รีวิวหนัง SCHOOL TALES เรื่องผีมีอยู่ว่า
School Tales เรื่องผีมีอยู่ว่า งานหนังผีจากค่ายไฟว์สตาร์ที่ส่งหนังผีมาให้คนไทยดูประจำ ดีๆก็มีงานคลาสสิคอย่าง รีวิวหนัง SCHOOL TALES เรื่องผีมีอยู่ว่า ลองของ (2548) และเปนชู้กับผี (2549) มาคราวนี้จับผู้กำกับหน้าใหม่อย่าง ภาส พัฒนกำจร ที่เคยมีผลงานอย่าง รักจัดหนัก (2554) และซีรีส์ ฝัน / เปลี่ยน / โลก (The Change Company) (2557) มาขายไอเดียหนังผีแนวแปลกที่ไม่ค่อยคุ้นเคยในบ้านเราดู ส่วนจะเป็นอย่างไรนั้น เรื่องมีอยู่ว่า..
รีวิวหนังไทย School Tales เล่าถึงโรงเรียนแห่งหนึ่งซึ่งมีตำนานผีประจำโรงเรียนมากมาย ในวันหนึ่งสมาชิกชมรมดุริยางค์ของโรงเรียนกลุ่มหนึ่งทำการจุดเทียนเล่าเรื่องผี แบบในพวกเรื่องเล่าญี่ปุ่นที่เล่าจบหนึ่งเรื่องก็เป่าเทียนให้ดับไปหนึ่งเล่ม โดยแต่ละคนก็ประกอบด้วยคู่เพื่อนจอมกลั่นแกล้งอย่างเน็ต และฝ่ายที่ถูกแกล้งเล่นประจำอย่าง ท็อป คู่เพื่อนสนิทสองสาวที่มีเรื่องผิดใจกันอย่าง เมย์ และ ครีม สุดท้ายคือคู่เพื่อนปากเก่งอย่าง สอง และ พีท โดยการกระทำของทั้งหมดอยู่ในสายตาของ โอม รุ่นพี่หัวหน้าชมรมที่ไม่มีน้องคนไหนเคารพ กับ ปัน เพื่อนสาวคนสนิทของโอมที่แสนลึกลับและหมกตัวอยู่ในห้องชมรมวิทยาศาสตร์อยู่เสมอ ซึ่งแน่นอนครับเมื่อลองดีอยากเจอผี ทั้งหมดก็จะได้เจอตามหลักหนังผี
ในเรื่องเล่าฝั่งผีนั้นก็มีหลากหลายคาแรกเตอร์ตั้งแต่ ยักษ์ ผีนักเรียนที่ใส่ขาเหล็กและมักปรากฏกายที่ตึกเรียนเก่า พร้อมเสียงถามเหยื่อว่า อยู่ไหน ซึ่งหากใครตอบรับมันก็จะจับไปฆ่าตรงที่มันเคยถูกกลั่นแกล้งจนตาย ภาวดี ผีดาวชมรมดนตรีสากลที่ใครไปเล่นฟรุต 9 โน้ตที่หน้ากระจกที่เธอถูกฆ่าตายจะถูกเธอสิงจนถึงแก่ความตายตามกัน ผีห้องสมุด ที่หากใครไปตะโกนเสียงดังในห้องสมุดยามค่ำคืน จะมีเสียงชู่ให้เงียบดังมา จากนั้นผีห้องสมุดก็จะติดตามคนๆนั้นเพื่อเปิดใบหน้าของมันให้ชมก่อนตาย และสุดท้าย ตำนานผีอาคาร 3 ที่เล่าว่าจะมีห้องๆหนึ่งที่เปิดไฟทิ้งไว้ ใครก็ตามที่ไปปิดมันจะเจอผีใส่หน้ากากไล่ล่าจนตาย เรียกว่าผีแต่ละตัวก็มีสตอรี่ของตัวเองชัดเจน และได้บรรยากาศพวกเรื่องสยองประจำโรงเรียนแบบญี่ปุ่นมากๆด้วย
ข้อดีของหนังคือ หนังคิดคอนเซปต์ในการเป็นผีที่น่าสนใจครับ คือผีนั้นแต่เดิมก็มาจากเรื่องจริงที่เป็นแบบหนึ่ง แต่เมื่อผ่านเวลาและคำบอกเล่าต่างๆก็ถูกแต่งเติมให้น่ากลัวขึ้นๆ จนไม่เหลือเค้าความจริงเดิม ผีที่น่ากลัวก็อุบัติขึ้นมาจากโศกนาฏกรรมของใครสักคนแบบนี้เอง ก็นับว่าแม้แนวคิดจะไม่ได้ใหม่จนแสตนดิ้งโอเวชั่น แต่ก็ถือว่าใหม่กับสไตล์หนังไทยมากทีเดียว ทั้งยังต้องชื่นชมความคิดกลั่นกรองการเป็นผีของผีแต่ละตัวไว้ด้วยปมอันสัมพันธ์กับคู่เพื่อนที่ต้องไปพัวพัน ซึ่งสะท้อนและคลี่ปมได้อย่างมีเหตุมีผลมากๆ อย่างคู่เพื่อนที่ฝ่ายหนึ่งชอบแกล้งฝ่ายหนึ่งแรงๆอย่าง เน็ต และ ท็อป ก็ต้องมาไขปริศนาของผียักษ์ที่ถูกเพื่อนกลั่นแกล้งจนตายด้วย อะไรแบบนี้ ตรงนี้ทำให้เห็นว่าใส่ใจบทในฐานะแก่นการเล่าอย่างดีเลยครับ
ท็อป เด็กอ้วนที่ตกเป็นเป้าการแกล้งของเพื่อนๆเสมอ
หนังใช้อนิเมชั่นในการเล่าเรื่องผีแต่ละตัว สไตล์อนิเมะสยองขวัญเรื่อง ยามิชิมไบ ทีเดียว
แต่กระนั้นข้อเสียของบทก็มีเหมือนกัน หนังค่อนข้างนานเกือบๆสองชั่วโมง แต่บางส่วนที่คิดว่าน่าจะขยี้อย่างพวกปมความสัมพันธ์กลับน้อยไปหน่อยในบางตัวละคร และบางส่วนที่คิดว่าไม่ต้องใส่มาก็ได้อย่างเรื่องช่วงขยี้ความรักที่เหมือนจะอยากทำให้อินแต่ก็ไม่ทันได้อินแถมดูเป็นแฟลชแบ็กเอ็มวีแนวน้ำเน่าไปเสียอีก ดูหนัง 4k ตรงนี้คงมาจากการเติมให้หนังมีครบรสซึ่งเอาจริงๆก็ไม่จำเป็นนักเพราะเป็นซับพล็อตที่ไม่ได้ส่งผลกับพล็อตหลักเท่าใด
อีกอย่างคือแม้จะปูเนื้อหาผีมาดีแต่การคลี่คลายและเฉลยปมผีบางตัวก็จัดว่าเดิมๆ น้ำเน่าและคาดเดาได้ง่ายมากเช่นกัน ทำให้ความรู้สึกว้าวมันหายไป มาทำได้ดีตอนผีตัวสุดท้ายหน่อย ที่ลุ้นและประหลาดใจที่สุดในผีทุกตัวแล้ว แต่กระนั้นด้วยการคลี่คลายด้วยบทพูดที่แม้คอนเซปต์จะดีเรื่องการถูกลืม แต่หนังให้รายละเอียดน้อยไป คำพูดก็ไม่เคลียร์ทำให้รู้สึกคลี่คลายปมง่ายไปหน่อยเช่นกัน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นโดยภาพรวมก็ต้องบอกว่าบทหนังให้รสผีไทยแบบใหม่ๆที่ดึงข้อดีจากงานในแนวอื่นๆของญี่ปุ่นมาปรับใช้ในบริบทไทยๆ ที่สะท้อนปัญหาวัยรุ่นทั้งเรื่องการกลั่นแกล้ง การถูกสังคมปฏิเสธ ความแปลกแยกเหล่านั้นได้อย่างดี
ส่วนข้อเสียที่ใหญ่สุดๆคงเป็นเรื่องการแสดง หรืออาจต้องล่วงไปถึงว่าการสร้างตัวละครที่ไม่ประสบความสำเร็จเอาเสียเลย โดยเฉพาะคู่ โอม และ ปัน ที่เป็นเหมือนนักสืบคอยช่วยเหลือรุ่นน้องในการไขคดีต่างๆ เรียกว่ามีบทบาทเป็นแก่งกลางทีเดียว ทว่าตัวละครสองตัวนี้ช่างไร้ความเป็นมนุษย์อย่างสิ้นเชิง หรือถ้าจะเป็นคนก็ต้องบอกว่ามีปัญหาในการแสดงความรู้สึก ทักษะการพูดสื่อสาร หรือมีปัญหาในการปฏิสัมพันธ์แบบมนุษย์กันเลยทีเดียว ไม่ว่าจะการเล่นหน้าเดียว อารมณ์เดียว น้ำเสียงเรียบๆเป็นจังหวะๆเหมือนอ่านมากกว่าพูด รวมถึงพฤติกรรมที่พูดไม่ถูกว่าจะแปลกแยกหรือมีความห่วงใยผู้อื่นดี ซึ่งกลายเป็นปัญหาความเชื่อถือและความสมจริงทีเดียว และไม่ใช่ว่าตัวละครอื่นจะไม่มีปัญหา นักแสดงทุกคนมีปัญหาหมดเลย แต่หนักสุดก็คือสองคนที่บอกนี่ล่ะครับ
หนังเรื่องนี้นับเป็นหนังผีคอนเซปต์แหวกตลาด ที่ใช้ความเป็นหนังผีสะท้อนปัญหาความสัมพันธ์และสังคมวัยรุ่นภายในโรงเรียนได้อย่างมีระดับมากๆ ผ่านการคิดในตัวบทต่างๆมาอย่างดี แต่ก็มาตกม้าตายในๆหลายๆส่วนที่เป็นการเล่าเรื่อง ทั้งการสร้างบรรยากาศที่ยังไม่กดดันน่ากลัวจนขนลุกซู่ เอฟเฟกต์ผีที่น่าจะทำได้หลอนกว่านี้มากๆ และที่สำคัญคือการสร้างตัวละครที่ไม่สมจริง จนอาจไม่อินไปกับสารดีๆที่หนังพยายามจะเล่าออกมา แต่ถ้าถามว่าหนังควรดูไหม ถ้าไม่ใช่สายต้องการความสยองขนลุกขนพองเอะอะๆหลอก เอะอะๆสะดุ้ง จัดว่าเป็นหนังที่บทให้เหตุให้ผลดี ทั้งยังได้ข้อคิดหลายๆอย่าง ควรดูครับด้วยคุณงามความดีที่ได้กล่าวมา
สร้างกระแสอยู่ในทวิตเตอร์กันอยู่พักหนึ่ง ตั้งแต่หนังไม่ได้ฉาย สำหรับ “School Tales – เรื่องผีมีอยู่ว่า…” ภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกที่เข้าฉายในปีนี้ ผ่านงานกำกับของ “ภาส พัฒนกำจร” (ผู้กำกับ “รักจัดหนัก”) ร่วมด้วยนักแสดงรุ่นใหม่เกือบทั้งหมด หนังเล่าเรื่องราวในคืนการเก็บตัวเข้าค่ายที่โรงเรียนของนักเรียนวงโยธวาทิต ตอนเช้าซ้อมดนตรี ตกดึกพวกเขากลับอยากลองของตามเรื่องผีที่เล่าต่อๆกันมาของนักเรียนภายในโรงเรียน ซึ่งพวกเขาไม่เคยรู้มาก่อนเลยว่า เรื่องเล่าเหล่านั้นล้วนมาจากเหตุการณ์จริงทั้งนั้น
รีวิวหนัง SCHOOL TALES เรื่องผีมีอยู่ว่า
ตัวละครที่ถูกแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มเพื่อไปลองของตามจำนวนเรื่องเล่าผีในโรงเรียนทั้ง 3 เรื่อง เว้นไว้เพียงตัวละคพระนางของเรื่องที่เปรียบเสมือนกุญแจสำคัญของเรื่องราวและมีบทบาทในการเชื่อมโยงตัวละครทั้งหมดเข้าไว้ด้วยกัน ส่วนตัวมองว่าเรื่องเล่าผีทั้งสามเรื่องในหนังก็ไม่ค่อยน่ากลัวซักเท่าไหร่นัก ส่วนที่ชอบคงเป็นการนำเสนอเรื่องราวผ่านงานอนิเมชั่น ซึ่งถือว่าทำได้ดี มีความน่าสนใจและอาจถือเป็นเสน่ห์ของหนังเรื่องนี้เลยก็ว่าได้
ตัวหนังพยายามบิ้วผู้ชมอย่างหนัก ตั้งแต่ช่วงต้นเรื่องจนถึงกลางเรื่อง มีการใส่ซาวด์และประเด็นปริศนาฝากทิ้งไว้ให้เป็นข้อสงสัยมากมาย ซึ่งก็พอสร้างความน่ากลัวและปมที่น่าสนใจให้กับหนังได้ แต่น่าเสียดายที่อารมณ์ของหนังกลับดูไม่ค่อยจะไหลลื่นซักเท่าไหร่ หนังเลือกที่จะตัดต่อภาพสลับไปมากับเรื่องเล่าเรื่องอื่นๆอยู่ตลอด เมื่อหนังจวนจะบิ้วผู้ชมจนถึงจุดสุดยอดแล้ว แต่จู่ๆก็ตัดไปที่เรื่องราวอีกเรื่องแทน อารมณ์มันเลยขัดๆไม่ไปสุดซักที (แอบเซ็งพอสมควร) และที่หนักไปกว่านั้นคือการเฉลยปมปริศนาที่ฝากไว้ในตอนต้นกลับทำออกมาไม่ค่อยจะโอเคนัก หนังตกม้าตายในการขมวดเรื่องราวและไขข้อข้องใจที่สมเหตุสมผลให้กับคนดู (ประเด็นนี้เป็นปัญหาหลักของหนังผีไทย ที่พยายามสร้างความน่ากลัวและปริศนาต่างๆนาๆให้กับหนัง แต่ตอนจบกลับผูกเรื่องราวให้สมเหตุสมผลไม่ได้) มันจึงเป็นหนังผีที่ไม่ค่อยมีที่มาที่ไปที่ไม่ค่อยจะสมบูรณ์เท่าไหร่
ตัวละครในภาพรวมของ “School Tales” ถือว่าแสดงออกมาได้ดี แต่ปัญหาที่พบและรู้สึกไม่ค่อยโอเคคือการต่อบทของ 2 นักแสดงนำ ที่ใช้คำควบกล้ำชัดเจนจนผมฟังแล้วไม่ระรื่นหูเท่าไหร่ (ส่วนตัวมองว่า แม้จะเป็นสิ่งที่ควรชม แต่มันก็ทำให้การต่อบทพูดของทั้งสองตัวละครดูไม่เป็นธรรมชาติ เหมือนท่องกันมาพูดซะมากกว่า) การแสดงของพระเอกดูแปร่งๆแข็งๆชอบกล ไม่ค่อยไหลลื่นและเป็นธรรมชาติเลย ส่วนตัวละครของนางเอกดูมีปมอะไรบางอย่างซ้อนไว้ในตอนต้น จนผมดูจบก็ไม่รู้ว่าความรู้เรื่องผีที่นางเอกรู้เป็นอย่างดีนั่นมีที่มาที่ไปยังไง (หนังไม่จำเป็นต้องใส่เรื่องราวความรักของทั้งคู่เลยก็ได้ เพราะเอาเข้าจริงมันถูกเล่าแบบผ่านๆเท่านั้น)
สรุปคือหนังไปไม่ถึงดวงดาว คล้ายอาหารที่มีสีสันน่าทาน แต่พอกลืนเข้าไปกลับขาดรสชาติตามที่มันควรจะเป็น ปัญหาคือพื้นเพและที่มาของตัวละครที่ยังไม่ชัดเจนและความต่อเนื่องของราวที่ยังไม่ไหลลื่นมากเท่าไหร่
นึกถึงหนังผี-หลากเรื่องเล่าในสถาบันการศึกษา แบบเดียวกับ “มหาลัยสยองขวัญ” เมื่อปี 2552 แต่โดย “เนื้อหนัง” ที่แท้จริง กลับมาในแนวระทึกขวัญ-สืบสวน แบบเดียวกับหนังเรื่อง “รุ่นพี่” เมื่อปีก่อน
ด้วยบุคลิกของ #ผีไทย ในหนัง หรือในเรื่องเล่าต่างๆ ที่มักผูกโยงกับปมความแค้น-ความยึดติดกับบุคคล/สถานที่… “ตัวละครผี” ต้องการสะสาง-คลี่คลาย-ให้อภัย จึงไม่สามารถไปผุดไปเกิด หลุดพ้นจากสภาพการเป็นผี ดังนั้น พวกเขาจึงวนเวียนปรากฏร่างให้ผู้คนได้พบเห็น เพื่อขอความช่วยเหลือ หรือไม่ก็เพื่อแก้แค้น-ทวงคืน-จนกระทั่งหลุดพ้น หลังจากได้เรียนรู้ว่าควรปล่อยวาง-ให้อภัย หรือสิ่งที่เป็นปมปัญหา (ก่อนหมดลมหายใจ) ได้รับการแก้ไข
นั่นคือ “บุคลิกผีไทย” ซึ่ง #แตกต่างจากผีชาติอื่นๆ เพราะโดยส่วนใหญ่ “ตัวละครผี” ของพวกเขา ดูหนังออนไลน์ จะมีลักษณะแบบคนโรคจิต เป็นความผิดปกติบิดเบี้ยว-ชั่วร้ายอำมหิต คิดจะฆ่าก็ฆ่าโดยไม่มีเหตุผล และการจะรับมือหรือทำลายภูติผี-วิญญาณร้าย-ปีศาจเหล่านั้น จำเป็นต้องอาศัยการต่อสู้ #เข่นฆ่า มากกว่าจะเป็นการคลี่คลายปมปัญหาให้หมดไป
.
เมื่อ “ตัวละครผีไทย” มี #เอกลักษณ์ ดังกล่าว หนังผี/เรื่องเล่าผีของไทย จึงสามารถผสมแนวทางหนังสืบสวนสอบสวน เพื่อให้คนที่มีชีวิตอยู่ได้ร่วมมือกัน (หรือบางทีก็ร่วมมือกับผี) เพื่อหาหลักฐานในการช่วยเหลือ-ปลดปล่อย-ทำลายความอาฆาตแค้น จนผีที่มาสร้างความหวาดกลัว (ให้คนดู และตัวละครในเรื่อง) สูญสลายหายไป…
.
สิ่งที่ยืนยันว่า “School Tales เรื่องผีมีอยู่ว่า” ต้องการเดินเรื่องไปในแนวทางหนังผี-สืบสวนสอบสวน ดูหนัง ปรากฏชัดในตอนเรื่องเล่าเกี่ยวกับ #ผีห้องสมุด หนังสือเล่มที่หล่นลงมาจากชั้นวาง กล้องจับให้เห็นชื่อบนหน้าปกหนังสือ “เซอร์ อาร์เทอร์ โคนัน ดอยล์” นักเขียนเรื่องสืบสวนสอบสวน ผู้แต่ง “เชอร์ล็อค โฮล์มส์” นั่นเอง!
เมื่อผู้สร้างกำหนดแนวทางหนัง SCHOOL TALES เน้น #การสืบสวนสอบสวน #หาเงื่อนงำ เพื่อทำให้ #ผี หลุดพ้นและจากไป… ความระทึก-สยองในแบบผีหลอกหลอน ได้ถูกลดทอน ฉากผีปรากฏตัว-พุ่งเข้าใส่-เข่นฆ่าทำร้าย เหมือนหนังผีไทยเรื่องอื่นๆ จึงไม่ได้มีบทบาทสำคัญในหนังเรื่องนี้ สิ่งที่เด่นชัดกว่า คือการวางปริศนาเรื่องเล่า (แน่ล่ะ ไม่ใช่เรื่องจริง) ปกปิดซ่อนเร้นปมปัญหา ทำให้ทุกตัวละครต้องพยายามหาเบาะแสเงื่อนงำซ่อนเร้น เพื่อสืบไปถึงต้นตอและเหตุการณ์จริงของ #เรื่องเล่า เหล่านั้น
ตัวละคร “ผี” ใน SCHOOL TALES มีลักษณะใกล้เคียงกับ #ฆาตกร ในหลากเรื่องเล่าของเชอร์ล็อค โฮมส์… พวกเขา (ผี) มีแรงจูงใจ มีการอำพรางคดี และบางกรณีก็เป็นเพียงความเข้าใจผิด! ถ้าคุณชอบเรื่องระทึก-สืบสวนสอบสวน “SCHOOL TALES เรื่องผีมีอยู่ว่า” น่าจะสร้างความบันเทิงชวนติดตามได้ไม่น้อย… ดูหนังออนไลน์ 4k เพราะหนังเรื่องนี้กำลังจะพลิกมุมให้คุณตั้งข้อสังเกต “เรื่องผีมีอยู่ว่า…” (แล้ว) #เรื่องจริงเป็นเช่นไร
และคำตอบจาก #เรื่องจริง ที่หนังเรื่องนี้เฉลยในตอนท้าย ก็ค่อนข้างเจ็บปวด อันเป็นผลจากการเป็น #ผู้ถูกกระทำ และไม่ว่าจะยุคใดสมัยใด เรื่องราวอันโหดร้ายลักษณะนี้ ก็ยังคงมีให้เห็นและปรากฏให้รับรู้ #เป็นเรื่องเล่า สืบต่อไป อีกนานแสนนาน…