รีวิวหนัง MOTHER GAMER เกมเมอร์ เกมแม่
หลังจากเรารอคอยการเข้าฉายของ รีวิวหนังไทย Mother Gamer หรือ เกมเมอร์เกมแม่ กันมาตั้งแต่เดือนมีนาคมจนสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 เริ่มคลี่คลายในที่สุดวันนี้ Mother Gamer หนังที่หอบโจทย์ยากอย่างการทำหนังวัยรุ่นเกี่ยวกับกีฬาอีสปอร์ตโดยมีเกม ROV เกมโมบา (MOBA – multiplayer online battle arena ) ยอดฮิตเป็นแกนกลางของความสัมพันธ์ตัวละครที่พร้อมจะเติบโตผ่านวิวาทะทางความคิดระหว่างเด็กยุคใหม่กับผู้ใหญ่ยุคนี้ก็จะได้เข้าฉายเพื่อพิสูจน์ตัวเองในสนามโรงภาพยนตร์เสียที รีวิวหนัง MOTHER GAMER เกมเมอร์ เกมแม่
รีวิวหนัง MOTHER GAMER เกมเมอร์ เกมแม่
กล่าวอย่างสั้น ๆ หนังเล่าเรื่องความขัดแย้งระหว่าง เบญจมาศ (พิยดา อัครเศรณี) ครูคณิตศาสตร์ที่มองว่ามือถือคือศัตรูต่อการเรียน กับ โอม (ต้นหน ตันติเวชกุล) ลูกชายนักกีฬาอีสปอร์ตที่เหตุเกิดจากฝ่ายแรกไปขัดขวางความฝันของลูกชาย และเพื่อให้หนทางในสายกีฬาอีสปอร์ตต้องดับลง เบญจมาศจึงก่อปาร์ตี้ตั้งทีมอีสปอร์ตชื่อ Ohm Gaga ร่วมกับ กอบศักดิ์ (ลภัส งามเชวง) นักเรียนหลังห้องจอมเก๋าในฐานะอดีตสมาชิกของทีม Higher ที่โอมสังกัดอยู่เพื่อหวังโค่นทีมของลูกชายโดยไม่รู้เลยว่าการกระทำของเธอกำลังให้บทเรียนสำคัญในฐานะแม่และครู
เสือ ยรรยง คุรุอังกูร ยังคงทำหนังวัยรุ่นในภาษาที่เข้าใจวัยรุ่นเจนนี้อย่างแท้จริง โดยในเกมเมอร์เกมแม่ก็มี ROV ที่กำลังมาทดสอบความสัมพันธ์ของแม่กับลูกชายวัยรุ่นยุคที่การเล่นเกมกลายเป็นกีฬาที่ทำเงินได้ และการเปลี่ยนแปลงของสังคมที่เบญจมาศแม้จะเป็นแม่ที่ยังไม่ได้ชราในแง่สังขารแต่ต้องยอมรับว่าสังคมที่เด็กกล้าพูดกล้าทำและความรู้ความสามารถในเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ อย่างการเล่นเกมที่กลายเป็นอาชีพก็กลับผลักไสเธอให้กลายเป็นคนตกยุคอย่างช่วยไม่ได้
ยิ่งเรามาพิจารณาข้อมูลที่หนังให้เราเกี่ยวกับตัวเบญจมาศต้้งแต่ต้นเรื่องที่หนังแสดงให้เห็นว่าเธอเข้มงวดกับลูกเพียงใดในยุคที่การศึกษานอกจากคะแนนสอบยังมีคะแนนนอกระบบที่วัดตามค่าเงินบาทที่ผู้ปกครองจะยอมแลกกับโอกาสของลูกแล้วก็ยิ่งทำให้เห็นว่าในเกมที่อำนาจอยู่ที่ผู้ใหญ่เธอสอนโอมให้เล่นตามกติกาที่ไม่แฟร์กับเขามาทั้งชีวิตเพื่อหวังให้โอมเดินในเส้นทางสู่ความสำเร็จตามอุดมคติการศึกษาสร้างอนาคต
แต่แล้วปัจจุบันในเวลาของโอมก๋็กลายเป็นอนาคตที่เบญจมาศไม่เข้าใจทันทีเมื่อกีฬาอีสปอร์ตได้กลายเป็นเส้นทางที่ลูกเลือกเป๋็นอาชีพ โดยคนเป็นแม่ในฐานะครูในระบบการศึกษาไทยได้แต่ต่อต้านการเล่นเกมของนักเรียนจนถึงขั้นออกแคมเปญห้องเรียนปลอดมือถือเพื่อหวังอัปเงินเดือนด้วยผลงานเสริมหลักสูตรในเกมที่ผู้ชี้ถูกผิดคือผู้มีอำนาจในองค์กรนั้น ๆ แต่สำหรับในเกมที่เธอหวังจะชนะโอม เบญจมาศกลับเลือกทางลัดด้วย “ข้อตกลงแบบไทย ๆ ” กับกอบศักดิ์ให้ตั้งทีมกีฬาอีสปอร์ตแลกกับการช่วยให้จบ ม.6 หลังถูกยื่นคำขาดจากทีม Higher ให้จ่ายค่าเสียหายหลักแสนหากต้องการให้โอมออกจากทีม
ดังนั้นเมื่อกติกาของโลกผู้ใหญ่ไม่อาจเปลี่ยนใจโอมได้ เบญจมาศจึงจำใจต้องลงสนามในเกมของเด็กยุคนี้ ซึ่ง ณ. จุดนี้เองที่หนังเริ่มให้เบญจมาศกลายเป็นตัวแทนผู้ใหญ่ที่หนังพาคนดูในฝั่งคนไม่เล่นเกมได้เกาะไปทำความเข้าใจกับทั้งเกม ROV ที่มีศัพท์แสงสุดบรรเจิดมากมายและพาไปรู้จักกับกีฬาอีสปอร์ตว่ามันมีการแข่งขันจริงจังแค่ไหน ซึ่งถือเป็นการเปิดโลกของผู้ชมในวงกว้างได้อย่างชาญฉลาดยิ่งเพราะผู้กำกับใช้บริบทในหนังมาบอกเล่ามันโดยอิงเกม ROV ตั้งแต่ฉากกอบศักดิ์เล่นเกมในห้องเรียนวิชาสังคมไปจนถึงบทเรียน ROV 101 ที่เบญจมาศได้กลายสถานะเป๋็นนักเรียนบ้าง
กล่าวมาถึงตรงนี้คงชัดเจนแล้วว่าตัวละครเบญจมาศคือตัวแบกหนังทั้งเรื่องอย่างแท้จริงและถือเป็นโชคดีของผู้กำกับ (และคนดู) ที่มันได้ อ้อม พิยดา อัครเศรณี นางเอกยุค 90s ที่มารับบทแม่และครูอย่างเบญจมาศ เพราะเธอสามารถทำให้คนดูเชื่อว่าทุกการกระทำที่ผิดพลาดไม่ว่าจะเป็นการไม่ยอมเซ็นเอกสารให้โอมไปเข้าทีม Higher หรือการหลอกใช้เด็กตั้งทีมมาโค่นทีมลูกชายล้วนนำเสนอด้านที่ไม่สมบูรณ์แบบของตัวละครที่ดูมีเลือดเนื้อจิตใจจนคนดูสัมผัสได้
และทีละน้อยนอกจากดรามาของแม่ที่การตัดสินใจไม่ได้ถูกต้อง 100% หนังยังพาให้เบญจมาศค่อย ๆ เข้าสู่โลกแห่ง ROV ด้วยอุปสรรคในการทำทีมที่มีทั้งการซื้อตัวผู้เล่นหรือแม้แต่ความกากในการเล่นเกมของเธอเองก็เริ่มทำให้เริ่มตาสว่างว่าแม้แต่คนเป็นครูก็ไม่ได้เก่งไปเสียทุกเรื่อง เชื่อว่าคนดูจะต้องลุ้นระทึกและหลงรักอ้อม พิยดากับซีนแอบเล่น ROV ในห้องส้วมบนรถโดยสารคณะครูที่หนังทำออกมาน่ารักทีเดียว ดูหนัง
และในขณะเดียวกันแม้หนังจะมีแกนกลางที่ความขัดแย้งระหว่างแม่ลูกแต่หนังก็สร้างตัวละครอย่างกอบศักดิ์ที่เป็นตัวแทนนักเรียนหลังห้องสุดเก๋าที่เกรดของวิชาในระบบการศึกษาอาจทำให้เขาถูกมองว่าเป็นคนโง่แต่ในโลกของเกมกอบศักดิ์คือฮีโร แต่ลึก ๆ แล้วมันก็สะท้อนภาพของวัยรุ่นในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อได้เห็นภาพเพราะแม้เกรดในสมุดพกจะต่ำเตี้ยแค่ไหนการที่กอบศักดิ์มาเจอครูเบญจมาศก็นับว่าเป็นโชคดีของทั้งคู่เพราะในขณะที่กอบศักดิ์ขาดผู้ใหญ่มามองเห็นคุณค่าของเขาในฐานะเกมเมอร์ ด้านครูเบญจมาศเองก็ขาดคนช่วยลดช่องว่างระหว่างใจระหว่างผู้ใหญ่กับเด็กอยู่ด้วยเหมือนกัน ดูหนังออนไลน์
ดังนั้นภาพที่ครูเบญจมาศต้องถูกบังคับให้มาเล่น ROV ร่วมกับบรรดาลูกทีม Ohm Gaga เลยแปรเปลี่ยนจากการพยายามเอาชนะลูกชายมาเป็นการเปิดใจยอมรับเส้นทางใหม่ ๆ ของเยาวชนชาวเกมเมอร์ และ ROV ยังสามารถผสานความรู้เดิมอย่างคณิตศาสตร์มาปรับใช้กับการวางแผนได้ดีทีเดียว และแม้ว่าหนังเรื่องเดียวจะไม่ได้ทำให้ภาพของเด็กติดเกมดีขึ้นแต่เชื่อว่าตัวหนังมันได้เสนอทางเลือกของการเล่นเกมอย่างฉลาดเอาไว้แล้วเหมือนการใช้ชีวิตที่ฉลาดที่ทั้งกอบศักดิ์และครูเบญจมาศได้เรียนรู้มันร่วมกัน
แต่กระนั้นบทหนังเองก็ยอมแลกดรามาและความสัมพันธ์แม่ลูกที่ค่อย ๆ หายไปหลังโอมกับเบญจมาศเริ่มมีปัญหากันเพื่อเทเวลาแทบทั้งหมดไปกับการเรียนรู้ของเบญจมาศในโลกของ ROV ซึ่งในด้านหนึ่งมันก็ทำให้พัฒนาการด้านความสัมพันธ์แม่ลูกในตอนท้ายไม่หนักแน่นเท่าที่ึควรแต่มันกลับส่งผลต่อฉากการฝึกเล่น ROVแต่ละฉากที่ผู้กำกับดีไซน์ช่วยให้คนดูเข้าใจตัวเกมและวงการอีสปอร์ตในเบื้องต้นได้ดีมากเรียกได้ยอมเจ็บกับการสูญเสียการเล่าดรามาไปกับสีสันอันฉูดฉาดของวงการเกมแทน แม้จะทำให้หนังไม่ลงตัวเท่าที่ควรก็ตาม
สรุปผลรางวัล ‘ลูกโลกทองคำ 2022’ ‘โอ ยองซู’ จาก ‘Squid Game’ ผงาดคว้าสมทบชาย
ทิ้งท้ายขอพูดถึงเหล่าบรรดานักแสดงวัยรุ่นกันบ้าง เติร์ด ลภัส งามเชวง มีเสน่ห์ในแบบแบดบอยมาก ๆ ในบทของกอบศักดิ์ดูแล้วเชื่อได้เลยว่าจะเป็นคนพาเบญจมาศสู่โลกของเกมเมอร์เหมือนมอร์เฟียสฉบับกวน ๆ ที่จะพานีโอตื่นจาก The Matrix ยังไงยังงั้น ส่วน ต้นหน ตันติเวชกุล นี่เสียดายมากเพราะดรามjาช่วงท้ายของหนังเขาทำได้ดีมากแต่ด้วยช่วงเวลาที่หนังให้เขาถือว่าน้อยเกินไปจริง ๆ ส่วน วี วีรยา จาง ในบทมะปรางแม้จะให้ความสดใสกับหนังแต่บทของเธอแทบไม่มีผลอะไรกับเรื่องนอกจากเพิ่มซีนโรแมนติกให้กับกอบศักดิ์
โดยภาพรวมแล้วขอสรุปว่า เกมเมอร์เกมแม่ อาจยังไม่ใช่หนังที่ลงตัวนักในส่วนของบทภาพยนตร์แต่งานดีไซน์แต่ละซีนของหนังน่าสนใจและน่าตื่นตาตื่นใจทีเดียวเพื่อให้คนไม่เล่น ROV อย่างผมเข้าใจในกติกาของตัวเกมและสนุกไปกับฉากแข่งขันในหนัง และยังมีการแสดงที่เชื่อมือได้ทั้งจาก อ้อม พิยดา อัครเศรณี กับ เติร์ด ลภัส งามเชวง มาทำให้หนังดูสนุกและน่าประทับใจจนอยากให้มีโอกาสที่ครอบครัวที่มีลูกเล่นเกมได้มาดูด้วยกันเพราะหนังนำเสนอวงการอีสปอร์ตได้เข้าใจง่ายและไม่มองผู้ใหญ่ในแง่ร้ายเกินไปเป็นการนำเสนอที่น่าจะกระชับพื้นที่ “ช่องว่างระหว่างใจ” ของผู้ปกครองและลูก ๆ เหล่าเกมเมอร์ได้ดีทีเดียว
ดูหนัง 4k
Mother Gamer เล่าเรื่องราวของ “เบญจมาศ” ครูคณิตศาสตร์ระเบียบจัด ผู้มีความเชื่อฝังหัวว่า การเรียนเท่านั้น ที่มีความสำคัญสูงสุดในชีวิตของเด็กๆ แถมยังต่อต้านเทคโนโลยีสมัยใหม่แบบสุดๆ เพราะมองว่าเป็นภัยคุกคามต่อการเรียนของเด็ก ซึ่ง เบญจมาศ ก็ได้ปลูกฝังความเชื่อนี้ให้กับ “โอม” ลูกชายหัวแก้วหัวแหวนคนเดียวของเธอ ทำให้ โอม เติบโตขึ้นมาพร้อมกับความคาดหวังปนกดดันอันมหาศาลจากแม่ ว่าจะต้องตั้งใจเรียนให้ได้เกรดดีๆ เพื่อปูทางไปสู่อนาคตที่ดีอย่างที่ผู้ใหญ่หลายคนเชื่อกัน
แต่ความลับที่ โอม ซ่อนเอาไว้จากแม่มาโดยตลอด นั่นคือพรสวรรค์ในการเล่นเกมระดับมืออาชีพ ที่สามารถทำเงินได้ก้อนใหญ่ตั้งแต่อายุยังน้อย ขณะที่ เบญจมาศ เห็นภาพลูกชาย เป็นนักเรียนดีเด่นสุดเนิร์ด ผู้มีผลการเรียนยอดเยี่ยมอย่างที่เธอตั้งใจให้เป็น แต่ในอีกโลกหนึ่ง เขาคือ โอม Sonic Fighter ผู้เล่น E-Sports ระดับ Pro Player ดาวรุ่งที่มาแรงที่สุดแห่งยุค
และเมื่อได้รู้ความจริงข้อนี้ เบญจมาศจึงไม่ยอมให้เกมมาขัดขวางเส้นทางสู่อนาคต ที่เธอตั้งอกตั้งใจปูเอาไว้ให้ลูกชายอย่างเด็ดขาด ซึ่งวิธีที่เธอเลือกใช้ คือการปั้นทีม E-Sports ของตัวเองขึ้นมา เพื่อเอาชนะลูกชายให้ได้บนเส้นทางสายเกมเมอร์ โดยได้รับการช่วยเหลือจาก “กอบศักดิ์” จอมเกเรประจำโรงเรียน พร้อมด้วยสมาชิกทีม ที่กอบศักดิ์คัดสรรมาเองกับมือ กลายเป็นสงครามระหว่างแม่กับลูก บนสังเวียนกีฬา E-Sports
สำหรับคอเกม โดยเฉพาะแฟนๆเกม ROV น่าจะอินกับเรื่องราวในหนังได้ไม่ยาก เพราะตลอดทั้งเรื่องเราจะได้เห็นการเล่าเรื่อง สลับการการแข่งเกมอันดุเดือด ที่ได้เหล่า Pro Player ชื่อดังในชีวิตจริง มาเป็นที่ปรึกษาด้านบท แถมยังพาเหรดกันมาร่วมแสดงสมทบกันอย่างคับคั่ง ดูหนังออนไลน์ 4k
แต่สำหรับคนไม่ได้เล่นเกมอย่างเรา กลับรู้สึกสนอกสนใจประเด็นของหนัง ที่หยิบยกเรื่องราวของ “เกม” ที่มักจะถูกมองเป็นผู้ร้ายเสมอในสายตาของผู้ใหญ่ มาบอกเล่าผ่านมุมมองของความแตกต่างระหว่างช่วงวัย สะท้อนภาพครอบครัวยุคปัจจุบัน ที่เทคโนโลยียิ่งทำให้ช่องว่างระหว่างคนเป็นพ่อแม่กับลูก ยิ่งถูกขยายกว้างมากยิ่งกว่าเดิม
ไอเดียนี้ถูกถ่ายทอดผ่านฝีมือการแสดงชั้นครูของ อ้อม พิยดา ที่แทบจะเรียกได้ว่าอุ้มหนังเรื่องนี้เอาไว้ได้อย่างอยู่หมัด เมื่อมาประกบกับนักแสดงเด็กมากประสบการณ์อย่าง ตน ต้นหน ก็แข็งแรงพอที่จะทำให้คนดูพยักหน้าตาม ไปกับเรื่องราวของสองแม่ลูกคู่นี้ได้ไม่ยาก
ขณะที่ตัวละครสำคัญอีกตัวอย่าง กอบศักดิ์ แม้จะเป็นผลงานภาพยนตร์เรื่องแรกของ เติร์ด ลภัส แห่งวง Trinity แต่ก็สวมบทบาทนักเรียนเกเรหลังห้อง ที่มีทั้งความเกรียน ความขบถ กวนประสาท และโหยหาการยอมรับ ออกมาได้ดีอย่างน่าเหลือเชื่อ
ส่วนสาว วี วีรยา จากวง BNK48 ที่เคยมีผลงานผ่านตาในซีรีส์กันไปบ้างแล้ว ครั้งนี้มาในบท มะปราง เกมเมอร์สาวลุคห้าว ที่เจ้าตัวบอกเองว่า คาแรคเตอร์ไม่ได้หนีจากตัวเองมากนัก ทำให้ตัวละครมะปราง มีความเป็นธรรมชาติสูง ยิ่งในพาร์ทกุ๊กกิ๊กโรแมนติก ก็ดูเคมีจะเข้ากับกอบศักดิ์ จนกระแสคู่จิ้น #เติร์ดวี มาแรงไม่แพ้หนังกันเลยทีเดียว
ตัวละครสมทบอย่าง แม็กซ์ (เตชินท์ ณัฐชนน) ไกด์ (บอส ธนบัตร) และ แบงค์ (นนท์ ศุภวัจน์) ถูกเสริมเข้ามาเพิ่มรสชาติให้หนังเรื่องนี้ ถูกปากเหล่าวัยรุ่นได้เป็นอย่างดี แม้หลายคนจะยังดูชั่วโมงบินน้อยไปสักนิด แต่โดยรวมก็ถือว่าทำหน้าที่ของตัวเองออกมาได้ในระดับที่ “สอบผ่าน”
อีกเรื่องที่ดูจะไม่พูดถึงไม่ได้ ก็คือเทคนิคภาพเจ๋งๆ ทั้งการเลือกใช้มุมกล้องแปลกตา ที่ยั่วล้อไปกับอารมณ์และสถานการณ์ได้อย่างน่าสนใจ ไปจนถึงการใส่ CG มาแบบจัดเต็ม สมราคาหนังไทยฟอร์มใหญ่ ที่ซุ่มทำ Post-Production กันนานหลายเดือน
แต่ที่ดูจะเป็นจุดอ่อนของหนังเรื่องนี้ที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด ก็คือจังหวะจะโคนในการเล่าเรื่อง ที่ไม่ค่อยจะไม่ราบรื่นสักเท่าไหร่ บางช่วงดูรวบรัดตัดตอน ขณะที่บางจังหวะก็เนิบช้าเกินไป ส่วนมุกตลกบางมุกก็ดูจะ “ตั้งใจ” มากไปหน่อยจนขาดความเป็นธรรมชาติ เช่นเดียวกับฉากแอ็คชั่น ที่เลือกจะเล่นใหญ่ ใช้ภาพ Slow Motion ต่อเนื่องยาวทั้งซีน โชว์ความตระการตาของ CG แต่กลับสอบตกสิ้นเชิง ในแง่ความตื่นเต้นเร้าใจ