รีวิวหนัง ร่างทรง

รีวิวหนัง ร่างทรง เรื่องราวการสืบทอดทายาทร่างทรง ย่าบาหยัน ของครอบครัวหนึ่งในภาคอีสานของไทย เมื่อทายาทรุ่นปัจจุบันไม่อยากรับช่วงต่อแต่ก็ไม่อาจฝืนชะตาได้ นำมาสู่เรื่องราวเขย่าขวัญคนทั้งโลก!

ร่างทรง

เรื่องเกริ่นขึ้นใน ปี 2018 ทีมงานสารคดีทำข้อมูลเรื่องราวเกี่ยวร่างทรงในไทย และไปพบเจ้าของเรื่องอย่าง ป้านิ่ม (เอี้ยง-สวนีย์ อุทุมมา) ที่เป็นร่างทรง ‘ย่าบาหยัน’ ซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำท้องถิ่นในจังหวัดเลย ที่น่าสนใจคือย่าบาหยันจะสืบทอดกันต่อเฉพาะลูกหลานที่เป็นผู้หญิงในตระกูลของป้านิ่มเท่านั้น โดยคนที่มีแนวโน้มรับต่อในปัจจุบันมากที่สุดคือ มิ้งค์ (ญดา-นริลญา กุลมงคลเพชร) ลูกของพี่สาวป้านิ่มนั่นเอง ทำให้ทีมสารคดีขออนุญาตมาถ่ายทำป้านิ่มและครอบครัวในปี 2019 จนได้มาเจอเรื่องราวต่าง ๆ และตัดสินใจเปลี่ยนหัวข้อของสารคดีจากเรื่องว่าร่างทรงคืออะไร มาเป็นเรื่องของการสืบทอดร่างทรงแทน

รีวิวหนัง ร่างทรง

รีวิวหนัง ร่างทรง เรื่องราวที่เราจะได้รับชมทั้งหมดในหนังเรื่อง “ร่างทรง” จึงมาจากสายตาของทีมงานสารคดีนี้ทั้งสิ้น

นี่คือการกลับมารับงานหนังสยองขวัญครั้งล่าสุดของ โต้ง – บรรจง ปิสัญธนะกูล ผู้กำกับชั้นแนวหน้าในปัจจุบันของไทยจากทั้งผลงานปลุกกระแสผีไทยจาก “ชัตเตอร์ กดติดวิญญาณ” (2547) จนมาถึงสร้างประวัติศาสตร์หนังไทยพันล้านจากหนังสยองปนขำเรื่อง “พี่มากพระโขนง” (2556) ทำให้ทุกสายตาจับจ้องมาที่ตัวเขาในทุกย่างก้าว

และการก้าวรอบนี้ก็เรียกว่าเป็นบันไดก้าวแรกสู่ระดับนานาชาติของบรรจงอย่างแท้จริง เพราะเขาได้รับการทาบทามให้ร่วมงานกับผู้กำกับเกาหลีชื่อดังระดับเวทีนานาชาติอย่าง นาฮงจิน ที่เคยมีผลงานแนวรีวิวหนังไทย สยองขวัญ เรื่อง “The Wailing” (2016) ที่ได้รสชาติสยองชวนคิดที่น่าสนใจ และหนังเรื่อง “ร่างทรง” ก็ไปคว้าอันดับ 1 ในบ็อกซ์ออฟฟิศของเกาหลีมาได้ด้วยอย่างงดงามเมื่อกลางปีที่ผ่านมา พร้อมคำชื่นชมในดีกรีความโหดขนหัวลุกของหนัง แน่นอนว่านี่คือความภูมิใจของคนไทยอย่างแท้จริงแล้ว โดยไม่ต้องสนใจว่าหนังจะออกมาหน้าตาเป็นอย่างไร

ถ้าจะนับว่าอะไรที่ นาฮงจิน ส่งผลด้านดีต่อหนังนอกไปจากโครงเรื่องตั้งต้นที่เดิมเขาตั้งใจไว้ทำ “The Wailing” ภาค 2 นั่นก็คือ แนวทางการสร้างฉากและบรรยากาศของหนัง ที่กลิ่นฝนชื้นในชนบทดูเยือกเย็น ชวนเร้นลับ และภาพแปลกตาของพิธีกรรมความเชื่อที่แฝงอยู่ในชีวิตของคนได้อย่างน่าทึ่ง ฉากหลังเป็นตัวละครสำคัญอีกตัวหนึ่งที่ขาดไปรับรองหนังมีกร่อยลงแน่ ๆ

ร่างทรง

ร่างทรง
และต้องบอกว่าดีไซน์ของทีมงานคนไทยไม่ใช่ย่อย ๆ เลย ไม่ว่าจะฉากหุบผาที่สถิตของรูปปั้นย่าบาหยัน รวมถึงตึกร้างที่รากไม้ชอนไชเป็นทรวดทรงน่าขนลุก นี่คือ 2 ฉากเด่น ที่แค่เห็นไม่ต้องเอาดนตรีหรืออะไรเข้าช่วยก็ชวนขนลุกแล้ว พอประกอบกับดนตรีที่สร้างอารมณ์ร่วมมาก ๆ และการแสดงแบบเหมือนประทับร่างของนักแสดงสายฝีมือล้วน ๆ ทั้งตัวหลัก ตัวรอง ตัวประกอบ (เนี้ยบยันตัวประกอบนี่สำหรับหนังไทยคือคุณภาพสูงมาก) และบทหนังที่ปั่นหัวคนดูไปมา มันจึงเป็นหนังที่มีพลังสูงมาก ต้องปรบมือในการเลือกใช้นักแสดงที่เอาชื่อชั้นฝีมือเข้าว่าจริง ๆ

ครึ่งหลังของหนังเพียว ๆ จัดได้ว่า ตึงเครียด ปั่นประสาท ขนหัวลุก น่ากลัวมาก ๆ บางช่วงทำเอาคลื่นไส้มวนท้อง อาจเพราะความมืดของโรง การเคลื่อนภาพที่สมจริงสั่นไหวเหมือนอยู่ในสถานการณ์ ดนตรีที่โหมกระหน่ำ การตัดต่อที่ฉับไว ต้องยกความดีครึ่งหนึ่งให้กับการชมในโรงภาพยนตร์จริง ๆ ถ้าจอเล็กกว่านี้ มืดน้อยกว่านี้ ดนตรีไม่ดังอย่างนี้ มันคงไม่ได้ผลตามที่คนทำหนังต้องการนัก แล้วเรื่องไล่ระดับอารมณ์ได้ดีไม่มีหย่อนแบบอัดแล้วอัดเล่าใส่หัวใจคนดูตลอดครึ่งเรื่องหลัง จนอยากปรบมือให้ดัง ๆ

อีกความน่าชื่นชมของหนังคือความรุนแรงของเรื่องที่กล้าท้าทายข้อห้ามจารีตสังคมไทยซ้ำแล้วซ้ำเล่าได้อย่างน่าชื่นชมในความฉลาดไม่โฉ่งฉ่าง คงเล่าไม่ได้ว่าทาบูที่โดนขยี้ย่ำนั่นเป็นอะไรบ้าง แต่เห็นความจงใจลองของตรงนี้ชัดเจน ถ้าฝีมือการเล่าด้อยกว่านี้ รับรองไม่ผ่านหน่วยงานหั่น-แบนของไทยแน่นอน (และชื่อ GDH ก็อาจเป็นเกราะช่วยประมาณหนึ่ง) และที่สำคัญอาจกลายเป็นหนังไร้รสนิยมไปได้ง่าย ๆ ทีเดียวกับการเล่นของโสมมทั้งทางสายตาและทางจิตใจแบบนี้ ขอปรบมือดัง ๆ ให้อีกรอบ

บุญส่ง นาคภู่ เป็นอีกหนึ่งคนเบื้องหลังที่มาทำเบื้องหน้าได้สุดติ่ง ละสายตาจากเขาเวลาอยู่บนจอไม่ได้จริง ๆ
อีกส่วนที่ก้ำกึ่งว่าจะดีหรือไม่ดี แต่ส่วนตัวชอบกว่าครึ่งหลังเพียว ๆ เสียอีก คือการหย่อนรายละเอียดในชีวิตของตัวละครได้อย่างน่าสนใจ ทั้งเรื่องที่พี่น้องไม่เต็มใจเป็นร่างทรง จนถึงขั้นมีความพยายามหนีปัญหาด้วยวิธีที่ผิด ๆ หรือการหนีไปพึ่งพระเจ้าอีกศาสนา อะไรพวกนี้น่าสนใจมาก ๆ ถ้าเป็นหนังสารคดีจริง ๆ เราคงเห็นแง่มุมพวกนี้ประเทืองปัญญาเราได้อีกมาก แต่เมื่อมันอยู่ในหนังสยองมันเลยมีที่ทางได้จำกัด และทำให้ครึ่งแรกของหนังคาบลูกคาบดอกระหว่างความน่าสนใจกับความน่าเบื่อ เพราะมันประดิษฐ์เล่าผ่านการให้สัมภาษณ์ตัวละครต่าง ๆ อยู่มาก บทสนทนาเองก็ค่อนข้างเยอะเพื่อปูภูมิหลังและอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นในหนังในช่วงที่ภาพยังเล่าเรื่องลึกซึ้งด้วยตนเองลำบาก

และการตัดต่อ อาจรวมถึงการเล่าเรื่อง แม้จะทำได้ดีมาตลอดทั้งเรื่อง ดูหนัง 4k แต่ก็เห็นความแปลกอยู่บ้างเหมือนกันเช่น ความพยายามหลอกให้หลงทางแต่หลงไม่สุด เพราะแอบหยอดอยู่ว่าไม่ใช่นะ ทำให้พอเฉลยก็ไม่ได้รู้สึกว้าวนัก ซึ่งมีการตัดต่อที่ดูลำดับแปลก ๆ อยู่เช่นกัน จากที่ปกติควรให้คนดูตะลึงว่าเข้าใจผิด แล้วค่อยไปดูผลอีกด้าน กลับเลือกไปให้ดูผลอีกด้านที่ทำให้คนเดาออกทันทีก่อนที่จะไปตกใจกับการเฉลย

อย่างที่กล่าวไปว่าหนังมีจุดแข็งดี ๆ มากเลยทีเดียว แต่โชคร้ายที่หนังมีเนื้องอกของมันเองอยู่

ไม่แน่ใจว่าวิธีการนำเสนอที่มาลงปลงใจกับแนวทางสารคดีนี้ใครเป็นคนต้นคิดหรือชี้ขาด ข้อดีของมันแน่ ๆ คือการสร้างสภาวะสมจริงด้วยรูปแบบที่คนคุ้นชินว่ากำลังดูความจริง ทั้งเคลื่อนกล้องถือถ่าย มีเสียงทีมงานถามคำถาม การเข้าไปปรากฏกายของทีมงานเป็นระยะ เพื่อให้ดูเรียล แต่กระนั้นก็ยังมีคำถามว่าด้วยตัวเนื้อหาและสิ่งดี ๆ มากมายที่หนังมีอยู่แล้วจำเป็นหรือไม่ที่ต้องใช้แนวทางสารคดีปลอมมานำเสนอ เพราะสิ่งที่ถูกทำลายแน่ ๆ คือการจดจ้องแช่ภาพหรือเน้นความสวยงามความขลังของฉากที่ถูกคิดมาอย่างดี และคนดูเองก็มีสิทธิ์ที่จะรู้สึกถูกถีบออกมาระหว่างเคลิบเคลิ้มใหลลงในหนังทันที เมื่อตระหนักได้ว่านี่มีทีมงานปลอม ๆ อยู่และทั้งหมดคือหนังสารคดีปลอม

ในช่วงแรกยังคงรู้สึกแค่ว่าวิธีการสารคดีนี้มันเป็นเนื้องอกของหนัง คือเกินจำเป็น แต่ก็ยังประคองตัวอยู่ไปได้เรื่อย ๆ ดูหนังออนไลน์ 4k จนสถานการณ์มันเดินหน้ารุนแรงขึ้น ตัวละครเริ่มอาละวาดมากขึ้น เนื้องอกนี้ก็เริ่มกลายพันธุ์เป็นเนื้อร้ายไปในที่สุด

ในช่วงแรกสารคดีปลอมทำหน้าที่แค่ตามถ่ายมีคำถามบ้างแต่ก็ยังเห็นความพยายามไม่เข้าร่วมกับตัวเจ้าเรื่อง ใช้การสื่อสารกับคนดูผ่านทางข้อความบนพื้นสีดำเป็นระยะ ที่ว่ามันก็เป็นเพียงเนื้องอก จนกระทั่งเมื่อทีมงานถ่ายติดยายตาบอดในงานศพแล้วไม่มีคำถามใด ๆ ว่านั่นคนหรือผี ไม่มีแม้ความตกใจกับฟุตล้ำค่าที่ตนเพิ่งถ่ายได้ เราจึงเริ่มตั้งคำถามกับทีมงานสารคดีในเรื่องว่า ตรงนั้นเป็นคนจริง ๆ อยู่ไหม? และเมื่อตัวละครมิ้งค์เริ่มอาละวาดใส่คนรอบข้าง ตากล้องที่ตามถ่ายใกล้มิ้งค์ที่สุดกลับกลายเป็นสุญญากาศที่มิ้งค์ข้ามผ่านไปเฉย ๆ ทั้งที่ถ้าเราเป็นมิ้งค์อยากอาละวาดใส่อะไรใส่อย่าง ตากล้องที่มาตามถ่ายตลอดเวลานี่ล่ะน่าจะโดนก่อนเพื่อน

ตอนนี้เนื้องอกเริ่มไปดันอวัยวะรอบ ๆ ให้ทำงานผิดปกติให้เห็นแล้ว และเริ่มชัดขึ้นไปอีกเมื่อมิ้งค์มีอาการป่วยในที่ทำงาน แต่นอกจากกล้องกลับไม่มีใครเลยทั้งเพื่อนร่วมงาน พี่น้อง เจ้านาย ที่จะตามไปดู สำหรับคนที่ทำงานอยู่ในชีวิตจริงคงรู้สึกประหลาดกับจักรวาลในหนัง ยิ่งการที่เจ้าหน้าที่หน่วยงานรัฐเอาหลักฐานฉาวโฉ่ในที่ทำงานตัวเองมาให้คนนอกอย่างทีมงานสารคดีดูหมดเปลือกให้เสี่ยงต่อความเสื่อมเสียออกไปอีก เรายิ่งรู้สึกว่า เมืองเลยในหนัง น่าจะเป็นจังหวัดอีกมิติคู่ขนานกับเมืองเลยในไทยที่เรารู้จักแล้วล่ะ

พอเบียดบังอวัยวะอื่นจนทำงานผิดเพี้ยน ในที่สุดเนื้องอกก็เผยตัวว่า ตูนี่ล่ะคือเนื้อร้ายในที่สุด เมื่อสถานการณ์ในหนังตึงเครียดถึงขีดสุด เรารู้สึกชัดเจนแล้วว่ากล้องสารคดีไม่มีคนอยู่ข้างหลัง ทีมงานที่เราเห็นถูกถ่ายติดเข้ามาบ้างนั่นก็ไม่ใช่คนที่มีชีวิตจิตใจ ไอ้เรื่องความไม่เมตตา ไม่เข้าช่วยเหลือคนตรงหน้า ดูหนัง อันนี้พอแถได้ว่าพวกเขายึดถือหลักการของสารคดีแบบไม่มีส่วนร่วมอย่างเหนียวแน่น แต่ถึงขนาดไม่มีสัญชาตญาณการเอาตัวรอดนั้นไม่น่าจะใช่แล้ว หลายครั้งที่สถานการณ์จวนเจียนเป็นหรือตายที่ถ้าเป็นคนปกติต้องตัดสินใจหนีทั้งกล้องไปแล้ว แต่พวกทีมงานสารคดีในหนังกลับยังอยู่แบบงง ๆ และหลายครั้งที่มันจวนตัวถ้าเป็นเราคงเลือกหยิบอาวุธใกล้มือมาปัดป้องภัยตรงหน้า แต่พวกเขาเลือกหยิบกล้องมาถ่ายตัวเองที่กำลังมีอันตรายเสียแทน นั่นดูไม่น่าใช่คนในชีวิตจริงที่เราจะเชื่อได้

และหนักสุดก็คือเมื่อเรื่องราวมันไปสู่บทสรุป มันจะเกิดคำถามว่า เมื่อมันไม่ใช่หนังแนว Found Footage ที่มักมีคำอธิบายมาก่อนในต้นเรื่อง แล้วหนังเรื่องนี้ใครเป็นคนทำ? ดูหนังออนไลน์ ไอ้ข้อความที่สื่อสารกับผู้ชมบนพื้นดำมาตลอดเรื่องคืออะไร?

นี่เป็นบาดแผลใหญ่ที่ผู้สร้าง “ร่างทรง” ละเลยไปแบบไม่น่าเชื่อ ทั้งที่คิดใส่รายละเอียดในตัวละครไว้อย่างดิบดีน่าสนใจ เลือกนักแสดงมาถ่ายทอดอารมณ์ได้ถึงพริกถึงขิง แต่ตัวละครที่อยู่กับผู้ชมตลอดเรื่องอย่างทีมงานสารคดี ผู้สร้างกลับลืมใส่ความเป็นมนุษย์ลงไป ที่เจ็บปวดที่สุดคือตัวละครหลังกล้องสารคดีพวกนี้นี่ล่ะที่ทำหน้าที่เล่าเรื่องแทนสายตาผู้ชมตลอดเรื่อง หนังที่ออกแบบคิดงานมาอย่างดีเสียเวลาสร้างไปหลายปีเพื่อให้คนอินให้คนดำดิ่งแยกความจริงกับเรื่องสมมติออกได้ยาก จึงพังลงด้วยความไม่น่าเชื่อของตัวแทนการเล่าเรื่องที่ว่ามานี้เอง

โดยเฉพาะองค์สุดท้ายที่เอาจริงๆ ก็พอเดาได้อยู่นิดๆ ว่าจะเกิดอะไรขึ้น แต่ตัวหนังก็โชว์ออกมาได้แบบ.. มากกว่าที่คิดไประดับที่ว่า เมื่อไหร่จะหมด พอได้แล้ว หยุดเดี๋ยวนี้ หยุดทันที (ฮาาาา) จนถึงจุดที่ว่า อ่ะ..อยากจัดอะไรก็มาเลย เราสนุกเต็มที่ละ เลยทำให้ช่วงท้ายเหมือนอยู่รถไฟเหาะจริงๆ พอมาดูมวลรวมของหนังกลับมีจุดที่ทำให้หลายๆ คนอาจจะรู้สึกไม่ชอบไปเลยก็ได้ นั่นก็คือเรื่องของการใช้เทคนิค Mocumentary เนี่ยแหละ เพราะหลายๆ ช็อตในหนังก็รู้สึกว่าดูคราฟท์มากเกินไปนิดนึง คือไม่ได้ว่าเทคนิคการถ่ายภาพแย่นะ เราว่าดีเลยล่ะ เพียงแต่ว่าพอมีคำว่า “Mocumentary” มาครอบตั้งแต่ต้นเรื่อง เลยทำให้หนังดูรู้สึกอิหยังวะในหลายๆ จุด

ร่างทรง

แต่ว่า ถ้าลองปล่อยผ่านความเป็น Mocumentary ออกมา ก็น่าจะทำให้หลายๆ คนอินขึ้นด้วย… แต่ (ทำไมแต่เยอะจังเลยแฮะ ฮาาา) เราก็คิดภาพไม่ออกเหมือนกันนะว่า ถ้าเรื่องนี้ถูกเล่าให้ดูเป็นสารคดีมากกว่า ก็อาจจะทำให้คนดูไม่อินเท่านี้ก็ได้นะ (แต่ส่วนตัวไม่ติดจุดนี้นะ ยังดูสนุกอยู่เหมือนเดิม) สรุป ร่างทรง เป็นหนังที่การเล่าเรื่องน่าสนใจ ไต่ระดับความระทึกขึ้นไปเรื่อยๆ อาจจะหลุดโทนความเป็น Mocumentary ไปนิดหน่อย แต่โดยรวมยังไงก็ถือว่าดันบาร์ความหลอนระทึกของหนังไทยขึ้นไปอีกระดับนึง