รีวิวหนังไทย The Cave นางนอน
สร้างจากเหตุการณ์จริง “ภารกิจถ้ำหลวง” บอกเล่าเรื่องราวที่ไม่เคยเผยแพร่ที่ไหนมาก่อนผ่านมุมมองของอาสาสมัครที่ต้องเผชิญหน้ากับความเป็นความตายของหมูป่าทั้งสิบสามคน รีวิวหนัง The Cave นางนอน ความเสียสละและความมุ่งมั่นของพวกเขา เพียงเพื่อช่วยเหลือทั้ง 13 คนให้รอดปลอดภัยไม่ว่าจะอันตรายเพียงใดก็ตาม
รีวิวหนังไทย The Cave นางนอน
ปรากฏการณ์ระดับโลกที่เกิดขึ้นในไทยเมื่อปีที่แล้วในนาม ภารกิจช่วยทีมหมูป่าอะคาเดมี 13 ชีวิต ณ ถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน ได้รับการถ่ายทอดออกมาเป็นสื่อภาพเคลื่อนไหวหลายต่อหลายชิ้น รีวิวหนังไทย ทั้งรูปแบบสารคดี ที่ทั้งช่องโทรทัศน์ทั้งไทยทั้งเทศต่างแย่งกันนำเสนอ ตลอดจนฉบับภาพยนตร์บันเทิง (Fiction Film) ที่ค่ายต่าง ๆ รุมล้อมแย่งกันซื้อสิทธิ์ถ่ายทำจนในที่สุดก็มี 2 ค่ายสำคัญที่จะสร้างหนังจากเหตุการณ์ดังกล่าว คือมินิซีรีส์โดยเน็ตฟลิกซ์ที่เป็นเจ้าใหญ่ที่ดีลผ่านทางรัฐบาลไทย และอีกฉบับคือหนังยาวฉบับของผู้กำกับลูกครึ่งไทย-ไอริช นาม ทอม วอลเลอร์ (Tom Waller) ผู้เคยทำหนังอย่าง ศพไม่เงียบ Mindfulness and Murderer (2011) และ เพชฌฆาต The Last Executioner (2014) ไปล่ารางวัลมาหลายเวทีในระดับนานาชาติ ก็ล้วนถูกจับตามองไม่แพ้กัน ด้วยความเป็นหนังที่ลงมือถ่ายทำฉับไวจากการเก็บเรื่องราวโดย แคทรินา กรอส (Katrina Grose) กับ ดอน ลินเดอร์ (Don Linder) สองนักเขียนบทที่เคยร่วมงานกับวอลเลอร์ในเพชฌฆาตมาแล้ว และหนังเรื่องนี้ก็จะออกฉายแซงหน้าฉบับของเน็ตฟลิกซ์เป็นเจ้าแรกของโลกด้วย
ซึ่งการทำงานเก็บข้อมูลของทีมสร้างนั้นก็ถือว่ารอบด้านหลากหลายมุมทีเดียว ทั้งมุมข้าราชการไทย มุมชาวต่างชาติที่พยายามเข้ามาช่วย ชาวบ้านที่ยอมเสียสละที่นาให้น้ำขัง ตลอดจนคนไทยที่เดินทางมาแสนไกลเพื่อช่วยเหลือแม้โดนกีดกันก็ตาม น่าเสียดายเพียงว่าด้วยตัวเรื่องที่มีรายละเอียดบุคคลและเหตุการณ์เยอะมาก ๆ ดูหนัง หนังจึงได้แต่จับนิดดึงหน่อยมาประกอบ ๆ เพื่อเล่า และทำให้สัดส่วนของแง่ลึกของตัวละครนำทั้งนักประดาน้ำที่เข้าไปช่วย หรือเหล่าเด็ก ๆ ที่ติดในถ้ำหลวงนั้น ออกจะผิวเผินไปสักหน่อย ยากที่จะทำให้คนดูอินเอาใจช่วยได้ และเหตุการณ์จุดเปลี่ยนสำคัญอย่างกรณีจ่าแซมก็ไม่คุ้มแก่เวลาที่เล่าเลยเพราะทำคนดูรู้สึกน้อยมาก จริง ๆ มันก็ลำบากกับการเล่าเรื่องที่คนดูรู้ดีอยู่แล้วทั้งอารมณ์ร่วมและรายละเอียดรายวันในช่วงเหตุการณ์จริงก่อนหน้านี้ แต่หนังมีเวลาจำกัดและผู้สร้างก็เลือกตัดตอนมาเล่าได้ไม่ดีพอเลยยิ่งไปกันใหญ่
ปัญหาใหญ่ของหนังที่ต้องพูดถึงอีกอย่างคือ แม้จะได้ตัวจริงเสียงจริงหลากหลายคนมาร่วมแสดงทั้ง จิม วอร์นีย์ (Jim Warny) ซึ่งเป็นนักดำน้ำชาวเบลเยียม เอริก บราวน์ (Erik Brown) ครูสอนดำน้ำชาวแคนาดา ถันเซี่ยวหลง (Tan Xiaolong) ครูสอนดำน้ำในถ้ำชาวจีน มิกโก พาซี (Mikko Paasi) นักดำน้ำชาวฟินแลนด์ และ นภดล นิยมค้า ผู้ใหญ่บ้านเจ้าของเครื่องสูบน้ำพญานาคจากจังหวัดเพชรบุรี ที่ร่วมปฏิบัติการจริงมาแสดงเป็นตัวเอง และได้ แม่ครูจำปา แสนพรม จากกลุ่มสืบสานศิลปวัฒนธรรมล้านนาตัวจริงมาร่วมถ่ายทอดจิตวิญญาณชาวเจียงฮายในฐานะชาวบ้านที่ยอมสละที่นาให้ระบายน้ำจากถ้ำ ในด้านดีคือเราได้สัมผัสฮีโรตัวจริงมาปรากฏบนแผ่นฟิล์มทำให้คนที่รู้จักเรื่องราวดีติดตามใกล้ชิดรู้สึกถึงความสมจริง แต่ในแง่ร้ายของดาบสองคมนี้กลับเด่นชัดกว่าเพราะเมื่อไม่ใช้นักแสดงอาชีพมาเล่น ก็ต้องยอมรับในขีดจำกัดการสื่อสารของตัวละครว่าคงจะเล่นอารมณ์ให้เข้าถึงหัวใจคนดูได้ยาก แน่นอนมีบางคนสอบผ่าน บางคนพอถูไถ และบางคนไม่อาจเล่นได้เลย แต่ทีมสร้างก็ดันทุรังผลักบุคคลตัวจริงเหล่านี้ให้ยิ่งมีบทเด่นบทนำเข้าไปอีก ทำให้กระแสการเล่าเรื่องที่เบาบางอยุ่แล้วยิ่งจืดจางทางอารมณ์เข้าไปอีกอย่างน่าเสียดาย
(ซ้าย) มิกโก พาซี (ขวา) จิม วอร์นีย์ ตัวจริงเสียงจริงร่วมแสดงเป็นตัวเอง ดูหนังออนไลน์
ด้านนักแสดงมืออาชีพชาวไทยก็มาร่วมโชว์ฝีไม้ลายมือกันทั้งรุ่นเล็กรุ่นใหญ่อย่าง เบสต์ เอกวัฒน์ นิวัฒน์วรปัญญา ในบทสำคัญ โค้ชเอก ก็ถือว่าพอมีฉากให้โชว์นิดหน่อย แต่อย่างว่าเพราะหนังไม่ได้เปิดโอกาสให้บทนี้จริงจังก็เลยจบไปแค่นั้น ส่วนดาราที่ไม่รู้เชิญมาทำร้ายทำไมนั้นก็คงต้องยกให้ นิรุตติ์ ศิริจรรยา ที่มีฉากปรากฏตัวอยู่ 2-3 วินาที ในบทข้าราชการชั้นผู้ใหญ่สักคนที่เข้าพื้นที่ในวันแรก ๆ ซึ่งหลังจากนั้นหนังก็ไม่กล่าวถึงอีกเลย เรียกว่าเสียของสุด ๆ พอมองในแง่นักแสดงแบบนี้ก็ต้องบอกว่าผู้กำกับเลือกแนวทางสายสารคดีมาผสมแนวเรื่องแต่ง แต่ก็กลับถูกวิสัยทัศน์ตัวเองทำลายงานตัวเองเสียฉิบ อาจเพราะชั่งจุดดีจุดเสียของการใช้ดาบสองคมนี้ไม่ขาดด้วย
สิ่งที่น่าชื่นชมสำหรับหนังเรื่องนี้ก็มีหลายส่วนเช่นกัน ทั้งการถ่ายภาพที่สมจริงแบบแฮนด์เฮลด์ราวหนังสารคดี ดั่งผู้ชมได้เข้าไปยืนไปคลุกวงในภารกิจอย่างใกล้ชิด มีการดีไซน์มุมกล้องที่น่าสนใจหลายครั้งและเหมาะสมกับฉากที่นำเสนอทั้งฉากการดำน้ำ ฉากเปลลำเลียงที่ถูกส่งออกไป และฉากโดรนต่าง ๆ ที่สวยงามแปลกตามาก ด้านเพลงเองก็มีการใช้แนวดนตรีไทยประยุกต์ได้อย่างหวนให้เข้าบรรยากาศแห่งการโดดเดี่ยวและถูกทอดทิ้ง เรียกว่าเพลงไทยขึ้นมาทีไรเป็นได้เด่นเข้าหูเสียทุกครั้งทีเดียว
และไม้เด็ดที่หนังทำออกมาได้เกือบดีมาก ๆ คือการแอบไปเสียดสีระบบราชการไทยที่ทุกคนรู้ดีทั้งขั้นตอนซับซ้อนเชื่องช้า ลำดับการให้ความสำคัญที่ดูไม่เข้าท่าไร้เหตุผลอยู่พอสมควร ประเด็นนี้หนังเอามาขยี้หลายครั้งทั้งผ่านสายตาอาสาสมัครชาวไทยเองและต่างชาติด้วย (ลองดูในคลิปด้านล่างนี้นะ) โดยเฉพาะฉากของลุงนายกนี่ไม่รู้ว่าจงใจขนาดไหนแต่ดูจะมีอิมแพกต์ต่อคนดูได้มากทีเดียวทั้งผู้ชมชาวไทยและต่างชาติที่มาดูรอบสื่อ ไม่น่าเชื่อว่าลุงตู่ของเราเป็นคาแรกเตอร์ที่สื่อสารได้ในระดับสากลทีเดียว เป็นฉากที่น่าจดจำมากที่สุดฉากหนึ่งในหนังเลยล่ะ มาดูฉากนี้ฉากเดียวก็คุ้มนะ 555
หนังว่าด้วยเหตุการณ์ที่ระทึกกึกก้องไปทั่วโลกนั่นก็คื่อเหตุการณ์ 13 หมูป่าที่ติดในถ้ำ ณ จังหวัดเชียงรายพร้อมการเผยเบื้องลึกของเหตุการณ์ที่คุณไม่เคยเห็นมาก่อนในภารกิจช่วยหมูป่าทั้ง 13
ความรู้สึกหลังรับชม
“ไม่อิน ง่วง อยากหลับ” ขอพูดในจุดที่ชอบก่อนละกันนะครับ
หนังแซะคนไทยและสังคมไทยในมุมมองของฝรั่งออกมาได้อย่างดีเลยทีเดียวดูไปแอบมีความละอายใจอย่างมาก ทั้งระบบราชการที่ทั้งที่เราจะเข้าไปช่วยคนก็ยังยุ่งยาก ความเป็นไทยทางด้านความเชื่อหรือการใช้สถานที่เกิดเหตุการณ์เพื่อทำมาหากินโดยไม่สนเหตุการณ์รอบข้างและก็นายกที่…(เอ่อ..ไม่พูดดีกว่าแต่บอกเลยว่าฉากนั้นฮามาก)
นักแสดงตัวประกอบน่าชื่นชมมาก เล่นออกมาแล้วดูธรรมชาติไม่มีความเฟคใดๆทั้งสิ้นและก็คนที่เล่นเป็นนายกของเรานั้นผมขอชมเป็นพิเศษครับ เพราะว่าเล่นได้เหมือนมาก ทั้งน้ำเสียงทั้งคำพูดต่างๆ เหมือนจนคิดว่าเอาตัวจริงมาเล่นเลยทีเดียว
มาถึงจุดที่ไม่ชอบบ้าง
ค่อนข้างจะเยอะเลยทีเดียวครับ เริ่มกันที่เรื่องแรกเลยคือ การดำเนินเรื่องของหนังที่ช้าและค่อนข้างจะเนือยทั้งเรื่องจนดูไปต้องมีอารมณ์ง่วง ช่วงแรกยังพอไหวแต่หลังจากนั้นผมเริ่มไม่ไหวเลยทีเดียววูบๆเป็นช่วงๆเลย แต่ก็ยังไม่ถึงขั้นหลับนะครับยังทนได้แต่ถามว่าระหว่างนั้นเอนจอยกับหนังไหม? ก็ขอตอบว่าไม่เลยแม้แต่นิดเดียวในหัวมีแต่คำว่า “เมื่อไหร่จะจบๆ” วนมาทุกๆ 2-5 นาที สารภาพว่าอยากออกโรงในชนิดที่ว่าพอหนังขึ้นจอดำแล้วเดินออกเลยไม่ดูเครดิตแล้ว…
ผมไม่อินกับทุกอย่างที่หนังเล่ามาแม้แต่นิดเดียว ตรงส่วนนี้อาจเป็นเพราะช่วงเป็นข่าวผมไม่ได้ติดตามอย่างใกล้ชิดและเอาใจช่วยขนาดนั้น แต่ถ้าเอาตามความคิดผมนะ…หนังที่ดีแม้จะไม่ได้ติดตามเหตุการณ์มาตั้งแต่แรกก็ต้องทำให้คนดูอินและคล้อยตามไปได้สิครับแต่เรื่องนี้กลับทำไม่สำเร็จน่ะสิ(ส่วนตัวผมอะนะ…บางคนอาจอินก็ได้..มั้ง?) ดูหนัง 4k
เรื่องงานสร้างการหาโลเคชั่นและองค์ประกอบในแต่ละฉากค่อนข้างจะทำออกมาได้ดีและสมจริงนะ แต่การถ่ายทำนี่… กล้องมึนมาก หมุนไปหมุนมา ซูมเข้าซูมออกซะบางทีแอบมึนหัวและรำคาญ
รู้สึกเหมือนตัวหนังเองไม่มีจุดที่เป็นแกนหลักในการเดินเรื่องเลยว่าจะโฟกัสที่อะไร แต่ถ้าให้ลองคิดดูจริงๆแล้วอาจเป็นเรื่องเกี่ยวกับภารกิจการช่วยเหลือเด็กรึเปล่า? ที่ผมไม่แน่ใจเพราะหนังแตะนู้นแตะนี่อย่างละหน่อยๆและพอออกมาเป็นภาพรวมของหนังแล้วมันดูขาดๆเกินๆ บางอย่างมีการแตะไปแต่หนังกลับไม่เล่าซึ่งไม่เข้าใจว่าจุดนี้ทำไปทำไม? ดูหนัง แตะเยอะแยะไปหมดแต่ไม่สามารถพรีเซนต์ออกมาได้หมดตรงนี้คิดว่าน่าจะเป็นเรื่องงบและเวลาของหนัง…
ความระทึกในช่วงท้ายยังทำออกมาไม่ได้สุดแอบลุ้นแต่ลุ้นแบบเล็กๆ ไม่ได้ลุ้นแบบจิกเท้าจิกมือ ซึ่งตรงนี้จะมาบอกว่าเป็นเพราะเรารู้เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นอยู่แล้วไม่ได้ เพราะถ้ามันทำดีจริงตรงนี้สามารถทำให้เราอินและลุ้นได้แม้เราจะรู้จุดจบของหนังแล้วก็ตาม ขอยกเคสอย่างหนังชีวประวัตินอกกระแสที่ฉายไปก่อนหน้านี้ไม่นานคือเรื่อง “โปรเม อัจฉริยะต้องสร้าง” เรื่องนี้ฉากไคล์แมกซ์คือเรารู้อยู่แล้วว่ายังไงคุณเมจะตีกอล์ฟชนะ แต่ผมกลับลุ้นในชนิดที่จิกเท้าจิกมือ แต่สำหรับเรื่อง “The Cave นางนอน” นั้นไม่สามารถทำให้ผมลุ้นได้เหมือนอย่างเรื่องที่ยกตัวอย่างมาเลยครับ… ดูหนังออนไลน์ 4k
หนังทอดทิ้งคนที่เป็นคนสำคัญของเหตุการณ์ค่อนข้างจะเยอะ ยกตัวอย่างเช่นผู้ว่าเชียงรายที่มีความสำคัญอย่างมากในเหตุการณ์แต่หนังกลับไม่โฟกัสเขาเลยแม้แต่นิดเดียว โผล่มากฉากเดียวเองมั้ง… ชาวบ้านยังดูมีซีนเยอะกว่าอีกมั้ง… แทนที่จะโฟกัสกับคนนี้มากๆหน่อยแต่กลับไปโฟกัสตัวละครอื่นจนผู้ว่าเชียงรายดูจางไปเลย

เป็นหนังที่ถ่ายทอดเหตุการณ์ 13 หมูป่าติดถ้ำออกมาได้ค่อนข้างสมจริงและการแซะความเป็นไทยที่ดูไปแล้วต้องแอบเจ็บแทน แต่ตัวบทหนังเองกลับยังรู้สึกไปไม่สุดและขาดๆเกินๆ
ส่วนตัวผมมองตั้งแต่แรกแล้วล่ะว่าเหตุการณ์นี้มันไม่ใช่วัตถุดิบที่ดีเลยที่จะเอาไปทำหนังแล้วมันสามารถออกมาดีได้(ถ้าจะออกมาดีได้จริงๆคือต้องเป็นผู้กำกับที่เก่งมากถึงจะทำออกมาได้ดีอะนะ) แต่มันกลับเป็นวัตถุดิบที่ดีในการเอามาทำเป็นสารคดีมากกว่าคิดว่าถ้าทางทีมผู้สร้างไปทำเป็นสารคดีผมว่ามันน่าจะดีกว่านี้ครับ
ผมเห็นตัวอย่างก็ค่อนข้างจะให้ความหวังต่ำอยู่แล้วเพราะหน้าหนังมันดูไม่ค่อยมีอะไรเลย แต่ไปดูกลับไม่ชอบมากกว่าเดิมอีก ตอนแรกว่าจะให้คะแนนน้อยกว่านี้นะเพราะไม่ชอบเอาเสียเลยแต่สงสารทีมที่ทำครับเลยพยายามเซฟคะแนนให้ ผมก็ไม่อยากตัดสินนะว่าหนังมันห่วยหรือไม่ดี เพราะแอบไปอ่านคอมเมนต์ในเพจดังๆมาเห็นคนชอบเยอะมาก…ดูผมจะเป็นส่วนน้อยอีกแล้วแฮะ… ผมว่ามันอยู่ที่ความชอบของแต่ละคนแหละนะ ผมแนะนำไปอ่านรีวิวของผู้อื่นประกอบการตัดสินใจก่อนไปดูละกันนะครับ อย่าอ่านแค่รีวิวผมแล้วมองว่าหนังไม่ดีล่ะ คนเราร้อยคนร้อยความคิดครับ
ก็พยายามอธิบายแล้วนะแต่เหมือนมีคนไม่เข้าใจ ใครดูแล้วชอบอยากมาแชร์มาแย้งตรงไหนก็เม้นต์ได้นะ ผมก็อยากรู้มุมมองด้านคนที่ชอบเหมือนกัน มาแย้งกันดีกว่ามากดสยองกระทู้ผมอะนะ อย่างน้อยก็ให้เกียรติกันสักหน่อยก็ดีนะครับ เฮ้อ…
หลังจากปฏิบัติการช่วยชีวิตทีมฟุตบอลหมูป่าอะคาเดมี 13 คน ที่ประสบภัยติดอยู่ในถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน จ. เชียงราย เมื่อเดือนมิถุนายน – กรกฎาคม 2561 ซึ่งระดมคนนับหมื่นจากทั่วโลกและเป็นที่จับตามองจากคนทั้งโลกจบไป ก็มีบริษัทภาพยนตร์ทั้งไทยและต่างชาติมากมายแสดงความสนใจว่าอยากนำเหตุการณ์ช่วยชีวิตที่เปรียบเสมือนการต่อสู้ครั้งยิ่งใหญ่ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาตินี้มาถ่ายทอดเป็นภาพยนตร์
เวลาผ่านไปราว 1 ปี มีการเริ่มฉายภาพยนตร์ The cave นางนอน โดยผู้กำกับ ทอม วอลเลอร์ ผู้กำกับภาพยนตร์ลูกครึ่งไทย-ไอริช ที่มีผลงานการกำกับภาพยนตร์ไทยเรื่อง ศพไม่เงียบ (Mindfulness and Murder) และ เพชฌฆาต (The Last Executioner) ซึ่งคว้ารางวัลในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติมาหลายรางวัล ได้รับความไว้วางใจให้มากำกับภาพยนตร์ภารกิจช่วยชีวิตซึ่งเป็นที่โจษจันในระดับโลกเรื่องนี้ ภาพยนตร์ The cave นางนอน เริ่มเข้าฉายตามเทศกาลภาพยนตร์ในประเทศต่างๆ ส่วนประเทศไทยก็เริ่มเข้าฉายเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2562the cave นางนอน
ความที่ภาพยนตร์นำเสนอเรื่องราวจากประเทศไทยที่คนไทย (และคนทั้งโลก) ให้ความสนใจอย่างใกล้ชิด ดังนั้น หลังภาพยนตร์เรื่องนี้ออกฉายจึงเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง ทั้งในแง่มุมที่ดี เช่น ในที่สุดก็มีภาพยนตร์ที่ถ่ายทอดปฏิบัติการครั้งประวัติศาสตร์นี้ไว้ และแง่มุมในอีกด้านที่เพจ facebook หรือผู้มีอิทธิพลในสื่อสังคมออนไลน์หลายคนมองว่าเป็นภาพยนตร์ที่มีเนื้อหาวิพากษ์วิจารณ์ระบบราชการไทยอย่างรุนแรง จนมีการแสดงความกังวลว่าภาพยนตร์เรื่องนี้อาจถูกห้ามฉายในประเทศไทย
ตัวผมในฐานะหนึ่งในทีมงานกองบรรณาธิการออนไลน์ของนิตยสาร เนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก ฉบับภาษาไทย ที่เคยนำเสนอเรื่องราวปฏิบัติการช่วยชีวิตครั้งนี้ลงในนิตยสารฉบับเดือนกันยายน 2561 ได้ไปชมภาพยนตร์เรื่องนี้ จึงขอนำเสนออีกมุมมองที่มีต่อภาพยนตร์เรื่องนี้ต่อผู้อ่านทุกท่าน