รีวิวหนัง สิงสู่
“วิญญาณสิงสู่สะท้อนความทรงจำ” เรียกว่าภาพยนตร์ ‘สิงสู่’ คือหนังผีทุนต่ำและอาศัยพลังของเหล่านักแสดงในการขับเคลื่อนเรื่องราวเหมือนนั่งดูละครเวที รีวิวหนัง สิงสู่ คนดูจะต้องรอคอยการเฉลยที่มาที่ไปของตัวละครแต่ละตัวว่ามารวมตัวกันในสำนักพลังจิตแห่งนี้ได้อย่างไร
ทั้งหมดถูกตัดขาดจากโลกภายนอกและต้องติดอยู่ในสำนักแห่งนี้ พร้อมกับการทำพิธีกรรมบางอย่างกับศพใครไม่รู้ เค้าโครงของหนังยังพอมีเนื้อหาและส่วนที่ต้องตีความได้หลากแหลายแนวทาง
ทั้งบทสรุปของหนังที่เป็นคำถามปลาย หรือกระทั่งต้องตีความว่าผีคือใคร ศพคือใคร(เดาง่ายเหลือเกิน) และมาทำอะไรที่นี้ ตัวหนังจึงเต็มไปด้วยความน่าอึดอัดเล็กๆและความน่าสงสัยอยู่ตลอดเวลา เพราะจำกัดสถานที่และจำกัดตัวละครให้อยู่รวมกัน แต่ทั้งหมดนำเสนอได้เบาบาง
รีวิวหนังไทย และไม่สามารถเร่งเร้าอารมณ์ร่วมไปกับตัวละครได้ ทำให้ช่วงกลางเรื่องหนังค่อนข้างยืดยาวและอาศัยไดอะล็อกเดิมๆซ้ำๆวนไปวนมาจนจบเรื่อง ซึ่งไม่มีความจำเป็นและทำให้ตัวหนังเองไม่น่าติดตาม ยิ่งไปกว่านั้น จุดเฉลยปมปัญหายังสามารถเดาได้ง่ายๆตั้งแต่ต้นเรื่อง หนังจึงอ่อนแรงลงไปเรื่อยๆ และเริ่มรู้สึกเบื่อจนมีความคิดว่าอยากให้จบเร็วๆ
อย่างไรก็ตาม ทีมนักแสดงทั้งหมด อนันดา เอเวอร์ริ่งแฮม, ณัฐฐาวีรนุช ทองมี, ทาริกา ธิดาทิต, น้อง พลอย ศรนรินทร์ และคนอื่นๆ ได้โชว์การแสดงและให้ฉากอารมณ์ที่พอจะช่วยประคับประคองตัวหนังหรือแบกหนังทั้งเรื่องเอาไว้ได้ เพราะวิญญาณผีสิงในหนังไม่มีความน่ากลัวออกไปในทางตลกด้วยซ้ำ ดูหนังออนไลน์ การถูกวิญญาณเข้าสิงแบบ The Exorcist ไม่มีความหลอนแต่อย่างใด เพราะใช้รูปแบบเดิมๆอย่างพร่ำเพรื่อ ซาวด์ประกอบใส่มาเยอะจนน่ารำคาญ อย่างไรเสีย การสิงสู่ร่างมนุษย์ของเหล่าวิญญาณ ก็พอจะมีประเด็นอะไรให้ขบคิดและครุ่นคิดว่าตัวผู้กำกับต้องการสื่อสารอะไรกับคนดู ประเด็นของความทรงจำที่ยังวนเวียนอยู่ในความคิดของคนเป็น หรือการสอดแทรกสัญลักษณ์รากต้นไม้ที่ฝั่งรากลึกและค่อยๆบ่มเพาะเติบโตขึ้น แง่มุมหนึ่ง หนังชวนให้ตีความถึงระบบสังคมที่ไม่ชวนหลุดพ้นต่ออำนาจ(เผด็จการ)มืดบางอย่างที่มองไม่เห็น ที่คอยกลืนกินเข้าสิงสังคมจนถอนตัวไม่ขึ้น
ท้ายสุด ‘สิงสู่’ เป็นงานผีที่น่าจะทุนต่ำและมีบทภาพยนตร์ที่น้อยจนต้องขยายเรื่องราวทำให้ตัวหนังยืดยาวพาน่าเบื่อ ผีสิงไม่มีความน่ากลัวและชวนตลกแบบไม่ตั้งใจให้ตลก ซาว์ดประกอบที่เยอะ ไดอะล็อกเชยๆถูกใช้ซ้ำๆ การย้อนเล่าอดีตที่ตรงไปตรงมา และปมของหนังที่เดาทางได้ ทั้งหมดทำให้งานนี้น่าเบื่อพอสมควร ถึงกระนั้น หนังเองก็ไม่ได้เข้าขั้นแย่จนเกินไป และยังพอมีข้อความให้ตีความ มีนักแสดงที่เล่นกันได้ดี มีงานตัดต่อภาพและมุมกล้องที่พอใช้ได้ ส่วนตัวคาดหวังจนรู้สึกผิดหวังกับงานนี้ของผู้กำกับ ‘วิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง’ ที่เคยมีงานดีๆหลายเรื่องมาก่อนหน้านี้อยู่พอสมควรเลยทีเดียว…
ณ สำนักบนเขาที่โดดเดี่ยวห่างไกล ในวันที่บรรยากาศอึมครึมและฝนตกหนัก คนชุดดำ 6 คนมารวมตัวกันนำโดยนายแม่ หญิงชราผมขาวหน้าตาน่าเกรงขาม ทำพิธีกรรมปริศนาบางอย่าง โดยมีศพลึกลับเป็นเป้าหมาย แต่พวกเขาหารู้ไม่ว่าพิธีกรรมนั้นได้ไปปลุกวิญญาณแปลกหน้าที่ไม่ได้รับเชิญให้เข้ามาในบ้าน และหลังจากนั้นความสยองขวัญสุดขีดก็เริ่มต้นขึ้น ทุกคนต้องเผชิญหน้ากับวิญญาณร้ายที่ไม่สามารถคาดเดาได้เลยว่ามันจะสิงใคร เมื่อไหร่ ด้วยวิธีใด และมันไม่ได้จะเข้าสิงเพื่อทำให้กลัวเท่านั้น แต่สิ่งที่มันต้องการที่สุดแล้วคือ การฝังราก..ยึดวิญญาณ ของใครสักคนในที่นี้
หนังฝีมือจากผู้กำกับชั้นแนวหน้าของไทยอย่าง วิศิษฏ์ ดูหนัง ศาสนเที่ยง ที่กลับมาอีกครั้งในแนวหนังผีที่ดูจะสนุกมือเป็นพิเศษ เพราะนับจาก เปนชู้กับผี หนังผีย้อนยุคไทยสไตล์ที่สร้างความหลอนพลิกความคาดหมายจนลือลั่นไปแล้ว ก็ยังมีผลงานอย่าง รุ่นพี่ หนังผีที่หันมาผสมแนววัยรุ่นผสมการสืบสวนได้แปลกใหม่
แม้จะยังไม่ค่อยลงตัวมากนักก็ตาม มาปีนี้วิศิษฏ์หันกลับมาเล่นแนวผีแบบหนัก ๆ ผู้ใหญ่ ๆ อีกครั้งซึ่งยังได้รวมดาราชั้นนำมาประชันฝีมือแบบห้ำหั่นจริง ๆ ทั้งรุ่นเล็กรุ่นใหญ่ อย่าง อนันดา เอเวอร์ริ่งแฮม, ณัฐฐาวีรนุช ทองมี และโดยที่ต้องจับตามมองคือการกลับมาของ ทาริกา ธิดาทิตย์ และการโชว์ฝีมือของรุ่นเล็กของบ้านอย่าง พลอย ศรนรินทร์ ซึ่งฝีมือจัดจ้านขึ้นเป็นลำดับ
ระยะหลังๆ ผมมักรู้สึกว่า “วิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง” ซึ่งทำหนังและเขียนนิยายควบคู่กันไป ดูจะได้รับอิทธิพลจากงานแนว “ไลท์โนเวล” มาอย่างเด่นชัด
การบอกว่าหนังของวิศิษฏ์มีลักษณะเป็น “ไลท์โนเวล” มิได้หมายความว่างานเหล่านั้นเป็นหนังไม่ดี หรือมีความอ่อนด้อยทางศิลปะ
ตรงกันข้าม งานแบบ “ไลท์โนเวล” มักห่อหุ้มไว้ด้วยพล็อตเรื่อง บุคลิกลักษณะตัวละคร หรือรายละเอียดเกร็ดข้อมูลประกอบเรื่องราว ที่น่าตื่นตาตื่นใจบางอย่าง
ขณะเดียวกัน สารที่ดำรงอยู่ภายในก็ต้องถูกนำเสนอออกมาอย่างคมชัด กระชับง่าย มีคำตอบให้แทบทุกปมปัญหาในเรื่องราว หรือต้องคลี่คลายสะสางความซับซ้อนยุ่งเหยิงทั้งหลายให้เป็นระเบียบเรียบร้อยในตอนท้าย
ลักษณะเด่นประการหลังนี่เองที่อาจก่อให้เกิดผลลัพธ์อันน่าเสียดายในผลงานยุคหลังของวิศิษฏ์อยู่บ้าง ตั้งแต่หนัง-นิยาย “รุ่นพี่” นิยาย “เปนชู้กับผี” และหนังสั้น “Catopia” ใน “Ten Years Thailand”
“สิงสู่” ก็เกือบๆ จะมีอาการทำนองนั้น คือหนังพยายามอธิบายปมปัญหาหรือเปิดเผยเงื่อนปมหลายประการเอาไว้แบบชัดๆ ไม่ปิดบัง
กระทั่งปมปัญหาสำคัญข้อแรกที่ควรมีไว้เพื่อหลอกผู้ชมให้หลงทาง ก็อาจถูกคนดูจำนวนไม่น้อยจับทางหรือนึกหาคำตอบในใจได้ ก่อนที่หนังจะเฉลยมันออกมาบนจอ
ยังดี ที่วิศิษฏ์ไม่หยุดอยู่แค่นั้น แต่เขาเลือกจะเดินทางไปให้ไกลเกินขอบเขตเดิมๆ ในช่วงหลายปีหลังของตนเอง ด้วยการโยนปริศนาสำคัญข้อที่สองใส่คนดู แล้วก็ตัดสินใจปิดฉากภาพยนตร์ลงไปพร้อมกับการเพิ่งก่อกำเนิดขึ้นของปริศนาดังกล่าว
แม้ผมอาจไม่ชอบ “รุ่นพี่” มากนัก ดูหนังออนไลน์ 4k แต่จุดเด่นข้อหนึ่งที่หนังยาวเรื่องก่อนหน้านี้ของวิศิษฏ์แชร์ร่วมกับ “สิงสู่” ก็คือ พวกมันมีลักษณะเป็น “หนังสองหน้า” หรือ “หนังหลายหน้า” ซึ่งเปิดกว้างต่อการตีความ-เข้ารหัสของผู้ชม
ด้านหนึ่ง บางคนอาจพยายามตีความ “สิงสู่” ว่าเป็น “หนังการเมืองร่วมสมัยเข้มๆ” ตามจุดยืนของผู้กำกับที่กล้าแสดงความเห็นทางการเมืองของตนอย่างตรงไปตรงมาต่อสาธารณะ
ขณะเดียวกัน หนังก็ใส่ลูกเล่น-รายละเอียดบางอย่าง ที่ล่อหลอกชี้แนะให้ผู้ชมคิดเห็นไปทางนั้นได้จริงๆ
แต่อีกด้าน เราก็สามารถดู “สิงสู่” ในฐานะที่มันไม่ใช่ “หนังการเมืองร่วมสมัย” เลยก็ได้ โดยอาจมองว่านี่เป็นหนังผีไทยที่สนุก เขย่าขวัญ ตื่นเต้นทั้งเรื่อง แถมแปลกใหม่ไปจากมาตรฐานเดิมๆ ของเพื่อนร่วมตระกูลส่วนใหญ่
นอกจากจะเปิดโอกาสให้หนังสามารถเดินทางไปหาคนหมู่มากได้สะดวกขึ้น สภาวะ “สองหน้า” หรือ “หลายหน้า” อันลื่นไหลเช่นนี้ ย่อมส่งผลให้ความพยายามจะแทนที่ตัวละคร กลุ่มตัวละคร สถานที่ ในหนัง ด้วยบุคคล คณะบุคคล สถานการณ์ในโลกความจริงแบบเป๊ะๆ ตรงไปตรงมา แลดูเป็นเรื่องตลกอยู่ไม่น้อย (แต่ก็น่าลอง)
รีวิวหนัง สิงสู่
อย่างน้อยสุด หนังก็แสดงให้เห็นภาพถ่ายหมู่ของนายแม่และสานุศิษย์คนสำคัญแห่ง “สำนักจิตต์อสงไขย” ซึ่งระบุว่าถูกบันทึกไว้ในปี 2549
เราไม่แน่ใจว่าปี 2549 คือปีที่สำนักดังกล่าวก่อตั้งขึ้น หรือเป็นปีที่สำนักเริ่มลงหลักปักฐาน/ฝังราก/สิงสู่อยู่ ณ ฐานที่มั่นดังปรากฏในหนังตลอดทั้งเรื่อง หรือเป็นปีที่สำนักเริ่มสถาปนาอำนาจ-ความเข้มแข็งของตนเองได้เป็นผลสำเร็จ
แต่น่าสนใจว่า ปี 2549 และรัฐประหาร ณ ขวบปีนั้น คือต้นเหตุสำคัญแห่งอาการเจ็บป่วยเรื้อรังที่เกาะกินสังคมการเมืองไทยร่วมสมัย มาต่อเนื่องยาวนานเกินหนึ่งทศวรรษ
ก่อนหน้านี้ ผมได้ตามอ่าน/ชมบทสัมภาษณ์ของวิศิษฏ์ เกี่ยวกับหนัง “สิงสู่” โดยสำนักข่าวออนไลน์เจ้าต่างๆ แบบผ่านๆ (เพราะกลัวจะทำให้ดูหนังไม่สนุก)
แล้วผมก็เกิดอาการไขว้เขวขึ้นมาจนได้ ด้วยการแอบตั้งสมมุติฐานเบื้องต้นว่าถ้าตัวละคร “มนุษย์” ใน “สิงสู่” เกิดความกลัวในจิตใจ “ผีร้าย” ก็จะเข้าสิง ฉะนั้น มนุษย์ต้องไม่กลัวต่ออำนาจ ลัทธิความเชื่อ ตลอดจนมายาหลอกลวงไร้เหตุผลอื่นๆ
ส่วน “ผี” ในหนัง ก็คล้ายจะไม่ใช่เจ้าของร่างตัวจริง แต่เป็นผู้เข้ามาแย่งชิงยึดครองร่างของคนอื่น โดยไม่ได้รับเชิญ แถมทึกทักว่าร่างนั้นเป็นของตน
ก่อนดูหนัง ผมจึงเริ่มแปะป้าย ประทับตรา เลือกข้างให้ตัวละครสองฝ่ายไว้เสร็จสรรพ ว่าบรรดาตัวละคร “มนุษย์” และ “ผี” ใน “สิงสู่” น่าจะเป็นภาพแทนของใครในสังคมการเมืองไทย
ทว่าพอได้มาดูหนังจริงๆ สถานการณ์ดันกลับตาลปัตรไม่น้อย
เพราะเป็นพวกมนุษย์ซึ่งเปี่ยมด้วยกิเลสตัณหา (พอๆ กับผี) ต่างหาก ที่หลอกลวงกันและกัน ปิดบังความจริงระหว่างกัน ทรยศหักหลังกัน แม้จะอยู่ในครอบครัวหรือร่วมลัทธิพิธี ภายใต้หลังคาบ้านเดียวกัน
มนุษย์บางรายต่างหากที่ทำตนเป็น “นายผี” (นายแม่) หรือ “หมอผี” ซึ่งครอบงำผู้ศรัทธาด้วยพิธีกรรม ความศักดิ์สิทธิ์ ลัทธิความเชื่อ หรือความทรงจำที่ถูกประดิษฐ์สร้างขึ้น แถมยังชักนำปัญหาวุ่นวายต่างๆ นานาเข้ามาสู่ครัวเรือน/สังคม
ตรงกันข้าม ฝูงผีวิญญาณเร่ร่อน กลับกลายเป็นตัวแทนของคนเล็กคนน้อย ผู้ถูกกระทำ ตกเป็นเหยื่อ เป็นคนชายขอบ ไร้สิทธิ์ ไร้เสียง ไร้ร่าง ไร้ที่อยู่อาศัย และต้องพลัดพรากจากลากัน แม้จะสังกัดในครอบครัวเดียวกัน
ในแง่นี้ ลัทธิ “จิตต์อสงไขย” จึงเป็นเหมือนสถาบันทางสังคม-การเมือง-ศาสนาบางอย่าง ที่ปกครองคนด้วยแนวคิดความเชื่อทางจิตวิญญาณ และพิธีกรรมอันซับซ้อน
ก่อนที่ผีในนามของ “ความผิดแผกแปลกประหลาดแสนบิดเบี้ยว” จากภายนอก จะเข้ามากร่อนเซาะ ทำลาย ท้าทาย อำนาจดังกล่าว
ยิ่งกว่านั้น บทสรุปที่กำกวม คลุมเครือ เปิดกว้าง และ “หลายหน้า” ของ “สิงสู่” ก็น่าสนใจมากๆ เพราะคนดูสามารถขบคิดตีความมันได้อย่างแตกต่างหลากหลายพอสมควร
อย่างน้อยที่สุด ผู้ชมจำนวนมากคงต้องเผชิญหน้ากับสองตัวเลือกอันสูสี ระหว่างการเชื่อว่า “นายแม่” จะสามารถนำพาลูกๆ ผ่านพ้นสถานการณ์ผีสิงไปได้อย่างลุล่วงปลอดภัย กับการสงสัยว่า หรือบรรดาวิญญาณเร่ร่อนสามตนจะสามารถสิงสู่ลงในร่างของมนุษย์เหล่านั้นได้สำเร็จ? ดูหนัง 4k
หรือบางคนอาจพยายามผสาน “สิงสู่” ให้แนบแน่นลงล็อกกับสังคมการเมืองไทยมากขึ้น ด้วยการตั้งคำถามว่า ก็ “นายแม่” และเหล่าลูกศิษย์ใช่ไหมล่ะ ที่สวดคาถาเรียกผีเข้ามาในบ้าน ครั้นพวกผีแปลกปลอมสามารถ “สิงสู่/ฝังรากลึก” ได้สำเร็จ “นายแม่” และลูกๆ ก็ต้องทุกข์ตรมประสาทเสียกันไปเอง
ตามการตีความแบบนี้ สำนัก “จิตต์อสงไขย” อาจเป็นภาพแทนของม็อบการเมืองบางกลุ่ม ขณะที่ “วิญญาณเร่ร่อน” อาจมิได้หมายถึงคนเล็กคนน้อยที่ถูกสังคมการเมืองเพิกเฉยละเลยเสียแล้ว
จาก “ทัศน์วรรณ เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา” ใน “เปนชู้กับผี” มาจนถึง “ทาริกา ธิดาทิตย์” ใน “สิงสู่” เราได้เห็นว่าวิศิษฏ์มีความฉลาดในการเลือกนักแสดงหญิงรุ่นใหญ่มาร่วมงาน
คุณลักษณะที่มาพร้อมกับนักแสดงอาวุโสกลุ่มนี้ ไม่ใช่เพียงฝีมือการแสดงที่เชื่อถือได้ แต่ยังรวมถึงบุคลิก หน้าตา ท่าทาง ร่างกายสูงสง่าน่าเกรงขาม อันเหมาะสมกับบทบาท (ทัศน์วรรณเคยพอฟัดพอเหวี่ยงกับ “สุพรทิพย์-ศิรพันธ์” ยังไง ทาริกาก็กด “จ๋า ณัฐฐาวีรนุช” ได้อยู่หมัดในทำนองเดียวกัน)
นักแสดงที่ผมประทับใจอีกราย คือ “พลอย ศรนรินทร์” ที่บุคลิกสดใสแฝงแววตาเศร้าๆ ของเธอ ดูมีเสน่ห์ลึกลับดี นอกจากนี้ ในซีนย้อนอดีตที่เธอแต่งชุดนักเรียนนั้น พลอยช่างมีใบหน้าที่เหมือนกับ “จินตหรา สุขพัฒน์” สมัยสาวๆ แบบสุดๆ
หนังเปิดอย่างรวดเร็วสู่พิธีกรรมปลุกวิญญาณโดยแทบไม่ได้ให้ข้อมูลใด ๆ กับคนดู ก่อนจะสิ้นสุดฉากนี้ด้วยความผิดพลาดและแล้ววิญญาณร้ายที่ไม่ได้รับเชิญก็บุกรุกข่มขวัญกลุ่มผู้ร่วมพิธีราวกับเกาะร้างปิดตายกลางทะเลในหนังฆาตกรรมสยองขวัญ
ซึ่งเหล่าตัวเอกต่างต้องทำบทนักสืบและสงสัยกันเอง ว่าใครจะตกเป็นร่างสิงสู่ของวิญญาณร้าย และวิญญาณร้ายคือใคร แท้จริงต้องการอะไร ยิ่งรวมถึงปริศนาของพิธีกรรมนี้ว่าแท้จริงจัดขึ้นเพื่อการใดกันแน่ นี่คือลูกเล่นที่หนังใช้ผสมหนังหลากหลายแนวจนกลายเป็นหนังผีที่เป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนใครขึ้นได้
และจุดอ่อนใหญ่ของหนังก็ไม่อาจปกปิดตัวเองได้ดีเหมือนเช่นปริศนาของมันเลย เพราะเราเห็นความจำกัดจำเขี่ยในเรื่องทุนทรัพย์อย่างออกนอกหน้า ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเมกอัปแต่งหน้าเวลาถูกสิงที่เหมือนลงพื้นหนัก ๆ ป้ายขอบตาดำ แล้วใส่คอนแท็กเลนส์แฟนซี เอาเท่านั้น
หรือเทคนิคพิเศษที่แทบจะไม่ได้มีให้เห็น ซึ่งพอประกอบกับการแสดงในบางฉากที่ดั่งอยู่บนเวทีละคอนแล้วนั้น ท่าทางประหลาด ๆ เมกอัปหน้าขาว ๆ คำพูดเว่อ ๆ ไม่ธรรมชาติ มันจึงชวนให้เหมือนหนังคัลท์ทุนต่ำที่ทำให้ตลกอย่างไม่ตั้งใจ แต่หนังก็เอาตัวรอดไปได้ด้วยเสียงของดนตรีที่ข่มขวัญเราได้ดีอย่างกับหนังยุโรปชั้นดี และพลังของนักแสดงที่ทำให้เราไม่อาจเบือนหน้ามองได้เลย
จุดอ่อนใหญ่ของหนังอีกประการคงเป็นไคลแม็กส์ของการเฉลยพล็อตสำคัญนั้น แทบจะเดาได้ตั้งแต่ต้นเรื่อง และยิ่งเชื่อมั่นเมื่อเห็นคำใบ้รายทาง จนแทบจะไม่ได้ตื่นเต้นอะไรกับการช็อกคนดูช่วงท้าย แต่ในขณะเดียวกันหนังก็มีจุดแข็งใหญ่มาก ๆ ในการเป็นหนังที่สอดแทรกสังคมและการเมือง
ประวัติศาสตร์ ลงไปอย่างแนบเนียน ทำให้บางคนถึงกับบอกว่าเก็ตไม่หมด หรือดูไม่รู้เรื่องบางจุด นั่นเพราะหนังซ่อนได้คมและซ่อนได้ลึกมาก ใครตีความออกก็จะยิ่งรู้สึกขนหัวลุกได้ยิ่งกว่าตัวหนังที่ดูเสียอีก
ซึ่งคำใบ้สำคัญที่ควรพกติดตัวไปรับชมคือ “เมืองไทยปี 2549” “พ่อ แม่-ลูก” “เมือง-ชนบท” โดยเฉพาะเรื่อง แม่-ลูก นั้น คือส่วนที่เราขนลุกที่สุด ยิ่งฉากการขึ้นครองบ้านของตัวละครหนึ่งในท้ายสุดนั้นยิ่งสวยงามและชวนพิศวงอย่างมาก และน่าจะตอบโจทย์ชัดที่สุดว่า วิญญาณในแง่ของความทรงจำนั้น หลอกหลอนเราได้ยาวนานและฝังลึกลงในสังคมเราได้ยิ่งกว่ารากของไม้ใหญ่เสียอีก
รอบหดหายไปเยอะเหลือเกินจากการตามดูที่โรงวันนี้ สาเหตุนั่นเชื่อว่า คงเพราะเข้าฉายชนกับฮีโร่แห่งท้องทะเลอีกเรื่องที่น่าจะดึงคนดูไปมากกว่า
จะว่าไปแล้ว สิงสู่ ของผู้กำกับคนเดียวกันกับเปนชู้กับผี …ได้ข่าวมาว่าเป็นหนังทุนต่ำ แต่ด้วยฟอร์มของ นักแสดง เครดิตทีมสร้าง เลยทำให้มันน่าจะมีอะไรที่น่าติดตาม เพราะมองจากในตัวอย่างยังคิดไม่ออกว่า หนังจะพาเราไปในทางไหนเพราะเห็นมีแต่สิงคนโน้น คนนี่
ถ้าหากว่าเราคาดหวังให้มันออกมาในระดับใกล้เคียงแบบเปนชู้กับผี (หนังที่ใครหลายๆ คนยกย่องให้เป็นอีกงานหนังผีชั้นครูของประเทศ) บอกก่อนเลยว่าท่านอาจจะไม่สมหวังนัก ในแง่ของเนื้อเรื่อง มันยังหลายจุดที่ดูหละหลวม และการเดินเรื่องในช่วงแรกที่ค่อนข้างไม่มีอะไรคืบหน้านัก นอกจากการเข้าสิงของวิญญาณในเรื่องที่หมุนเวียนสับเปลี่ยนตัวละครไป ทำทีให้ตัวละครในเรื่องกระสับกระส่ายอยู่กับการระแวงคนรอบข้างว่าใครจะเป็นรายต่อไป ผมเองก็เลยค่อนข้างไปเรื่อยๆ กับหนัง ในช่วงแรก …พอหนังผ่านไปสักครึ่งแรก ผมว่าเครื่องเริ่มติด เริ่มจะมีอะไรพลิกผัน เริ่มขมวดปม ผมก็กลับมาสนุกกับหนังอีกทีจนจบเรื่อง ซึ่งก็ถือว่าจบค่อนข้างสวย
หลายฉากคนดูคงเดาออกว่าคือของที่เซ็ตขึ้นมา มองในแง่หนึ่ง หนังอาจจะไปคารวะหนังสยองขวัญทุนต่ำที่คลาสสิค เพราะผมเองก็รู้สึกถึงอารมณ์แบบ The evil dead อยู่ตะหงิดๆ …ผมว่าหลายฉากในหนังเรื่องนี้ทำออกมาได้น่ากลัวเลย ดนตรีประกอบถือเป็นของเด็ดที่รั้งคนดูให้อยู่ติดกับฉากระทึกๆ ได้ดี นักแสดงนำทำได้ถึงดี และประเด็นที่หนังซ่อนไว้ก็ถือว่าน่าฉุกคิดอยู่ไม่น้อย แม้จะเล่นกับสถานที่ปิดตาย วนเวียนอยู่ในบ้าน แต่ก็ทำออกมาได้น่ากลัว น่าหวาดผวา และมุมกล้องแบบเเฮนด์เฮล สเตดิแคม เล่นกับการโฟกัสใบหน้า เน้นให้เห็นถึงความอึดอัด ไม่สบายใจ
แม้จะไม่ใช่งานที่สมบูรณ์แบบ หรือสยองแบบขนหัวลุกแบบสุดขีด แต่ก็ถือว่าหนังมีของมีดีในแบบของมันอยู่ แม้จะไม่ได้ปล่อยของแบบสุดๆ แต่ก็ไม่ถือว่าเสียดายตังค์ ถือว่าค่อนข้างชอบครับ