รีวิวหนัง SAD BEAUTY เพื่อนฉัน…ฝันสลาย

ยาเสพย์ติด เพื่อนรัก ฆาตกรรม และโรคร้าย  องค์ประกอบซ้ำๆเดิมๆพวกนี้หากถูกนำมาเขย่าและผสมให้ดีอาจเกิดคอกเทลหนังระทึกขวัญ ดราม่า เคล้ามิตรภาพลึกซึ้งออกมาได้ แต่สำหรับ Sad Beauty นอกจากภาพสวยเหมือนมิวสิควีดีโอแล้ว ประเด็นของเรื่องกลับบางเบาและไม่อาจนำพาให้คนดูเชื่อในความสัมพันธ์ของตัวละครได้เลยด้วยซ้ำ รีวิวหนัง SAD BEAUTY เพื่อนฉัน…ฝันสลาย

ตัวหนังเล่าเรื่องราวที่เหมือนเป็นกึ่งอัตชีวประวัติของตั๊ก บงกชเองที่เธอเลือกถ่ายทอดมันผ่านตัวละครชื่อ โย (ฟลอเรนซ์ วนิดา เฟลเวอร์) นางแบบสาวปากสว่างที่มักมีเรื่องกับนักข่าวจนผู้จัดการและคนในวงการเอือมเธอกันเป็นแถว มีเพียง พิม (ภัควดี เพ็งสุวรรณ) เพื่อนสาวนักศึกษาที่ทั้งเรียบร้อยและเป็นเด็กดีคอยอยู่ข้างๆเธอเสมอในวันที่ทุกคนหันหลังให้ แต่ในคืนหนึ่งที่โยหวังปลอบใจพิมหลังรู้ตัวว่าเป็นโรคมะเร็ง ทั้งคู่ก็เผลอพลั้งมือฆาตกรรมพ่อเลี้ยงของพิมจนนำไปสู่การเดินทางเพื่อกำจัดศพแต่ความลับครั้งนี้ก็กัดกร่อนความสัมพันธ์ของทั้งคู่จนยากจะกลับมาเป็นเหมือนเดิม
รีวิวหนัง SAD BEAUTY เพื่อนฉัน...ฝันสลาย
 รีวิวหนังไทย ด้วยความที่เรื่องราวมาจากสิ่งที่เกิดขึ้นกับผู้กำกับ ตั๊ก บงกช เบญจรงคกุล จึงใส่ทุกสิ่งอย่างที่เธอผ่านพบหลังเข้าสู่วงการบันเทิงทั้งเรื่องปาร์ตี้และยาเสพย์ติดที่เหล่านางแบบใช้ผ่อนคลายยามว่าง หรือกระทั่งเรื่องที่เธอมักน๊อตหลุดเวลาให้สัมภาษณ์นักข่าวจนได้ฉายา ‘ อึ๋มผ่าซาก’  มาผสมผสานกับเรื่องเพื่อนที่เป็นโรคมะเร็ง อันเป็นสาระสำคัญที่เธอต้องการพูดถึงมิตรภาพที่ฝังใจมานาน แต่พอเป็นบทหนังมันกลับเล่าอย่างไร้ทิศทาง เต็มไปด้วยรายละเอียดข้างต้นที่ถูกใส่มาจนล้น แต่ไม่อาจทำให้คนดูเห็นใจหรือสะเทือนใจกับชะตากรรมตัวละครได้เลย เนื่องจากหนังเองก็ละเลยที่จะใส่มิติตัวละครที่มากกว่าแค่ ดาราเอาแต่ใจที่มีเพื่อนที่แสนดีแต่ดวงซวยเป็นมะเร็ง ซ้ำร้ายด้วยบทพูดที่ถูกเขียนมาแบบภาษาเขียนมาผ่านนักแสดงมือสมัครเล่นโดยเฉพาะบทพิม ของ แอม ภัควดี ที่ต่อให้เธอร้องไห้ได้น่าสงสารแค่ไหนแต่การแสดงของเธอทำให้ตัวละครขาดเสน่ห์และไม่ได้น่าเห็นใจอย่างที่ควรจะเป็น ส่วนฟลอเรนซ์ วนิดา คือยอมรับเลยว่าเสน่ห์สาวผิวแทนรูปร่างดีทำให้เราอยากมองเธอนานๆแม้ว่าคาแรกเตอร์ของโยจะเต็มไปด้วยบทสนทนาที่น่ารำคาญแค่ไหนก็ตาม นั่นเลยทำให้หนังต้องใส่เหตุการณ์ฆาตกรรมเข้ามาเพื่อกระตุ้นให้คนดูตื่นจากอาการง่วงหงาวหาวนอนในองก์แรก
ซึ่งเหตุการณ์ฆาตกรรมนี้แม้จะถูกใส่แบบจับยัดแต่อย่างน้อยก็เป็นส่วนเดียวที่ทำให้เรื่องราวดูมีทิศทางและทำให้คนดูได้เห็นถึงความเป็นภาพยนตร์ที่มากกว่าแค่ถ่ายภาพสาวๆเต้นในผับ ไฟนีออนแว่บๆในองก์แรก ซึ่งจุดนี้ผู้เขียนขออนุญาตทึกทักเอาเองว่าเมื่อบทหนังไปถึงมือโปรดิวเซอร์อย่าง ก้องเกียรติ โขมสิริ ผู้กำกับหนังฆาตกรรมอย่าง เฉือน เลยอาจถูกดัดแปลงพันธุกรรมให้เรื่องราวดูแปลกใหม่ด้วยการใส่เรื่องราวฆาตกรรมที่เข้ามาทดสอบมิตรภาพของตัวละครทั้งคู่ซึ่งถือเป็นไอเดียที่ทำให้หนังน่าสนใจจนเกิดเป็นฉากที่ดีที่สุดในเรื่อง  ซึ่งรวมถึงการปรากฏตัวของ ปีเตอร์ นพชัย ชัยนาม ในบท ดูหนังออนไลน์ ญาติทหารพรานของพิมที่ทั้งดูน่าเกรงขามและชวนสะพรึงกลัว แถมออกมาไม่กี่นาทีแต่กลับแสดงดีกว่านักแสดงนำเสียอีก  แต่ก็อีกนั่นแหละพอมันโผล่มาแค่ซีเควนซ์เดียวและไม่ได้มีการสานต่อเรื่องราวอย่างเป็นรูปธรรม  คือนอกจากการที่โยตีตัวออกห่างแล้วมันก็แทบไม่ได้มีบทสรุปหรือมาปั่นป่วนชะตาชีวิตตัวละครอีกเลย จนงงว่าอ้าว! คือใส่ฆาตกรรมมาแค่ให้หนังมีบรรยากาศแบบหนังผีแค่นี้อ่ะเหรอ 555
รีวิวหนัง SAD BEAUTY เพื่อนฉัน...ฝันสลาย
คือสรุปเลยละกันว่า เพื่อนฉันฝันสลาย น่าจะเป็นงานส่วนตัวของตั๊กบงกช ที่ไม่ได้หวังให้คนดูเข้าถึงได้ทุกคน แต่อาการหนักสุดของหนังคือบทที่ไม่มีทิศทาง พยายามใส่รายละเอียดรายทางเยอะแยะท่ามกลางโครงเรื่องที่ไม่แข็งแรงนัก แม้งานโปรดักชั่นจะสวยงาม ถ่ายสวย คุมเทคนิคดี แต่กลับสอบตกทั้งความบันเทิงและคุณค่าทางจิตใจอย่างที่ผู้กำกับหวังให้คนอื่นรู้สึกร่วมไปกับเธอ
• จากผลงานเรื่องที่สองของตั๊ก บงกช นักแสดงที่ผันตัวเองมาอยู่เบื้องหลัง ทั้งกำกับ ดูหนังออนไลน์ 4k และเขียนบท ถ่ายทอดเรื่องราวของ 2 หญิงสาวเพื่อนสนิทอย่างโย ที่เป็นดารานางแบบ ที่ไม่มีใครจ้างงาน และ พิม ที่พบว่าตนเองนั้นต้องเผชิญโรคร้าย ดูเหมือนชีวิตจะไม่ราบรื่นเท่าไร การใช้ชีวิตมีแต่ปัญหาทั้ง 2 จะจัดการกับชีวิตอย่างไร ต้องไปดูกันแต่สำหรับรีวิวนี้อ่านโล่ด….
รีวิวหนัง SAD BEAUTY เพื่อนฉัน...ฝันสลาย
• ส่วนตัวแล้วชอบผลงานก่อนหน้านี้มากอย่าง “นางฟ้า ” ที่เล่าเรื่องเกี่ยวกับนางโชว์ เพื่อน และประเด็นแม่(สาวประเภทสอง)ลูกเล่าได้อย่างลึกซึ้งบีบน้ำตาได้ดี และเราหวังไว้สูงมากว่าเรื่องที่สองจะต้องออกมาเป็นที่น่าพอใจสำหรับเรา Sad Beauty เนื้อหาในหนังดูดีนะ พล็อตเรื่องน่าสนใจ แต่กลับเล่าออกมาขาดความน่าเชื่อถือ ไม่สมจริง การแสดงดูเฟคมาก นักแสดงที่รับบท พิม พูดเหมือนท่องบท และขัดหูขีดตาทุกคำเวลาที่ตัวละครตัวนี้พูดออกมา ซีนแรกที่มาเลาะกันในรถ แบบนี้เรียกว่าการแสดงได้เหรอ…พูดเหมือนเป็นการท่องจำ อ่านบทให้คนดูฟังยังไงยังงั้นเลย
• ข้อดีสำหรับเรื่องนี้คืองานภาพนี่แหละมีความหม่นๆ ซึ่งเข้ากับบรรยากาศในเรื่องดี และหนังเองก็ยังกล้าเล่าสิ่งที่เราไม่คิดว่าจะได้เห็นอย่างเช่นฉากความโหด ซาดิสม์ ซึ่งหนังไทยน้อยเรื่องมากที่กล้านำเสนอมุมมองด้านนี้ให้คนอย่างเราๆได้ดูกัน ซึ่งแต่ละฉากนั้นชวนสยองทีเดียว และอีกหนึ่งอย่างที่อยากพูดถึงคือการแสดงของ ฟลอเรนซ์ วนิดา เฟลเวอร์ คือสิ่งที่ดีงามของเรื่องที่สุดแล้ว
• ความระทมอมทุกข์ ของตัวละครจะเห็นอยู่ในหนังของผกก ท่านนี้เสมอ อย่างเรื่องนี้จะให้เห็นถึงความ SAD คือตามชื่อเรื่องเลย มัน SAD ได้ตลอดทั้งเรื่อง ไม่มีช่วงไหนที่จะมีความสุขหรืออารมณ์ฟีลกู๊ดได้เลย อารมณ์ SAD อารมณ์เดียวไปจนถึงตอนจบ เหมือนพยายามจะเรียกคะแนนสงสารจากคนดูแต่สิ่งที่ได้คือความน่ารำคาญเสียมากกว่า รวมถึงทำให้เราอึดอัดบางทีก็อยากให้หนังจบไวๆ เหมือนกัน และการหาทางออกแก้ไขปัญหาก็ไม่ค่อยสมเหตุสมผลเท่าไหร่ มันมีวิธีแก้ไขที่ดีกว่านี้แต่กลับไม่ทำ จริงๆ 2 ตัวละครจะมีชีวิตที่มีความสุขได้นะเพียงแต่ให้รู้จักคุณค่าและการใช้ชีวิตเท่านั้นเอง ดูหนัง
• สรุป อย่างไรแล้วผลงานเรื่องล่าสุดของตั๊ก บงกช นี้ยังไม่ตอบโจทย์ได้เท่าที่ควร ประเด็นหลายอย่าง เล่าออกมาแบบผ่านๆ ไม่มีการเล่าถึงบทสรุปของปัญหานั้นๆให้เราได้เห็น เหมือนปูเรื่องมาแล้วไม่เล่าต่อ มันก็เลยมีหลายประเด็นที่ไม่เคลียร์ สุดท้ายแล้วก็แล้วแต่คนดูอาจจะไม่ต้องเชื่ออะไรมากลองไปพิสูจน์กันเอาเองครับ
(ก) ก่อนจะเข้าไปดูหนัง เจอ “แอม ฉายนันทน์ มโนมัยสันติภาพ” มาซื้อของที่ซูเปอร์มาร์เก็ตใกล้ๆ โรง พร้อมกับสามี น่าเสียดายที่หลายปีหลัง เธอไม่ได้แสดงภาพยนตร์อีกเลย ทั้งที่สมัยเล่นหนังให้พงษ์พัฒน์ เธอก็ทำได้ดีอยู่ แล้วโดยบุคลิกภาพ เธอก็มีความพิเศษบางอย่าง คือ ไม่ใช่คนที่มีออร่าโดดเด้งแบบดารา/ซุปตาร์ซะทีเดียว แต่เป็นคนที่มีความเก๋-ขาวสว่าง ควบคู่กลมกลืนไปกับการมีบุคลิกแบบสาวออฟฟิศธรรมดา
(ข) ระหว่างดูหนังตัวอย่าง/หนังโฆษณา จู่ๆ ก็มีสิ่งที่น่าจะเป็นตัวอย่างหนังเรื่องหนึ่งถูกฉายขึ้นมา นักแสดงนำชาย คือ “กรรณ สวัสดิวัตน์ ณ อยุธยา” และน่าจะไปถ่ายทำกันที่นิวยอร์ก ตัวภาพเคลื่อนไหวถูกคลอด้วยเพลง “ในคืนที่เราเจอะเจอกันครั้งแรก” เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษ ตลอดเวลา
ถ้ามันเป็นตัวอย่างหนังอย่างที่เข้าใจในตอนแรก นี่ก็เป็นตัวอย่างหนังที่อืด เอื่อย น่ารำคาญมาก จนเกิดความรู้สึกเบื่อๆ เอียนๆ แต่พอความยาวของมันเกินเลยมาตรฐานของหนังตัวอย่างไปไกล จึงเริ่มเอะใจว่า เอ๊ะ! หรือนี่มันเป็นมิวสิควิดีโอวะ? แล้วก็พบว่าใช่จริงๆ เพราะมันเป็นการคัฟเวอร์เพลง “ในคืนที่เราเจอะเจอกันครั้งแรก” โดย “วิน Sqweez Animal” และวง “กระทิงดำ” ในโปรเจ็กท์ BOYd50th
MV ตัวนี้มีชื่อว่า “The Lost Hour” พูดถึงความสัมพันธ์ของหนุ่มสาวชาวไทยคู่หนึ่ง ณ ช่วงเวลาที่หายไป เมื่อสหรัฐอเมริกาปรับเวลาย้อนกลับหลัง 1 ชั่วโมง ช่วงเดือนพฤศจิกายน เป็นผลงานการกำกับของ “นัฐวุฒิ พูนพิริยะ” โดยส่วนตัวรู้สึกว่า ถ้ามองในฐานะ MV เรื่องราวของมันก็ยังโหวงๆ ขาดๆ ยังไงชอบกล ถ้ามองในฐานะภาพเคลื่อนไหวที่อยู่ท่ามกลางหนังตัวอย่าง/หนังโฆษณาจำนวนมาก ก่อนจะชมหนังยาวในโรงภาพยนตร์ ผมก็คิดว่ามันกินเวลาคนดูเยอะเกินไป แต่นี่ก็ถือเป็นปรากฏการณ์น่าสนใจ ที่มีการนำมิวสิควิดีโอมาฉายโชว์ในโรงภาพยนตร์ก่อนหน้าหนังยาว ดูหนัง 4k
เอาล่ะที่นี้มาพูดถึง “Sad Beauty เพื่อนฉัน ฝันสลาย” กันดีกว่า ในฐานะที่ยังไม่ได้ดู “นางฟ้า” เท่าที่ดูจาก “Sad Beauty” พบว่าตั๊กเป็นคนมี “เรื่อง” จะเล่า แล้วก็สามารถเล่ามันออกมาได้อย่างเป็นเรื่องเป็นราว สนุกสนาน น่าติดตาม ชวบขบคิด (แม้คุณภาพอาจมีตกๆ หล่นๆ แหว่งๆ พร่องๆ ไปบ้าง ตามรายทาง) ในแง่นี้ ตั๊กจึงเป็น “คนบันเทิง” ที่เติบโตมาทีละขั้น จากเด็กสาวอายุ 15 ที่ได้เล่นหนังประวัติศาสตร์ชาตินิยมรายได้เกินร้อยล้านบาท มาสู่ชีวิตนางเอกที่ระหกระเหิน ดีบ้าง แย่บ้าง แล้วกลายเป็นภรรยามหาเศรษฐี และเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ (ไม่ใช่ผู้สร้างละคร ดังที่ -อดีต- นักแสดงหญิงหลายคนนิยมเป็นกัน)

รีวิวหนัง SAD BEAUTY เพื่อนฉัน…ฝันสลาย

มีดาราหญิงน้อยคนนัก ซึ่งจะเลือก/สามารถเดินบนเส้นทางเช่นนี้ ชอบที่เห็นชื่อ “บุญชัย เบญจรงคกุล” เป็นหนึ่งในทีม production designer ของหนังเรื่องนี้ (นอกจากจะเป็น executive producer) ไม่แน่ใจว่าจริงๆ แล้ว แกมีส่วนร่วมทำอะไรบ้างในหน้าที่ดังกล่าว?ชอบการหวนคืนจอภาพยนตร์ไทยอีกครั้งของ “ฟลอเรนซ์ วนิดา เฟเวอร์”ตามรสนิยมส่วนตัวของผม (ซึ่งไม่ค่อยอินกับพวกนางเอกละครทีวี/ซีรีส์ยุคปัจจุบัน หรือ BNK48 กระทั่งวี วิโอเลต ที่เห็นคนใกล้ตัวชื่นชอบด้วยอารมณ์อู้หู! กันเยอะ ผมก็เฉยเอามากๆ) ฟลอเรนซ์เป็นคน “สวย” ตามบรรทัดฐานในยุคสมัยหนึ่ง ที่พวกซูเปอร์โมเดลเคยโด่งดังและป๊อปมากกว่าตอนนี้อีกส่วนหนึ่ง คงเพราะผมกับเธอถือเป็นคนเจนเดียวกัน (ฟลอเรนซ์อายุอ่อนกว่าสองปี)ในหนังเรื่องนี้ ถึงแม้ฟลอเรนซ์จะรับบทเป็น “โย” ดาราปากร้าย นิสัยไม่ดี ประสาทเสีย เล่นยา แถมยังต้องระเหเร่ร่อนตกระกำลำบากมากมาย แต่ในแง่รูปลักษณ์ ทั้งหน้าตาและรูปร่าง เธอยังมีเสน่ห์อยู่มากๆ เลย
สำหรับ “พิม” แม้ตั๊กจะให้สัมภาษณ์ว่าตัวละครรายนี้มีที่มาจากเพื่อนสนิทของเธอที่เสียชีวิตไปตอนอายุ 20 ต้นๆ แต่ผมรู้สึกว่า “พิม” มีบุคลิกลักษณะบางอย่างที่พ้องกับเอกลักษณ์ของตั๊ก เช่น การพูดจา (พูดอะไรตรงๆ ขวานผ่าซาก ด้วยภาษาเชยๆ นิดนึง เช่น ตาเราเป็นอย่างงี้ แกว่าเรายัง “สมควร” ขับรถอีกเหรอวะ?)
ชอบการเล่นกับแสงสีขาวๆ เจิดจ้า ชวนแสบตา ในชีวิตมายาของโยอีกจุดที่น่าสนใจ คือ คนทำแตะประเด็นเรื่องการเล่นยาของโยได้เบามือดี โยอาจเล่นยา โยอาจเป็นผู้หญิงเริงราตรี โยอาจมีอาการประสาทหลอนเป็นครั้งคราวแต่ถ้าจะมีส่วนที่ย่ำแย่หนักหนาสาหัสในชีวิตเธอ มันกลับไม่ได้แย่เพราะการเสพยา (ที่แทบจะกลายเป็นวิถีชีวิตสามัญปกติไปแล้ว) มันแย่เพราะอะไรอย่างอื่นมากกว่า ชอบโมเมนต์สวดมนต์ทั้งสองหนของพิม
คือ การสวดมนต์ก่อนจะไปท่องราตรี หลังตรวจพบมะเร็ง และการสวดมนต์หลังเห็นพลุ (ฉลองปีใหม่?) มันดูเป็นความพยายามจะฉายให้เห็นภาวะขัดแย้ง (โศกเศร้ากับสนุก/ปลดปล่อยระบายความทุกข์ และเฉลิมฉลองกับร่วงโรย) อย่างทื่อๆ ซื่อๆ ตรงๆ ดี
แล้วก็ชอบตอนที่พิมแต่งชุดนักศึกษารำไทยอยู่ในห้องพัก โดยมีโยนอนอยู่บนเตียง เข้าใจว่าฟังก์ชั่นของฉากนี้ คงคล้ายๆ กับฉากสวดมนต์นั่นแหละ (ประมาณว่า โดยพื้นฐาน พิมเป็นกุลสตรี เด็กดี เด็กเรียบร้อยนะ แต่อีกด้าน เธอก็มีภาวะกร้านโลก ทั้งจากการคบหากับโยและจากชีวิตครอบครัวของเธอเอง) แต่ระหว่างดูก็ไม่แน่ใจว่าจำเป็นแค่ไหนที่จะต้องใส่อะไรแบบนี้เข้ามาในหนัง แม้ผมจะสนุกและขำขันกับมันก็ตามที 55
ที่สำคัญ หลังจากนั้น เราก็ไม่เห็นพิมรำหรือแสดงความข้องเกี่ยวกับนาฏศิลป์ไทยอีกเลย 555 ชอบฉากฆาตกรรมด้วยมีดมากๆ มันมีลักษณะของความเป็นหนังสั้น หนังอินดี้ทุนน้อย ดิบๆ ง่ายๆ แต่ก็ยิ่งขับเน้นให้เห็นภาวะหวั่นไหว ประสาทแดก บ้าบอ จัดการปัญหาไม่ได้ ของตัวละครนำสองคนได้ดี (ทีแรกแอบจินตนาการเพ้อๆ ว่าอาจจะมีโมเมนต์แบบแทงไม่เข้า เพราะคนโดนแทงมีรอยสักที่ถูกโคลสอัพอยู่บ่อยๆ 555) ชอบการใส่เพลง “คนขี้เหงา” เข้ามาในช่วงโร้ดมูฟวี่กลางหนัง ระหว่างดูถึงตอนนี้ ก็เริ่มเคลิ้มๆ และนึกถึงคลิปล่าสุดของ “ดึกดำบรรพ์ บอยแบนด์” ที่เอาเพลงดังกล่าวมาทำใหม่พอดี
ขณะกำลังฮัม “Lonely, Mr.Lonely” อยู่ในใจ จู่ๆ ยัยเด็กสองคนในหนังมันก็ดันลงความเห็นพร้อมกันว่าเพลงนี้มันเศร้าไม่เวิร์กว่ะ เลยกด eject เทปคาสเส็ตจากเครื่องเล่นซะงั้น (รถมันยังมีเครื่องเล่นเทปอยู่!) แล้วหันไปเปิดวิทยุเจอเพลง “ขาหมู” ซึ่งสองคนนี้มันก็แหกปากร้องตาม ชื่นมื่น ชอบใจ กันยกใหญ่
ดีที่ผมเองก็ชอบเพลงนี้ของ “แทตทู คัลเลอร์” อยู่เหมือนกัน แน่นอน ชอบ “ฉากทำลายศพ” ในหนังเรื่องนี้มากๆ และเห็นว่ามันเป็นหนึ่งในสิ่งที่แปลกใหม่-น่าตื่นตาของวงการหนังไทยปีนี้เลยด้วยซ้ำ ช่วงกลางเรื่อง บางคนอาจรู้สึกว่าค่อนข้างเตลิดไปไกล แต่ผมกลับชอบประเด็นหลักที่มันพาคนดูไปเจอนะ นั่นคือสภาวะของความสับสน งงงวย ในทางจริยธรรม ซึ่งเอาเข้าจริงๆ มันอาจเป็น “คนละเรื่องเดียวกัน” กับ “ฝันร้าย/ความผิดบาป” ที่คงหลอนคนชั้นกลางกรุงเทพฯ (จำนวนหนึ่ง) อยู่พอสมควร ในช่วงเกือบๆ ทศวรรษที่ผ่านมา
ฝันร้ายที่ว่า “คุณทั้ง (ร่วม) ฆ่าคน คุณทั้ง (ร่วม) ทำลายศพ คุณทั้งพยายามจะลบลืมเรื่องราว สุดท้าย คุณจะดีลกับมันยังไงวะ?” (ไม่ว่าการฆ่าจะมีชอบธรรมแค่ไหน? และสมเหตุผลเพียงใด? ก็ตาม)
เมื่อเหตุการณ์สุดสยองพ้นผ่านไปแล้ว เมื่อมิตรภาพถูกทดสอบ (มีเหินห่าง มีคืนดี) เสร็จเรียบร้อย เมื่อต่างคนต่างต้องไปเผชิญหน้ากับบททดสอบอื่นๆ ในชีวิตของตัวเอง (พยายามคืนวงการบันเทิงและมีรักใหม่ หรือพยายามรักษาตัวจากโรคร้าย)
แต่บางคนดันสลัด “อดีตบาดแผล” ตรงจุดนั้นได้ไม่หลุด น่าสนใจมากว่าคนสลัดไม่หลุดดันเป็นนางเอกเหลวแหลกเลอะเทอะ (ผู้ไม่ได้เป็นมือฆ่า/มือทำลายหลักฐาน – เป็นแค่ผู้ร่วมกระทำผิด) อย่างโย ขณะที่คนป่วย/คนเพิ่งมีบาดแผลทางครอบครัวอย่างพิม กลับไม่ค่อยรู้สึกรู้สาหรือหวนรำลึกถึงเรื่องโหดร้ายดังกล่าวสักเท่าไหร่
อีกอย่างที่น่าดีใจ คือ นี่เป็นหนังของผู้กำกับหญิง ที่เดินเรื่องด้วยตัวละครนำหญิงสองคน ส่วนตัวละครผู้ชายที่พอจะโดดเด่นอยู่บ้าง ล้วนมีสถานะเป็นเพียงส่วนเกิน/ส่วนเติมเต็มบางอย่าง บ้างก็ดำรงอยู่เพื่อจะถูกทำลายล้าง, บ้างก็ดำรงอยู่เพื่อช่วยทำลายหลักฐาน/ลบล้างความผิด (ทีแรกนึกว่า “น้าแดง” จะมีบทบาทมากกว่านั้น จากสายตาที่มองโย) หรือบ้างก็ดำรงอยู่เพื่อเป็นคู่นอนของผู้หญิงเซเลบ (แถมดันเป็นผู้ชายใจเสาะกลัวโรงพยาบาลอีกต่างหาก) ไม่แน่ใจว่าตัวเองชอบช่วงท้ายๆ/ตอนจบของหนังหรือไม่ คือ รู้สึกว่ามันถูกครุ่นคิด ถูกออกแบบ มาดีและซับซ้อนพอสมควร (ตามความเห็นส่วนตัว อย่างน้อย ซีนปิดฉากก็คมคายอยู่นะ)