รีวิวหนัง พันท้ายนรสิงห์

วันนี้เราขอประเดิมบล็อกแรกของปี 2016 ด้วยภาพยนตร์ไทยอิงประวัติศาสตร์ “พันท้ายนรสิงห์” ฉบับล่าสุดของ ท่านมุ้ย หรือหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล รีวิวหนัง พันท้ายนรสิงห์ (จริงๆ มีรอบสื่อตั้งแต่ก่อนปีใหม่ แต่เราติดไปเที่ยวปีใหม่ เลยต้องมาตีตั๋วไปดูเอง)

รีวิวหนังไทย สมเด็จพระสรรเพชญที่ 8 หรือ “พระเจ้าเสือ” (พันโทวันชนะ สวัสดี) เสด็จประพาสไปแถวเมืองวิเศษไชยชาญ ปลอมตัวเป็นสามัญชน “ทิดเดื่อ” ตามวิสัย และไปเจอ “นวล” (มัดหมี่ พิมดาว พานิชสมัย) ดูหนัง 4k หญิงสาวชาวบ้าน ที่ “สิน” (เต้ย พงศกร เมตตาริกานนท์) ตามจีบอยู่ และหมายมั่นปั้นมืออยากได้นางมาเป็นเมีย วันหนึ่งสินช่วยทิดเดื่อหรือพระเจ้าเสือจากการลอบปลงพระชนม์และได้ดื่มน้ำร่วมสาบานเป็นพี่น้องกัน ต่อมาพระเจ้าเสือจึงแต่งตั้งสินเป็น “พันท้ายนรสิงห์“
หลายคนที่ไปดู พันท้ายนรสิงห์ มาก่อนเรา บอกว่าสนุกกว่าและดีกว่า ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เราเองก็ไม่เคยดู ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เลยสักภาค แต่เท่าที่ดู พันท้ายนรสิงห์ ก็รู้สึกว่าเฉยๆ คือมันก็ไม่ดีไม่แย่ แต่ก็… นั่นแหละ… “ไม่ชอบ”
ยอมรับว่า การแสดงของผู้พันเบิร์ด, เต้ย พงศกร, มัดหมี่ พิมดาว, และ สรพงศ์ ชาตรี ในเรื่องนี้คือดีจริง เป็นธรรมชาติดี เคมีลงตัว ดูแล้วอิน ดูแล้วเชื่อ โดยเฉพาะฉากตัดหัวพันท้ายนรสิงห์คือพีคจริง บีบเค้นอารมณ์น้ำตาไหล ไร้ที่ติ
แต่ในขณะเดียวกัน ก็มีความแอบเบื่อกับคาแรกเตอร์ของ เต้ย พงศกร ซึ่งเริ่มจำเจซ้ำๆ ซากๆ มาตั้งแต่ บางระจัน กับ ผีห่าอโยธยา ละ (ถามจริง พระเอกหน้าไทยที่ขี่ม้าฟันดาบได้มันมีแค่นี้จริงๆ เหรอในปฐพีนี้เนี่ย) ส่วนผู้พันเบิร์ดก็นะ… ถึงแม้คาแรกเตอร์ในเรื่องนี้จะน่ารัก แต่มันก็เหมือนพระนเรศวรฯ กลับชาติมาเกิดเป็นพระเจ้าเสืออะ แถมเป็นพระเจ้าเสือเวอร์ชั่นคนดีอีกต่างหาก ไม่ชิน!!! (แต่กล้ามงาม พี่ให้อภัย)
อย่างไรก็ตาม นั่นมันก็ไม่ขัดอารมณ์เท่างานซีจีที่ไม่เนียน คือมันภาพลอยอย่างเห็นได้ชัด โปรดักชันละค้อนละคอน ตัดต่อก็พินาศมาก นำพาอารมณ์ไปไม่สุดเลย แต่ก็เข้าใจนะว่าตอนแรกมันถูกสร้างมาเพื่อให้เป็นละครไทยทีวีสีช่องสาม โปรดักชันมันเลยดูไม่อลังการงานสร้างเท่าหนังใหญ่ทั่วไป และต้องตัดต่อให้เหลือแค่ 3 ชั่วโมง อะไรๆ มันเลยออกมาไม่แพงอย่างที่ควรจะเป็น ดูหนังออนไลน์ 4k ดังนั้น ในส่วนนี้… เราขอใช้คำว่า ​”พอรับได้”
แต่สิ่งที่ “ไม่ชอบ” ที่สุดก็คือเนื้อเรื่อง ถึงแม้โดยรวมจะเหมือนเดิมตามพงศาวดารเด๊ะๆ เพิ่มเติมคือความน้ำเน่าของรักสามเส้า ไม่มีอะไรแปลกใหม่ คอนเทนต์ยังเต็มไปด้วยการสอดแทรก culture, hirtory, and social ของไทยๆ คือมันเวรี่ไทยเกินไป มันน่าเบื่อแล้ว คือหนังไทยควรก้าวไกลไปมากกว่านี้ได้แล้ว มันควรหมดยุคที่จะเอาหนังใหญ่มาเลคเชอร์เยาวชนไทยให้รักชาติรักพระเจ้าแผ่นดินได้แล้ว
ที่หนักสุดคือการตีความ ไม่สิ.. จริงๆ มันไม่ใช่การตีความสิ ต้องเรียกว่ามันคือการพยายามปรับทัศนคติมุมมองของคนไทย…โดยการยัดเยียดสารให้ชาวไทยเข้าใจเสียใหม่ว่า พระเจ้าเสือ… พระมหากษัตริย์ลำดับที่ 29 แห่งกรุงอโยธยานั้นไซร้ หาได้เลวร้ายหรือโหดเหี้ยมอำมหิตตามที่ประวัติศาสตร์ได้กล่าวไว้ไม่ ซึ่งบอกเลยว่า หนังโน้มน้าวเราไม่ได้เลย มันยากที่จะเชื่อจริงๆ (ก็อย่างที่บอกไปตะกี๊อะค่ะว่า ไม่ชิน!!!)
แต่ก็นั่นแหละ… มันอาจจะเป็นอคติของเราเองก็ได้ เพราะลองตัดอคติหรือความรู้ดั้งเดิมของตนเองเกี่ยวกับพระเจ้าเสือกับพันท้ายนรสิงห์ มันก็ดูสนุกครบรสดีแหละ มั้ง
ถ้าอยากให้ใครสักคนรักชาติรักแผ่นดินรักกษัตริย์รักความถูกต้อง หรือทำความรู้จักกับประวัติศาสตร์ไทยมากขึ้น ก็ลองพาเขาคนนั้นไปดูก็ได้ เพราะหนังมันก็มีข้อคิดในตัวของมัน และพระเจ้าเสือกับพันท้ายนรสิงห์ในเรื่องนี่ก็แสนจะดี๊ดี เอาเป็นแบบอย่าง role models ได้อะไรได้ (แต่อย่าเชื่อหนังหมด 100% นะ คำเตือน)
หนังเรื่องสุดท้ายที่ผมได้ดูในปี 2015 ผมเข้าไปดูแบบไม่ตั้งความหวังอะไรมากนัก เพราะ เป็นหนังที่ผมอยากเข้าไปซึมซับอรรถรส บรรยากาศ
ฉากที่เป็น กรุงศรีอยุธยายามไม่มีสงครามมาก่อกวนความสงบสุขดูบ้าง หลังจากได้รับชมแต่ยุคสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนที่ไพร่ฟ้าข้าไทกลายเป็นเชลยศึกให้แก่พม่ารามัญทั้งแผ่นดิน ปูพื้นฐานกันก่อนสำหรับผู้ที่ไม่มีความรู้ทางประวัติศาสตร์
เกร็ดประวัติศาสตร์ : พระเจ้าเสือ ทรงเป็นกษัตริย์องค์ที่ 30 ของราชอาณาจักรอยุธยา มีชื่อเสียงในทางโหดร้าย และมักมากในกาม
แต่ทรงมีความเป็นสามัญชน “มากที่สุด” ของอยุธยา โปรดปรานการเสด็จออกประพาสโดยมิให้ราษฏรรู้ว่าเป็นพระเจ้าแผ่นดิน
ทรงโปรดปรานการประพาสตกปลา และ ชกมวย เป็นต้น
บางตำนานเล่าว่า พระองค์เป็นโอรสลับของพระนารายณ์อันเกิดจากสนมที่เป็นเจ้าหญิงสาวชาวเชียงใหม่
แต่เนื่องจากพระนารายณ์ทรงอับอายที่มีโอรสกับเจ้าหญิงที่เป็นชาวลาว
(ในยุคสมัยนั้นอยุธยาถือว่าเชียงใหม่ หรือ ล้านนา ก็เป็นลาวเหมืองกับล้านช้าง หลวงพระบาง เวียงจันทร์ และมักจะดูถูกว่าต่ำต้อยกว่าอยุธยา)
พระนารายณ์จึงยกพระเจ้าเสือ ซึ่งมีนามเดิมว่า “เดื่อ” ซึ่งเป็นที่มาของชื่อสามัญที่ให้ข้าราชบริพารตามเสด็จเรียกให้ติดปากว่า “ทิดเดื่อ”
ในสมัยทรงพระเยาว์ ทรงมีพระนามตามความสามารถในการบังคับช้าง ซึ่งถือว่าเป็นวิชาหนึ่งที่สำคัญมาก สำหรับทหารและผู้นำ
จึงรับราชการเป็น “หลวงสรศักดิ์” ในกรมช้าง
ในช่วงปลายของรัชสมัยพระนารายณ์ พระเจ้าเสือ และพระบิดาคือ “พระเพทราชา” เป็นศูนย์กลางของการต่อต้านอิทธิพลของคริสต์ศาสนาและฝรั่งเศส ทรงเป็นกำลังสำคัญผลักดันให้พระเพทราชายึดอำนาจ และตั้งตนเป็นกษัตริย์ สถาปนาราชวงศ์ใหม่ คือ “ราชวงศ์บ้านพลูหลวง”
พระเจ้าเสือได้ กำจัดผู้มีสิทธิสืบราชสมบัติ 3 รายคือพระอนุชา 2 องค์ของพระเจ้าแผ่นดินสมัยนั้น คือ พระเจ้าอภัยทศ และเจ้าฟ้าน้อย
รวมทั้งโอรสบุญธรรมคือ พระปีย์
เมื่อพระเพทราชาได้ราชสมบัติ พระเจ้าเสือก็ได้รับสถาปนาเป็นอุปราช หรือ ในสมัยนั้นเรียกกันติดปากว่าวังหน้า
พระยศเต็ม คือ กรมพระราชวังบวรสถานมงคล) มีฐานะคล้ายเป็นกษัตริย์องค์ที่ 2 ของอยุธยา ใครที่ งง ว่าทำไมในเรื่องถึงมีการกล่าวสลับไปมา และเรียกพระเจ้าเสือว่า พ่ออยู่หัว ทั้งที่พระเจ้าเสือก็เรียก พระเพทราชา ว่าพ่ออยู่หัว นั่นเพราะพระราชฐานะที่ทรงเป็นอยู่ นั่นเอง
หนังได้พาเราเริ่มต้นเรื่อง ถึงสภาพความเป็นอยู่ ดูหนัง และวิถีชีวิตของชาวบ้าน แต่ก็ได้ปูทางให้เรารับรู้ถึงความน่ากลัว ในชื่อเสียงพระเจ้าเสือ ว่ามีความโหดร้ายและไม่ไว้หน้าผู้ใด ไร้มนุษยธรรม เอาแต่พระทัยเป็นอย่างยิ่ง
การเล่าเรื่องเป็นไปด้วยความรวดเร็วและไม่เนิบนาบ จับต้นชนปลายได้ถูกเรื่อง ผลพวงอันหนึ่งมาจากการถ่ายทำแบบเรียงเนื้อเรื่อง ไม่มีการสลับตอน ทำให้ความลื่นไหลและการแสดงอารมณ์ของตัวละครมีมิติ สอดคล้องกันทางอารมณ์เป็นอย่างดี
ตัวละครที่สมควรชื่นชม คือ ผู้พันเบิร์ด ทุกคนอาจติดภาพจากตำนานสมเด็จพระนเรศวร เพราะได้กลายเป็นจุดขาย และภาพจำของพวกเราไปแล้ว แต่ในครั้งนี้ ผู้พันเบิร์ด ได้พัฒนาตัวเองไปสู่มิติของความเป็น กษัตริย์เจ้าสำราญ ขี้เล่น และรับส่งมุกกับ เสนาลิงได้เป็นอย่างดี ต้องชื่นชมที่มงานที่ไม่ทำให้บรรยากาศหนังดูตึงเครียดจนเกินไป แต่มีมุกขำๆ ตลกๆ ส่งให้เราได้ยิ้ม ได้หัวเราะขึ้นมาตลอดทั้งเรื่อง

รีวิวหนัง พันท้ายนรสิงห์

สำหรับ เต้ย พงศกร ซึ่งรับบทเป็น พันท้ายนรสิงห์ นั้น สามารถเข้าถึงอารมณ์ได้อย่างดี มองแล้ว เชื่อได้สนิทใจว่าเต้ย รู้สึกกับบทที่พูด และมีความอาลัยเจืออยู่ในแต่ละฉากที่มีการร้องไห้ และการประกบคู่กับนางเอกสาว มัดหมี่ พิมดาว ก็สามารถช่วยส่งอารมณ์ให้กันและกันได้เป็นอย่างดีครับ ปล.แก้ไข ในส่วนรีวิวตรงนี้เกี่ยวกับข้อมูลของนางเอก ตามที่ท่านสมาชิกช่วยเติมข้อมูลให้ จขกท ครับ
การเดินเรื่องของหนัง มีความขัดกันในเรื่องความสนิทใจระหว่าง สิน กับ ทิดเดื่อ อยู่บ้าง แต่ด้วยเวลาที่จำกัดทำให้หนังได้ใช้ ฉากๆหนึ่งมาทำให้เกิดความนับถือในน้ำใจกันอย่างยิ่งระหว่าง ทิดเดื่อ และ สิน
ฉากการสู้รบทำได้ในระดับมืออาชีพอยู่แล้ว ทั้งการฟัน การแทง ดูสมจริง มีแต่การต่อยที่ยังรู้ว่าใช้การฉากหลบ หรือ แอคติ้งอยู่บ้าง แต่ไม่ทำให้เสียอรรถรสในการรรับชมเท่าไหร่นัก การใช้ CG ในเรื่อง เป็นข้อติ ที่สมควรต้องเอามาพิจารณา เพราะยังดูขัดตา และไม่เนียนสมจริงเท่าที่ควร เมื่อเทียบกับยุคสมัยที่เทคโนโลยีทำได้ดีกว่าที่เป็น เรื่องได้ถูกเพิ่มมิติเข้าไป โดยวางพล็อตไว้ 2 สถานการณ์ คือ สถานการณ์กบฏ
สถานการณ์ กบฏ เป็นแกนเรื่องแรก ที่หมุนเป็นฟันเฟือง ให้แกนเรื่องที่สอง ออกมาสมบูรณ์ เพราะมันได้สร้างสถานการณ์ ความสนิทใจ ไว้ใจ ให้แก่ สิน และ พระเจ้าเสือ ประกอบกับ การตีบทตัวละคร ของอานิรุตติ์ ได้ตีความตัวละครออกมาอย่างเจ้าเล่ห์ สะสมไว้ซึ่งความชิงชัง ส่งให้บทที่มีความเข้มข้น และมีพลังใจตัวของมันเอง ดูสมเหตุสมผล และจริงจังมากยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตามทั้งหมดทั้งมวลที่กล่าวมา ทุกคนคงรู้ว่า ไม่ว่ายังไง พันท้ายนรสิงห์ ก็ไม่ใช่หนังที่ต้องกลัวการสปอยล์ตอนจบ
เพราะทุกคนรู้อยู่แน่ๆแล้วว่า ตอนจบ “พระเอกตาย” ดูหนังออนไลน์
สิ่งที่ท่านมุ้ย ได้ชวนพวกเราร่วมกันตีความในฐานะคนดู คือ ทางเลือก ทางรอด ของตัวพันท้ายนรสิงห์เอง
หากเราอยู่ในสถานการณ์แบบ สิน สถานการณ์ที่กลืนไม่เข้า คายไม่ออก เราจะมีความกล้าพอที่จะทำ หรือเลือกสิ่งใด หรือไม่??
ในหนังได้แสดงทางเลือก ทางรอดให้กับสินไว้หลายทางมากกว่า แค่ ความตาย
แต่ พันท้ายนรสิงห์ ได้เลือกเอา ชีวิตตนเอง เป็นทางออก มิใช่เพราะความโง่งม หรือ ทิฐฐิ แต่เพราะเห็นว่า มันมีค่า สมควรจะได้แลก
แลกกับความศักดิ์สิทธิ์ของกฏหมาย แลกกับการซื้อใจ และทำให้พระเจ้าเสือที่เขารักและภักดียิ่งชีวิตไม่ถูกปองร้ายอีกเลย
จะว่าไปแล้ว พันท้ายนรสิงห์ ทำให้ผมนึกถึง ภาพยนตร์เรื่อง LOOPER เมื่อถึงจุดๆหนึ่ง คุณจะมองเห็นสัจธรรมว่า
หลายสิ่งหลายอย่างเริ่มต้นที่ตัวเรา ก็ควรจบที่ตัวเรา และ พันท้ายนรสิงห์ ได้เลือกด้วยตัวเองว่าจะขอ “ตาย”
ซึ่งหากเรา วางตัวเองอยู่ ณ จุดๆนั้น เราก็อาจมีคำถามเกิดขึ้นในหัวว่า “เราจะกล้าพอหรือไม่??” ที่จะตัดสินใจแบบ สิน
ปัญหาในสังคมทุกวันนี้ เพราะคนในสังคมเรา ยังมีคนที่ไม่ซื่อสัตย์ต่อตัวเอง ต่อคนอื่น ต่อประเทศชาติ แผ่นดินเกิด เรามองว่าเราสำคัญกว่าทุกสิ่ง
โดยลืมคิดไปว่า หากเราเสียสละบางสิ่ง แม้เพียงเล็กน้อย ก็อาจเพียงพอที่จะยุติปัญหาอีกมากมายได้ไม่มีวันจบ
สำหรับใครที่ยังไม่มีโปรแกรมว่าจะดูอะไร คุณสามารถอบอุ่นหัวใจ และตื้นตันไปกับการตัดสินใจของ พันท้ายนรสิงห์ได้ครับ
ผมคิดว่านอกจากสิ่งที่เรียกว่า การดูเพลินๆแล้ว คุณอาจได้ลองตั้งคำถามกับตัวเองแบบที่ผมจั่วหัวไว้ในกระทู้ว่า คำว่า “ทางเลือก” สำหรับคุณมันหมายถึงมีทางเลือกไว้มากแค่ไหน หรือ น้อยแค่ไหน
สำหรับ พันท้ายนรสิงห์ เขาไม่ใช่คนที่มองว่าสิ่งใด คือ ทางเลือก
แต่เขามองว่า สิ่งใดเป็นสิ่งที่เขาควรจะเลือก เหมือนกับที่นวลได้กล่าวไว้กับเขาในตอนหนึ่งว่า