็สยองแบบแหวะไปเลย ไม่แนะนำสำหรับคนขวัญอ่อนเท่าไหร่ แต่ถ้าเป็นแฟน ๆ นักแสดงนำ หรือเป็นนักดูหนังที่อยากสนับสนุนหนังไทยสักเรื่อง เราคิดว่า “SLR กล้อง ติด ตาย” ควรค่าที่จะได้รับแรงสนับสนุนนั้น